ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว เป็นวัดโบราณ หลักฐานทางเอกสารประเภทตำนานเล่าประวัติวัดไว้ต่างๆ ดังนี้ ตำนานพื้นเมือง กล่าวว่า เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น มีกุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญพระพุทธรูป พระมหาเจดีย์ เสร็จแล้วให้จารึกเรื่องราวการก่อสร้างลงบนแผ่นทองคำ เรียกว่า "เพลาวัด" สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๙๒ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๑๔๙๓ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเกาะลังกามาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์เพลานางเลือดขาว หรือบางท่านเรียกว่า“เพลาเมืองสทิงพระ” กล่าวว่า เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองพาราณ ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นไว้ที่วัดสทัง วัดเขียนและวัดสทิงพระ ราว พ.ศ. ๑๕๔๒ จึงเข้าใจว่า วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์พร้อมกับสร้างพระมหาธาตุ
จากหลักฐานทางเอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษ ๑๕-๑๘ แต่นักโบราณคดีกำหนดอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาและได้รับอิทธิพลจากพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ภายในวัดได้พบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ ศิวลึงค์และฐานโยนี แสดงว่าบริเวณท้องที่นี้มีการติดต่อรับอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ และคงเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ เป็นที่ตั้งของคณะป่าแก้ว
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมืองพัทลุงเกิดสงครามกับพวกโจรสลัดมาลายูอยู่เสมอ 1 จนบางครั้งพวกโจรสลัดเข้ามาเผาผลาญบ้านเรือนราษฎรและวัดเสียหายเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้วจึงทรุดโทรมเป็นวัดร้างชั่วคราว เมื่อชาวพัทลุงสามารถรวมตัวกันได้ จึงบูรณะวัดขึ้นอีกและเป็นเช่นนี้อยู่
โบราณสถาน/โบราณวัตถุ/จุดเด่น
๑. พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้วเป็นเจดีย์ก่ออิฐ ฐานแปดเหลี่ยมวัดโดยรอบยาว ๑๖.๕๐ เมตร สูงถึงยอด ๒๒ เมตร รอบพระมหาธาตุบริเวณฐานมีซุ้มพระพุทธรูปโค้งมน ๓ ซุ้ม แต่ละซุ้มกว้าง ๑.๒๘ เมตร สูง ๑.๖๓ เมตร ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ รอบพระเศียรมีประภารัศมีรูปโค้ง ขนาดหน้าตักกว้าง *.๔๔ เมตร สูง ๑.๒๕ เมตร ระหว่างซุ้มพระมีเศียรช้างปูนปั้นโผล่ออกมาเหนือพระเจดีย์ทรงสี่เหถี่ยม อิทธิพลศิลปะจีน ด้านตะวันออกมีบันไดสู่ฐานทักบันไดทำเป็นซุ้มยอดอย่างจีน มุมบันไดทั้งสองข้าง มีซุ้มลักษณะโค้งแหลม ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูง ปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ฐานทักษิณและฐานรองรับองค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม มีลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้ ถัดจากองค์ระฆังเป็นบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับด้วยเครื่องถ้วยชาม ทั้งสี่มุมของบัลลังก์ก็มีรูปกาปูนปั้นมุมละ ๑ ตัว ซึ่งหมายถึงสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ ทั้ง ๔ (พระมหาพันธ์ ธมมนาโก สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕) ส่วนยอดเป็นพานขนาดเล็ก 1 ใบ ภายในมีดอกบัวทองคำ จำนวน ๕ ดอก ๔ ใบ (ทองคำถูกขโมยไป เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม๒๕๒๑)
๒. วิหารคดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาล้อมรอบพระธาตุ ๓ ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกซึ่งติดกับอุโบสถ ภายในวิหารคดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ฝีมือชาวพื้นบ้าน จำนวน ๓๔ องค์ ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน
๓. อุโบสถตั้งอยู่ด้านหน้าพระมหาธาตุเจดีย์ หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออกขนานกับคลองบางแก้ว พระอธิการพุ่มได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ต่อมาชำรุดทรุดโทรมมาก จึงมีการบูรณะใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ๒ ทาง ด้านหลัง ๑ ทาง ภายในมีพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย ทาพระโอษฐ์สีแดง ด้านหลังพระประธานก่อผนังเป็นห้องประดิษฐานพระไสยาสน์ปูนปั้น ๑ องค์ ยาว ๗.๕๐ เมตร สูง ๑.๕0 เมตร หนา ๔o เซนติเมตร ทาพระโอษฐ์สีแดง หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อุโบสถได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔
