ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 47' 18.5129"
15.7884758
Longitude : E 100° 4' 37.8469"
100.0771797
No. : 197434
เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญแบบดั้งเดิม
Proposed by. นครสวรรค์ Date 20 September 2022
Approved by. นครสวรรค์ Date 20 September 2022
Province : Nakhon Sawan
2 1770
Description

ด้วยชุมชนบ้านมอญ ในหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีชาวมอญ อพยพมาจากเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้มาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาอพยพโดยใช้เรือเป็นพาหนะ เพื่อเดินทางขึ้นเหนือไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงเมืองปากน้ำโพ เพื่อค้าขายเครื่องปั้นดินเผา ได้ขึ้นจากเรือเพื่อหาผักหาปลาทำกับข้าว ในบึงเขาดิน ตำบลบ้านแก่ง ได้พบดินที่บึงแห่งนี้มีคุณภาพดี สามารถทำเครื่องปั้นดินเผาได้และพากันต้องถิ่นฐานอาศัยอยู่ประจำที่นี่จนถึงปัจจุบัน

เมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ก็ย่อมเกิดการเคลื่อนย้ายวัฒนธรรมติดตัวไปด้วย ซึ่ง กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ชุมชนบ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง ก็มีวัฒนธรรมที่ติดตัวมาด้วยคือ วิถีชีวิตวัฒนธรรมด้านภาษาพูด ด้านอาหารการกิน ด้านการแต่งกาย และการสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งมีอัตลักษณ์ ที่โดดเด่นมาก ในการนี้จะนำเสนอด้านวัฒนธรรมการทำมาหากิน และชูเรื่องมรดกภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผา บ้านมอญ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

การปั้นใช้วิธีการแบบดั้งเดิม เรียกว่าการนั่ว

กว่าจะมาเป็นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ

สมัยบรรพชนได้ใช้แรงงานคน ควาย มีเกวียนเป็นพาหนะบรรทุกดินจากบึงเขาดินเข้ามาในหมู่บ้าน ใช้ควายย่ำให้ดินละเอียดลง ก่อนจะนำไปใช้ในการปั้นทำเครื่องปั้นดินเผา

การทำเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม

วัสดุที่ใช้ : ๑. ดิน ๒. ทราย ๓. น้ำ ๔. ฟืนทำเชื้อเพลิง

ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม

๑. เริ่มขุดดินมาหมักไว้ในน้ำ ๓ คืน เพื่อให้ดินอ่อนนุ่ม

๒. นำดินมาผสมทรายโม่ให้เข้ากัน แล้วจัดเตรียมไว้เป็นท่อนกลมๆ (สมัยโบราณใช้ควายย่ำแทนการโม่ดิน)

๓. นำดินที่โม่แล้วมาขึ้นรูปทำเครื่องปั้นดินเผารูปทรงตามต้องการ เช่น โอ่ง อ่าง กระถาง ไห หม้อดิน คนโท ฯลฯ

ในการนี้ขอนำเสนอการทำคนโทแบบดั้งเดิม จากแรงบันดานใจที่จะนำเสนอชิ้นงานเครื่องปั้นดินเผาได้ทั้งแบบโบราณและแบบร่วมสมัย เพื่ออนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสู่อนุชนและสาธารณชน ดังตัวอย่างชิ้นงานการปั้นแบบดั้งเดิมหรือแบบโบราณ คือ

คนโทลายโบราณ(จิ้มดอก)มีลักษณะรูปทรงแบบสวยงามแบบดั้งเดิม โดดเด่น ใช้วิธีการหรือกระบวนการทำแบบโบราณทั้งสิ้น ตามขั้นตอนดังนี้

๑. การขุดดินก่อนขุดดินมาใช้ในงานปั้น ข้าพเจ้าได้ทำพิธีตามธรรมเนียมโบราณ คือการขอขมาพระแม่ธรณี ณ บริเวณบึงเขาดิน เพื่อให้พระแม่ธรณีอนุญาต ให้ท่านปกปักรักษา ทำการงานบรรลุไม่มีอุปสรรคใด ๆ โดยมีพิธีการดังนี้ ผู้ขอขมานำธูป ๓ ดอก ดอกไม้ ๓ สี และหมาก ๑ คำ ไปที่แหล่งดินคือบึงเขาดิน ใช้เสียมขุดดินขึ้นมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ยาว ๑๐ ซ.ม. ลึก ๘ ซ.ม. วางดอกไม้ หมากไว้บนก้อนดินที่ทำพิธี จุดธูปถือพร้อมพนมมือบอกกล่าวขอขมาพระแม่ธรณี และกล่าวคำว่าพระแม่ธรณี พระภูมิเจ้าที่ ลูกขออนุญาตนำดินแห่งนี้ไปใช้ในงานปั้น เพื่อประกอบสัมมาหาเลี้ยงชีพ ขอให้ข้าพเจ้าดำเนินการด้วยความเจริญ รุ่งเรือง ปราศจากปัญหาและอุปสรรค์ทั้งปวงเทอญ แล้วปักธูปทั้ง ๓ ดอกไว้ที่ก้อนดินนั้น จึงจะสามารถขุดดินไปใช้ในงานปั้นได้

