ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 5' 20.5573"
17.0890437
Longitude : E 103° 49' 20.3588"
103.8223219
No. : 195787
กลุ่มชาติพันธุ์ไทกะเลิง
Proposed by. สกลนคร Date 21 Febuary 2022
Approved by. สกลนคร Date 1 March 2022
Province : Sakon Nakhon
0 694
Description

ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในหลาย ๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร. มีประวัติความเป็นมา การเลือกหลักแหล่งทำมาหากิน วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีสำเนียงหรือถ้อยคำที่นิยมใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบ.สูง ตามไหล่เขาและเมื่อกลุ่มกะเลิงลงมาอยู่พื้นที่ราบปะปนกับโย้ย ญ้อ ทำให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่มไทย-ลาวชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง จากการสันนิษฐานของนักวิชาการ กล่าวไว้ว่า ชาวจีนเขียนไว้ว่า คุณลุน หรือกุรุง จนเพี้ยนเป็น กะลุง ในภาษาจาม เมื่อชาวเขมรมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนเหนือของเวียดนาม ได้ยืมคำนี้มาจากพวกจาม แหล่งที่อยู่ของชาวกะเลิงไม่ห่างจากเมืองเง่อานในบริเวณเทือกเขาจากทางทิศตะวันตก และคณะสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง นำโดย ร.อ.เดอมาเกลฟ ได้กล่าวถึงถิ่นที่อยู่ของชนเผ่ากะเลิงว่าอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำตะโปน และบริเวณต้นน้ำเซบังเหียนชนเผ่ากะเลิงเป็นผู้ที่รักความสงบชนเผ่ากะเลิงในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นที่ยอมรับกันว่าได้อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อพยพข้ามมาหลายครั้ง นับตั้งแต่การปราบปรามเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3และอพยพครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5เมื่อครั้งเกิดกบฎจีนฮ่อ ที่ยกกำลังเข้ามาตีเมืองเชียงขวาง ชุมนุมพลอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เตรียมยกเข้าตีหัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง เมืองที่อยู่ในการปกครองของไทย คือเมืองหลวงพระบาง ก็ถูกคุกคามจากพวกฮ่อเช่นกัน ทำให้ไทยต้องยกกำลังไปปราบฮ่อ หลายครั้ง พร้อมทั้งส่งแม่ทัพนายกองเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคอีสาน ไปช่วยปราบฮ่อด้วย เมืองสกลนคร ถูกเกณฑ์ช้าง 25เชือก โคต่าง 100ตัว ข้าวสาร 300ถัง กำลังพล 1,000คน โดยมีอุปฮาด (โง่นคำ) กับราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายกองสะเบียงยกไป การทำศึกกับฮ่อหลายครั้ง ทำให้ผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ เดือดร้อน วิตกกังวลถึงอันตรายที่เกิดขึ้น จึงได้มีการอพยพติดตามแม่ทัพนายกองเข้ามาอยู่ในเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านชนเผ่ากะเลิงในบริเวณใกล้ ๆ ตัวเมืองสกลนคร เช่น บ้านนายอ บ้านนามน บ้านโพนงาม ที่มีชนเผ่ากะเลิงอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชนเผ่ากะเลิงที่อพยพมาจากเมืองภูวานากะแด้ง ในสมัยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ต่อมามีผู้นำชาวกะเลิงที่สมัครใจอพยพขึ้นไปตั้งหลักแหล่งบนเทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบบ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่า เริ่มตั้งหลักแหล่งเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า ชาวกะเลิงอพยพมาอยู่ประมาณ 150ปีมาแล้วต่อมาในปี พ.ศ. 2460ได้เกิดโรคระบาดที่เรียนว่า โรคห่าอย่างรุนแรง มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก จึงมีการอพยพหนีโรคร้ายบางกลุ่มไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านเหล่า ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัวประมาณ 1กิโลเมตรสำหรับบ้านบัวเป็นสถานที่แห่งแรกตั้งหมู่บ้านอยู่ริมห้วยทราย และมีหนองน้ำขนาดใหญ่มีกอบัว ดอกบัวบานสะพรั่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านบัวห้วยทราย แต่ต่อมาทางราชการเรียกว่า บ้านบัว เพื่อให้คำเรียกชื่อหมู่บ้านกระทัดรัด แสดงความสำคัญของหนองบัวในหมู่บ้านชาวกะเลิง มีลักษณะรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ เป็นคนซื่อ ๆ ชอบสนุก และชอบอยู่ตามป่า ตามเขา หาอาหารโดยการล่าสัตว์ หญิงชาวกะเลิง เป็นคนขี้อาย แต่แข็งแรงอดทน

ประเพณีการแต่งกายของชาวกะเลิง แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมครามทอมือ เย็บด้วยมือ ชาวกะเลิง มีวัฒนธรรมการแต่งกาย ดังนี้

ผ้าซิ่น ใช้ด้าย 2เส้นมาทำเกลียวควบกัน ใช้ทั้งผ้าฝ้ายธรรมดาและผ้าไหม เป็นผ้าตีนเต๊าะ แต่มีเชิงแถบเล็ก ๆ แคบ 2นิ้ว นิยมสีเปลีอกอ้อย เข็นด้วยด้ายสีแดง เหลืองเป็นสายเล็ก ๆ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ผ้าฝ้ายเข็น 2เส้นควบกัน เช่น แดงควบเหลือง น้ำเงินควบขาว เขียวควบเหลือง ถ้าไม่ใช่เป็นผ้าตีนเต๊าะมักนุ่งสั้น เสื้อ กะเลิงนิยมแต่งตัวกะทัดรัด เช่น ถ้านุ่งซิ่นผ้าฝ้ายสั้น มักใช้ผ้าทอพื้นบ้าน เป็นตาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ คาดอก โพกผ้าบนศีรษะ สะพายกะหยัง ขึ้นภูเก็บผักเก็บหญ้าส่วนกะเลิง ที่นุ่งซิ่นยาวคลุมเข่ามักสวนเครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือทำด้วยรัตนชาติ หรือดินเผา ใส่ต่างหูเป็นห่วงกลม เสื้อแขนยาวสีขาวเหลืองเก็บชายเสื้อคาดเข็มขัดเงิน เป็นชุดที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ นับเป็นเครื่องแต่งกายที่งดงามที่สุดของชาวเผ่ากะเลิงวัยหนุ่มสาว ส่วนกะเลิงสูงอายุ มักนุ่งซิ่นลายดำ ขาว แดง สวมเสื้อแขนกระบอกย้อมคราม ที่สาบเสื้อมีเหรียญสตางค์แดงติดเป็นแนวกระดุม เกล้าผมสูง

Category
Ethnic
Location
อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
Tambon กุดบาก Amphoe Kut Bak Province Sakon Nakhon
Details of access
อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
Reference นายสำเริง ทรงศิริ Email Krulearng@gmail.com
Organization สำนักงานเทศบาลตำบลกุดแฮด
No. 252
Tambon กุดบาก Amphoe Kut Bak Province Sakon Nakhon
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่