๔. ใบเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่โดยรอบอุโบสถ จำนวน ๘ ใบ เป็นเสมาเกลี้ยงไม่มีลวดลาย ยกเว้นใบที่อยู่ด้านหลังอุโบสถ มีลวดลายปูนปั้นที่อกเสมาเป็นรูปทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ เข้าใจว่าเป็นการซ่อมภายหลัง เสมาเหล่านี้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น
๕. ซากหอระฆังปัจจุบันหักเหลือแต่ฐานเดิมตอนบนเป็นเสาไม้สี่เสาหลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้อง คอสองประดับแผงไม่ฉลุลาย
๖. ศาลาการเปรียญตั้งอยู่ด้านหน้าซากหอระฆัง พระภิกษุคงเป็นผู้สร้างขึ้นบนซากเก่าเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๕๕ เพื่อใช้ทำบุญบำเพ็ญศพของพระอธิการพุ่ม มีขนาด 3 ห้อง เสาไม้ดำเสา มีเฉลียงรอบ หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในมีธรรมมาสน์จำหลักไม้สวยงาม ปัจจุบันบูรณะใหม่แล้ว
๗. พิพิธภัณฑ์สังฆรักษ์เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กรูปแบบไทยประยุกต์ออกแบบโดยกรมศิลปากร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบบริเวณวัดเขียนบางแก้ว โคกเมืองและบริเวณใกล้เคียง
๘. พระพุทธรูปสำริดปางอุ้มบาตร ศิลปะสมัยอยุธยา อยู่บนกุฏิ
เจ้าอาวาส ชาวบ้าน เรียกว่า "แม่ทวด" มีตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นเพื่อฉลองแทนองค์"สมเด็จเจ้าแม่อยู่หัวเมือง" บางตำนานว่าหมายถึงนางเลือดขาว บางตำนานว่าหมายถึง "แม่ศรีมาลา" บูรณะใหม่แล้ว
๙. โบสถ์พราหมณ์ (โคกแขกชี)ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของพระมหาธาตุเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดแขกชี บริเวณโบสถ์พราหมณ์ มีซากฐาน
เสาหินทรายสีแดงรูปทรงกลมเจาะรู ด้าน ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ ชิ้น ชิ้นส่วนฐานโยนิหินทรายสีแดง ๑ ชิ้น ศิวลึงค์ชำรุด จำหลักจากหินทราย
๑๐. วิหารถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (โคกวิหาร)ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ ปัจจุบันเหลือเพียงชากเนินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานชุกชีก่อด้วยอิฐและหิน ตอนบนมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปจำหลักจากหินทรายแดง ศิลปะสมัยอยุธยา จำนวน ๓ องค์ พระเศียร พระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดใหญ่ ๑ เศียร
๑๑. พระแก้วคุลาศรีมหาโพธิ์ (โคกพระคุลา)ชาวบ้านเรียกว่าพระคุลา ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวิหารถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ประมาณ ๕๐ เมตร พระคุลาเป็นพระพุทธูรูป หินทรายแดงปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น เดิมชำรุดหักเป็นชิ้น เหลือเพียงพระเศียรเท่านั้นที่สมบูรณ์ วัดโดยรอบได้ ๑.๓๐ เมตร สูง ๑ เมตรเศษ ต่อมาพระมหาพันธ์ ธมมนาโก เจ้าอาวาสได้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕
๑๒. พระพุทธรูปสองพี่น้องประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระคุลา ประมาณ ๒๐๐ เมตร เดิมเป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงแตกหัก จำนวน ๒ องค์ เหลือแต่พระเศียร ต่อมาพระมหาพันธ์ ธมมนาโก เจ้าอาวาสได้บูรณะขึ้นใหม่เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓
๑๓. โคกเมืองเป็นแหล่งชุมชนอีกแหล่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนสันทรายริมทะเลหลวงห่างจากวัดตะปรับเพื่อทำการเกษตรของราษฎร พื้นที่ทั่วไปเป็นเนินทราย ขนผิวดินมีเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก อาทิเครื่องสมัยจากแหล่งเตาสุโขทัย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง เครื่องถ้วยพื้นเมือง ด้านทิศตะวับตกของโคกเมืองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสองพี่น้อง
การเดินทาง
เดินทางจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง ไปทางถนนหมายเลข ๓๐๓๒ มุ่งสู่ทางหลวงชนบทพัทลุง ๓๐๓๒ ไป ตำบลหานโพธิ์ ๒๕ นาที เข้าสู่ถนนหมายเลข ๔๐๐๓ วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒๖.๗ กิโลเมตร