ประวัติความเป็นมา
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่ในแถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นศริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำกล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำกล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานของจังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี
ลักษณะทั่วไปของกล้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า :Musa sapientum L.
ชื่อวงศ์: Nusaceae
ชื่อสามัญ: Bananaชื่ออื่น:กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อน (อุบลราชธานี)
กล้วยเป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ ๒-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่นใบกว้างเส้นของใบขนานกันปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบสีเขียงด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุมเส้นและขอบใบเรียบขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับแต่ละพันธ์ ดอกเป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ ๖๐ – ๑๓๐ ซม. ซึ่งเรียกหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปวงรี ยาว ๒๕ - ๓๐ ซม. ช่อดอกที่มีการเจริญก็จะกลายเป็นผล ผลเป็นผลสดจะประกอบไปด้วยหวีกล้วยเครือละ ๗- ๘ หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ ๑๐ กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผล เหลือง, เขียว,แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระเปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำหนาเหนียวเนื้อเมล็ดสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือแยกเหง้ารสชาติฝาด
ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกล้วย
นอกจากที่เราจะนิยมนำผลกล้วยมารับประทาน ส่วนอื่นๆของกล้วยเราก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย อาจกล่าวได้ว่าเราสามารถใช้ประโยชน์จากล้วยได้ทุกส่วน โดยจะกล่าวเพียง ย่อ ๆ คือรากและลำต้นแท้สามารถนำมาทำเป็นสมุนไพร ใช้รักษาโรคตามแผนโบราณ หรือใช้รักษาผิวหนังที่แดง ปวด เนื่องจากถูกแดดเผา โดยรากและลำต้นจะมีสารแทนนินซึ่งช่วยในเรื่องของแผลไหม้ น้ำร้อนลวก ส่วนรากของกล้วยตีบ เมื่อนำมาต้มจะช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
ลำต้นเทียมหรือกาบลำต้นใช้ทำเส้นใยหรือทำเชือกทอผ้า ทำอาหารสัตว์ เช่น อาหารของสุกรและยังเป็นอาหารของคนอีกด้วย เช่น แกงหยวกกล้วย กาบกล้วยก็ใช้เป็นสมุนไพรได้เช่นกัน ส่วนน้ำคั้นจากลำต้นก็ยังสามารถนำมาทากันผมร่วงหรือเร่งทำให้ผมขึ้นได้อีกด้วย
ใบสมัยก่อนที่พลาสติกจะเข้ามามีบทบาท คนโบราณมักใช้ใบตองเป็นภาชนะแทนจานข้าวและยังนำมาใช้ห่อของ ทำมวนบุหรี่ หรือทำงานประดิษฐ์ เช่น กระทง บายศรี ใบกล้วยที่นิยมมากคือใบกล้วยตานีเพราะมีใบที่ใหญ่ เหนียว และเขียงเป็นเงา เมื่อนำไปทำงานประดิษฐ์จะสวยงามและไม่แตกง่ายไม่ให้แย่งอาหารที่จะไปเลี้ยงผลกล้วย ทั้งยังเป็นการป้องกันการสะสมเชื้อโรคของเครือกล้วยด้วยและที่เรานิยมรับประทานกัน หรือใช้บำรุงน้ำนมของมารดา ต้ม คั้น แก้เบาหวาน เมื่อนำมาตากแห้งก็สามารใช้รักษาโรคโลหิตจางได้
