ความเป็นมา
ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์ ที่บันทึกเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ในโลกยุคข่าวสารและ ข้อมูลในปัจจุบันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยทางการพูด การเขียน และกิริยาท่าทางของคน
ภาษาบรู หมายถึง ภาพาที่ใช้พูด และกิริยาสื่อความหมายของกิริยาอาการของชาติพันธุ์
มติคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับชาติว่าด้วยการพิทักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ปารีส ระหว่างวันที่ 22- 26 กุมภาพันธุ์ 2525 กำหนดขอบข่ายของวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ว่าคือสิ่งที่เป็นสมบัติแห่งภูมิปัญญา ที่ให้รับการพิทักษ์โดยกลุ่มและเพื่อกลุ่มที่สิ่งนั้นเกี่ขวข้องและแสดงเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มครอบครัว อาชีพท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรมย่อย และรูปแบบที่วัฒนธรรมพื้นบ้านปรากฏ ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม ดนตรี การฟ้อนรำ การละเล่น เทพปกรณัม พิธีกรรม ความเชื่อ กิจประเพณี หัตถกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปะ ด้านอื่นๆ
ภาษาบรู เป็นภาษาถิ่นที่ใช้สำหรับการสื่อสาร ด้วยสำเนียงลีลาคำพูดระหว่างชนเผ่าตนเองและไม่มีตัวอักษรใช้ จากคำบอกเล่าของนายคำหาญ วาริคิด ชาวบรูบ้านนาเลา ได้เล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของภาษา บรูว่า สมัยโบราณ ชาวบรู ได้จารึกภาษาของตนลงบนแผ่นไม้ หรือขอนไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้พยุง เมื่อจะเดินทางไกลจึงมีความลำบากที่จะนำติดตัวไปด้วย จึงได้คิดหาวิธีจารึกตัวอักษรใหม่โดยใช้แผ่นหนังสัตว์ที่ตากแห้งแล้ว นำมาจารึกตัวอักษรลงไปบนแผ่นหนังสัตว์จนเสร็จเรียบร้อย ในขณะนั้นฝนก็ตกลงมาถูกแผ่นหนังสัตว์เปียกและทำให้หนังสัตว์ขึ้นอีด หากปล่อยไว้คงจะเน่าเป็นแน่แท้ จึงได้ก่อกองไฟขึ้นเพื่อทำการตากหนังสัตว์ให้แห้ง ในขณะที่กำลังตากหนังสัตว์อยู่นั้น ก็ไม่ได้มอบหมายให้ผู้ใดคอยเฝ้าดูแล ส่วนหนึ่งจึงโดนไฟไหม้ และส่วนหนึ่งถูกสุนัขคาบเอาไปกิน คงเหลือเพียงบางส่วนและได้เก็บรักษาไว้ ผู้ดูแลเก็บรักษาหนังสัตว์ผืนนั้นเห็นว่า มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยังคงเหลือเก็บไว้ก็คงไม่มีประโยชน์ จึงได้ตัดสินใจนำไปประกอบเป็นอาหาร และกินคนเดียวจนหมด ดังนั้น ชาวบรูจึงไม่มีตัวอักษรใช้ คงมีเพียงสำเนียงการพูดติดตัวมาจนถึงปัจจุบัน
การอ่านภาษาบรู
ภาษาบรู เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้สำหรับการสื่อสารในกลุ่มชนเผ่าของตน จึงยากที่ชนเผ่าอื่น ๆ จะทำความเข้าใจได้ เนื่องจากภาษาบรูเป็นภาษาเฉพาะของกลุ่มชนผ่าบรูเท่านั้น เพื่อให้ความทำใจในกลุ่มชนพี่น้องชาวบรูมากขึ้น จึงสมควรที่ทุกท่านควรได้ศึกษาหลักเกณฑ์การอ่านและคำศัพท์เอาไว้ ดังต่อไปนี้
1. พยัญชนะทุกตัวอ่านออกเสียงตามภาษาไทย
2. ถ้าอักษรตัวใดมีวรรณยุกต์เอกกำกับ จะต้องอ่านออกเสียงต่ำ มีลมหายใจออกจากปาก
เพิ่มมากขึ้น คือ ให้ออกเสียงเออ กับ เอิน เช่น จิงเกี่ร อ่านว่า จิง - เกลิน
๓. มี น๋ และ วรรณยุกต์ จัตวา กำกับอยู่จะต้องอ่านออกเสียง อือ เช่น คำว่า น๋ตร๊วยห์ และเมื่อมี ห์ กำกับไว้จึงต้องอ่านออกเสียงให้สั้นลง เช่น น๋ตรีวยห์ อ่านว่า อือ - ตร๊วยห์
๔. มี ง๋ และวรรณยุกต์จัตวา กำกับอยู่จะต้องอ่านออกเสียง ฮะ สั้น ๆ ต่อท้าย เช่น ระนาง๋แกะฮ อ่านเป็น ระ - นาง -งือ - แกะฮ
๕. มี ม๋ และวรรณยุกต์จัตวากำกับอยู่ให้อ่านออกเสียง อือ ควบคู่กันไป เช่น ม๋ไป อ่านว่า มือ – ไป เมื่อมี น๋ ง๋ ม๋ ให้อ่านออกเสียง อือ ควบคู่กันไป และเมื่อมี ฮ ต่อท้าย ให้อ่านออกเสียงฮะสั้น ๆ
๖. ถ้ามี จิต็อฮ อยู่ด้วยกัน ให้อ่านออกเสียงเป็นกึ่งหนึ่ง และมีเสียงต่ำวรรณยุกต์เอก เช่นจิต็อฮ อ่านว่า จิ - เต่าะ ฮะ
๗. ถ้ามี อา กำกับอยู่ด้วยให้อ่านออกเสียงเป็นสระเอ กับ สระอา เช่น อะญอา อ่านว่า อะ - ญาร์
๘. ถ้ามี ว ให้อ่านออกเสียงเป็นสระเอ และ สระอา เช่น
จิวอาย อ่านว่า จิ -วอาย
ลอาย อ่านว่า เล –อาย