๒. การหมักดินเมื่อได้ดินมาแล้วนำไปผสมน้ำ หมักไว้เป็นเวลา ๓ คืน

๓. การนวดดิน(ในอดีตใช้ควายย่ำดิน) หลังจากหมักดินไว้ครบ ๓ คือแล้ว ก็ขุดดินส่วนที่จะใช้มาย่ำด้วยเท้าจนดินผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน มีความนุ่ม ละเอียดได้ที่แล้วจะคลึงเป็นท่อนขนาดใหญ่ ยาว ตามความต้องการในงานปั้นนั้นๆ แล้วใช้ใบตองแห้งห่อไว้ มิให้ถูกลมเพราะจะแห้งแข็งนำมาใช้ปั้นไม่ได้

๔. การขึ้นรูปนำดินที่ห่อไว้มานวดด้วยมือจนนิ่ม ทำเป็นขดๆ เตรียมไว้นั่ว ใช้ วิธีการปั้นแบบโบราณ คือการนั่วดิน(ต่อขดดิน)ให้เป็นรูปทรงคนโท นำผึ่งลมไว้ ๑ คืน

๖. การต่อคอคนโทเมื่อได้คนโทที่หมาด ก็ทำการต่อคอ ทำปาก พร้อมตกแต่งรูปลักษณ์คนโทให้สวยงาม นำผึ่งลมไว้ ๑ คืน

๗. การเขียนลวดลายเมื่อครบ ๑ คืน ก็ได้คนโทที่หมาด ก็สามารถเขียนลวดลายลงบนคนโทโดยใช้วิธีการจิ้มลายและกดลายแบบโบราณ ซึ่งสามารถทำได้โดยวิธีการนำเศษกิ่งไม้สักชิ้นเล็กๆ มาแกะสลักเป็นลวดลาย หรือดอกที่ต้องการ เพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ นำแม่พิมพ์ไปจิ้มบนภาชนะเครื่องปั้นทีละดอกจนครบตามต้องการจะเกิดลวดลายหรือดอกที่สวยงาม (ใช้วัสดุท้องถิ่น) งานออกมาจึงมีความประณีต สวยงามมาก เป็นเสน่ห์ของเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญแบบโบราณ ปัจจุบันมีผู้ทำการอนุรักษ์เหลือน้อยคน เพราะปู่ ย่า ตา ยาย ท่านอายุมากและล้มตายจากไปเกือบหมดคนรุ่นอนุรักษ์ในท้องถิ่น

๘. การผึ่งลมเมื่อทำตามวิธีการในข้อ ๗ เสร็จแล้ว จะนำไปผึ่งลมในที่ร่มโดยใช้เวลา ๑๕ วัน

๙. การเผาเมื่อผึ่งลมจนได้ที่เป็นเวลาครบกำหนด ๑๕ วันแล้ว ก็นำเข้าเตาเผาเพื่อเผาให้แกร่ง การเผาใช้ไม้ไผ่แห้ง หรือไม้ยูคาลิฟตัสแห้งทำฟืน ใช้เวลาสุมไฟนาน ๓ วัน ๒ คืน ค่อย ๆ เร่งไฟให้แรงถึง ๘๐๐ องศาขึ้นไป จึงจะได้เครื่องปั้นที่แกร่ง สีสวย เคาะดังกังวาน มีความแข็งแรง คงทนในการใช้งาน

๑๐. การใช้งานมีประโยชน์สำหรับใส่น้ำดื่มประจำบ้าน หรืองานประดับ ตกแต่ง นับเป็นศิลปหัตถกรรมไทยที่ล้ำค่า สมควรแก่การอนุรักษ์ เผยแพร่ ให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

Location
Tambon บ้านแก่ง Amphoe Mueang Nakhon Sawan Province Nakhon Sawan
Details of access
Reference อวยพร พัชรมงคลสกุล Email paitoog@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่