ผลใช้รับประทานได้ทั้งอ่อน แก่ และสุกถ้าผลดิบยังอ่อนอยู่สามารถใช้ปรุงอาหารในแกงป่า ส้มตำส่วนผลดิบที่แก่แล้วสามารถนำมาเชื่อมหรือทำกล้วยฉาบ ส่วนกล้วยสุกนั้นสามารถนำมารับประทานสดได้เลย การรับประทานกล้วยสุกนั้นมีผลดีคือจะทำให้ท้องไม่ผูก เพราะในกล้วยสุกจะมีสารเพ็คติน และยังช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ กากอาหารเมื่อเพิ่มมาถึงระดับหนึ่งจะทำให้ถ่ายออกมีสารทำให้ท้องผูก เมื่อรับประทานก็ควรเคี้ยวให้ละเอียดจะช่วยในการทำงานของกระเพาะและทำให้ท้องไม่อืด
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ กลุ่มแม่บ้านพัฒนาบทบาทสตรี หมู่ที่ ๓ บ้านหนองตะแบก ตำบลทะนง อำเภอโพทะเลจังหวัดพิจิตร ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม จำนวน ๕ คน โดยมีนางเกษร ฉ่ำพงษ์ เป็นประธานกลุ่ม ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในหลายด้านจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพทะเล สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพทะเล กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลทะนงนำผลผลิตในท้องถิ่นมาแปรรูปสร้างรายได้ในชุมชน อาทิ กล้วยอบเนย กล้วยฉาบ เป็นอาชีพเสริมภายหลังจากเสร็จสิ้นการประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม นำมาจำหน่ายเป็นของฝากที่ระลึก ช่วยให้เกษตรกรที่ปลูกกล้วยมีรายได้เพิ่มขึ้นในปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก จำนวน ๑๐ คน กลุ่มแม่บ้านพัฒนาบทบาทสตรีบ้านหนองตะแบก ได้ดำเนินงานร่วมกับชุมชนในอำเภอโพทะเลมาโดยตลอด อาทิ การจัดนิทรรศการ จิตสาธารณะในกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ สาธิตการทำกล้วยฉาบ กล้วยอบเนย มีผลิตภัณฑ์จำหน่าย และมีผลิตภัณฑ์บางส่วนให้ประชาชนในงาน บริโภคโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
วัตถุประสงค์
๑) เพื่อนำกล้วยมาแปรรูปถนอมอาหาร เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร หรือประชาชน ๒) เพื่อนำมาผลิตขนมไทยเป็นอาหารว่างที่มีประโยชน์สำหรับรับประทานในครอบครัว ลดรายจ่าย สร้างรายได้ หรือเป็นอาชีพเสริมของประชาชนเป็นครอบครัว หรือรวมกลุ่มกันผลิต
๓) สร้างรายได้ให้แก่เกษตรผู้ปลูกกล้วย
วัสดุ/อุปกรณ์
๑) กล้วยน้ำหว้าแแก่จัด .
๒) น้ำตาลทรายขาวละเอียด .
๓) เนยสดเค็ม
๔) น้ำมันพืช ยี่ห้อเกสร
๕) น้ำเปล่า
๖) น้ำส้มสายชู
๗) ใบเตยหั่นเป็นท่อน
๘) กระทะ
๙) กระชอน
๑๐) ตะแกรง
๑๑) ตะหลิว
๑๒) ถุงพลาสติกร้อน ขนาดใหญ่ ๑๐ ก.ก.
๑๓) ถุงซิปล็อค ราคาต้นทุนถุง 5 บาท/ใบ
๑๔) กิโล
๑๕) ถ้วยตวงน้ำตาล ขนาด 6 ออนซ์
๑๖) มีดสไลด์
๑๗) มีดปอก
กระบวนการ/ขั้นตอน (ทำอย่างไร)
๑) คัดกล้วยน้ำหว้าแก่จัดนำมีดมาปอกไม่กรีดลึกถึงเนื้อกล้วย ถ้าถึงเนื้อกล้วยเมื่อทอดกล้วยจะแตก นำกล้วยแช่ในน้ำเปล่าผสมน้ำส้มสายชู แช่ไม่ให้กล้วยดำ สัดส่วน น้ำส้มสายชู จำนวน ๕ ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำเปล่า ½ กะละมัง
๒) นำมีดสไลด์มาหั่นกล้วยเป็นแว่นกลมแบบบางขนาดพอดี หากบางกล้วยทอดแล้วจะแตก หากหนากล้วยจะไม่กรอบ
๓) นำกล้วยใส่ถุงพลาสติกขมวดปากถุงมัดให้แน่น ปากถุงคว่ำลงก้นถุงตั้งขึ้น แช่ในตู้เย็นช่องกลาง จำนวน ๑ คืน (การนำกล้วยแช่ตู้เย็น จะทำให้เมื่อนำมาทอดกล้วยจะกรอบ)
๔) นำกล้วยออกมาแกะเป็นรายชิ้นไม่ให้ติดกัน วางบนตะแกรงนำไปผึ่งลมพอหมาด
๕) ผสมน้ำตาลทรายขาวละเอียดและเกลือไอโอดีน สัดส่วน น้ำตาลทราย ๑ ก.ก. ต่อเกลือ ๖ ช้อนชา
๖) ชั่งน้ำหนัก กล้วย จำนวน ๒ ก.ก. ต่อน้ำตาลทราย ๑.๕ ถ้วย (ถ้วย ขนาด ๖ ออนซ์)
๗) นำน้ำมันพืชตั้งกระทะให้เดือด ใช้ไฟสูงขนาดพอดี
๘) นำกล้วย จำนวน ๒ ก.ก. คลุกน้ำตาล จำนวน ๑.๕ ถ้วย ลงทอดในน้ำมันเดือด แล้วลดเป็นไฟกลาง การทำขนมกล้วยอบเนย ให้คนกระทะตลอด ไม่ให้ขนมติดก้นกระทะ
