ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 16' 43.4888"
6.2787469
Longitude : E 101° 20' 29.5332"
101.3415370
No. : 196588
สะพาน ยีลาปัน สะพานประวัติศาสตร์
Proposed by. ยะลา Date 10 May 2022
Approved by. ยะลา Date 10 May 2022
Province : Yala
0 686
Description

สะพานยีลาปัน เป็นสะพานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ข้ามแม่น้ำปัตตานี บนทางหลวงท้องถิ่น เลขที่ 410 บริเวณ กิโลเมตรที่ 35 (นับจากจังหวัดยะลา) บ้านยีลาปัน ตำบลตลิ่งชัน อำเภบันนังสตา จังหวัดยะลา มีความกว้าง 6 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร พื้นสะพานเป็นเหล็กแบบรังผึ้ง ตัวโครงสร้างทั้งหมดเป็นเหล็กกล้าล้วนๆ สร้างโดยกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวๆ ปี พ.ศ. 2485 หลังจากที่กองทัพญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกแถวชายฝั่งภาคใต้และยึดครองแหลมมาลายู หรือประเทศสหพันธรัฐมาเลเชียในปัจจุบัน

ในยุค จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย รัฐบาลจำต้องยินยอมจับมือกับกองทัพญี่ปุ่นเพื่อแลกกับการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งทรงอนุภาพมากที่สุดในยุคนั้น โดยญี่ปุ่นต้องการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน เพื่อขนยุทโธปกรณ์และกำลังพล ไปโจมตีประเทศพม่า และเพื่อยึดครองอินเดียอนานิคมของอังกฤษ ซึ่งในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่สะดวกนัก โดยเฉพาะสะพานข้ามแม่น้ำปัตตานีตรงจุดนี้ เป็นเพียงสะพานไม้ขอน ซึ่งไม่สามารถขนส่ง ลำเลียงยุทโธปกรณ์ที่มีน้ำหนักจำนวนมากผ่านไปได้ กองทัพญี่ปุ่นได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่นั้นมา รถทุกคันที่เดินทางไปอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงต้องวิ่งผ่านสะพานแห่งนี้ทุกคัน จนกระทั้งในปี 2538 แขวงการทางยะลา ก็ได้สร้างสะพานคอนกรีตขึ้นมาทดแทนเนื่องจากสะพานยีลาปัน แคบไม่สะดวกในการสัญจร โดยในช่วงนั้นมีข่าวลือว่า ญี่ปุ่นจะเอาสะพานคืน จึงมีการสร้างใหม่เพื่อนทดแทนของเดิม

สะพานใหม่ ของแขวงการทางที่สร้างมาทดแทน

โดยหากย้อนไปไกลกว่านั้น จุดตรงสะพานนี้ ก็คือท่าแพของคนโบราณ ที่เดินทางข้ามไป-มาระหว่างฝั่งเมืองยะลากับเบตง หรือเพื่อเดินทางไปแหลมมาลายู เป็นเส้นการค้าระหว่างเมืองปัตตานี กับเมืองเคดาห์หรือไทรบุรีที่สำคัญเลยที่เดียว โดยกองคาราวานที่จะต้องเดินทางผ่านโดยการข้ามแม่น้ำปัตตานี ด้วยแพ ณ จุดนี้ และใช้เวลาเดินทางมากกว่า 3 วัน แต่เพียง 2 ชั่วโมงสำหรับยุคปัจจุบัน ยิ่งถ้าย้อนไปยุคของคนบ้านฮาลา หมู่บ้านที่สาบสูญ ยิ่งน่าสนใจ เพราะคนฮาลาจะตัดไม้ไผ่จากหมู่บ้านกลางป่าลึก ร่องลงมาตามสายน้ำจนกระทั่งแพไม้ผ่ามาถึงตรงจุดนี้ ก็จะเก็บกล้วย ผลไม้ เพื่อเอาไม้ไผ่ ของป่า ผลไม้ และกล้วย ไปแลกกับเกลือ และกะปิที่ท่าเรือเมืองปัตตานี สำหรับสมาชิกชาวฮาลาใช้กิน ประกอบอาหารกัน ทั้ง 3 หมู่บ้าน นี่คือวิถีชีวิตของคนโบราณ ที่ผู้เขียนฟังแล้วยังประทับใจ ครั้งเมื่อได้ไปเข้าค่ายเยาวชนอนุรักษ์ฯ และมีโอกาสนั่งคุยกับผู้เฒ่าฮาลาในครั้งนั้น

Location
สะพานยีลาปัน
Moo ยีลาปัน
Tambon ตลิ่งชัน Amphoe Bannang Sata Province Yala
Details of access
Reference สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ยะลา Email k-yala@hotmail.com
No. 37 Road สุขยางค์
Tambon สะเตง Amphoe Mueang Yala Province Yala ZIP code 95000
Tel. 073203511 Fax. 073203511
Website www.m-culture.go.th/yala
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่