๙) กล้วยเหลืองใส่ใบเตยหั่นท่อน นำเนยสดเค็ม จำนวน ½ช้อนชา ลงไปในกระทะ เนยสดจะเคลือบกล้วย มันเงาสวยงาม (เนยสดเค็มจะไม่ใส่ทุกกระทะ หากมากไปจะติดก้นกระทะไหม้) ดูสีกล้วยให้เหลืองสวย หากมากไปจะไหม้
๑๐) ตักกล้วยขึ้นวางพักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน และใช้ตะหลิวช่วยกระจายกล้วยไม่ให้ติดกัน วางไว้จนเย็น
๑๑) นำกล้วยที่เย็นบรรจุใส่ถุงพลาสติกร้อน ขนาด ๑๐ ก.ก. มัดปากถุงให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าไป เก็บความสดหอมกรอบอร่อย เก็บเตรียมไว้แบ่งบรรจุแต่ละขนาด
๑๒) นำบรรจุลงถุงพลาสติก หรือถุงซิบล็อค ติดสติกเกอร์ของกลุ่มฯ จำหน่ายให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยถุงซิปล็อคจะสามารถเก็บความสดหอมกรอบอร่อยได้นาน
สถานที่ตั้งขององค์ความรู้:
ศูนย์ประชาคมหมู่บ้าน และบ้านประธานกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีบ้านหนองตะแบก นางเกษร ฉ่ำพงษ์ บ้านเลขที่ ๑๐๙ หมู่ที่ ๓ บ้านหนองตะแบก ตำบลทะนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ๖๖๑๓๐โทร. ๐๙ ๔๒๙๑ ๙๔๗๒
คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้
๑)คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
๑) ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร ที่คัดสรรนำผลิตผลเกษตรอินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย มาแปรรูปถนอมอาหารเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร หรือประชาชน
๒) การรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกร หรือผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดีสามัคคี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
๒)บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
ประชาชนหลากหลายวัยในชุมชนได้มาถ่ายทอด เรียนรู้ และร่วมกันปฏิบัติในการทำขนมกล้วยอบเนย ภายหลังจากการประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม จะร่วมกันผลิตขนมกล้วยอบเนย ทำเป็นอาชีพเสริม นำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
๙. การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม (ถ้ามี)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพทะเล สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพทะเล กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลทะนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร 66130
สถานภาพปัจจุบัน
๑)สถานะการคงอยู่ขององค์ความรู้
-มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย
๒)สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม
- ยังคงมีการถ่ายทอดความรู้ และมีเด็ก เยาวชน และประชาชนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
พัฒนาเป็นกล้วยอบหลากหลายรส หลายขนาด ที่ตลาดต้องการ ใช้หีบห่อแบบเก็บสินค้าได้ระยะเวลานานและจำหน่ายในหลากหลายช่องทาง
ข้อมูลอ้างอิงบุคคล
ชื่อ-นามสกุล นางเกษร ฉ่ำพงษ์ ตำแหน่ง ประธานกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี หมู่ที่ ๓ บ้านหนองตะแบก หน่วยงาน/ กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี หมู่ที่ ๓ บ้านหนองตะแบก.
เลขที่ ๑๐๙ หมู่ที่ ๓ ตำบล ทะนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์
๖๖๑๓๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๙ ๔๒๙๑ ๙๔๗๒