สาระสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยสังเขป
หนังสติ๊กสันนิษฐานว่าน่าจะมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1800 และต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมักจะเห็นในรูปแบบของเครื่องมือล่าสัตว์ที่ใช้หลักการ “การดีด” กระสุนออกไป โดยกระสุนส่วนใหญ่นั้นจะเป็นลูกหิน ลูกเหล็ก หรือก้อนหินขนาดพอเหมาะ
หนังสติ๊ก หรือslingshot เป็นอุปกรณ์พื้นบ้านที่ประยุกต์มาจากวัสดุธรรมชาติ คือ ง่ามไม้ที่มีลักษณะเป็นตัว v อาจมีระยะห่างระหว่างง่ามได้ตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึง 4-5 นิ้ว และวิธีการใช้งาน เป็นอาวุธยิงวิถีโค้งด้วยมือ ขนาดเล็ก ทำจากไม้ง่าม โดยมียาง 2 เส้นยึดอยู่ที่ปลายง่ามทั้ง 2 ด้าน อีกด้านของยางทั้ง 2 เส้น จะผูกติดกับแถบหนังที่ใช้ใส่สิ่งของที่จะยิงออกไป โดยส่วนมากสิ่งของที่จะใช้ยิง จะเป็นดินปั้นก้อนกลม ดินที่ใช้จะเป็นดินเหนียว เส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนดินจะประมาณ 1-2 ซม.
หนังสติ๊กไทย สมัยก่อนการยิงหนังสติ๊กเป็นกีฬาของเด็กผู้ชายไทยที่ชอบความท้าทายออกไปท้องทุ่งท้องนา ยิงนก ยิงหนู เพื่อนำมาเป็นอาหาร ไล่สัตว์ที่เข้ามารบกวน หรือยิงเป้าต่างๆ แข่งขันกันเป็นที่สนุกสนาน ผู้ที่มีความแม่นในการยิงจะได้รับการชื่นชมว่าเป็นผู้มีความเก่ง มีความสามารถ จึงถือได้ว่าการเล่นหนังสติ๊ก เป็นการละเล่นที่ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น
อุปกรณ์ที่ใช้ทำประกอบด้วยไม้ง่าม หรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะแข็งที่เป็นง่าม ซึ่งง่ามทั้งสองข้าง ควรจะยาว 2.5-3 นิ้ว ซึ่งถ้าหากเป็นหนังสติ๊กไทยแบบดั้งเดิมส่วนมากจะทำจากไม้ที่มีลักษณะแข็ง หาได้ทั่วไป นำมาตกแต่งให้สวยงาม และอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้อีกอย่าง สำหรับการประกอบเป็นหนังสติ๊กก็คือ ยางยืดและยางรองสำหรับใส่ลูกหนังสติ๊กนั้นเอง ความยาวของแต่ละข้างของหนังสติ๊กไม่ควรสั้นกว่า 6 นิ้วขึ้นไปปัจจุบันมีการผลิตหนังยางที่ใช้ทำหนังสติ๊กขึ้นมามากมายและมีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ และก็สามารถดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆมาทำเป็นง่ามได้ ซึ่งปัจจุบันก็สามารถใช้ไฟเบอร์แข็งหรือเหล็ก และอุปกรณ์อีกอย่างที่ใช้ในการยิงหนังสติ๊ก ก็คือลูกกระสุนที่ใช้สำหรับยิง ซึ่งจะหาได้จากสิ่งของรอบตัว เช่นก้อนหิน ก้อนดิน และในปัจจุบัน จะมีการทำลูกกระสุนที่ทำมาจากดินเหนียว ปั้นเป็นลูกกลมๆ สำหรับจำหน่าย ทำให้สะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้นในปัจจุบันมีการทำง่ามหนังสติ๊กจำหน่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ราคาถูกแพงแตกต่างกันไปตามวัสดุ และความยากง่ายในการทำ ความสวยงาม การเล่นหนังสติ๊กยังสามารถนำมาทำการแข่งขันเป็นกีฬาได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีการเล่นกีฬาแข่งหนังสติ๊กกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยมเล่นกันในระดับหนึ่ง อีกทั้งในพื้นที่บางแห่งก็ใช้หนังสติ๊กเพื่อจัดกิจกรรมขยายพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งจะมีการแข่งขันหรือไม่ก็ได้ อาทิเช่น การเอาหนังสติ๊กยิงลูกต้นยางนาออกไปให้ไกลที่สุด เพื่อให้ลูกยางนาไปงอกเป็นต้นกล้าเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ต่อไป
ประวัติความเป็นมา
ชมรมอนุรักษ์กีฬาพื้นบ้านลุ่มน้ำสะแกกรังจังหวัดอุทัยธานี มีการละเล่นกีฬาพื้นบ้านอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ 1) การเล่นง่ามยางหนังสติ๊ก 2) การยิงคันกระสุนโบราณ 3) การยิงปืนยาง
นายเกษม ประสาทเขตรการ ได้เล่าว่า เมื่อปีพ.ศ. 2548 นายเสรี อินยะวงษ์ ได้ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ง่ามยางสะแกกรัง และเมื่อปี พ.ศ. 2558 นายเกษม ประสาทเขตรการ ก็ได้มีการร่วมพลคนรักษ์การเล่น ง่ามยางหนังสติ๊ก การยิงคันกระสุนโบราณ การยิงปืนยาง ร่วมกันก่อตั้งชมรมอนุรักษ์กีฬาพื้นบ้านลุ่มน้ำสะแกกรังขึ้นมา เพื่อทำกิจกรรมฝึกซ้อม จัดการแข่งขัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคเพื่อสร้างความสนุกสนานและสืบทอดกีฬาพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่ต่อไป
ในปัจจุบัน ในพื้นที่อุทัยธานีจะมีผู้เล่นการยิงหนังสติ๊กอยู่เป็นกลุ่มๆ ประมาณ 7 กลุ่ม ดังนี้
-ซุ้มต้นมะขาม ตำบลท่าซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
-ซุ้มฟากทุ่ง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
-ซุ้มหนึ่งงาข้าง ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
-ซุ้มเมืองพระชนก ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
-ซุ้มเมืองหนองขุย ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
-ซุ้มทัพค่าย ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
-ซุ้มเขากวางทอง ตำบลเขากวางทอง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกหมุนเวียนเข้ามาฝึกซ้อม เพื่อสร้างความแม่นยำสำหรับออกไปแข่งขันในการจัดกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันจะมีการเล่นกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชลบุรี ที่ยังมีการจัดการแข่งขันกันอยู่ประจำ ในปัจจุบันการผลิตง่ามยางหนังสติ๊กของสมาชิกในกลุ่มนอกจากผลิตเพื่อใช้ในการแข่งขัน
ก็เหมือนผู้หญิงสมัยก่อนทั่วไปที่เมื่อว่างจากงานไร่นา ก็ใช้เวลาสำหรับการทอผ้า นางอรอนงค์ก็สั่งสมประสบการณ์จากผู้เป็นแม่ เรียนรู้การทอผ้าจนมีความเชี่ยวชาญ
หมอนอิงหน้าวัว จะมีลักษณะคล้ายขวาน ลายผืนผ้าที่นำมาประกอบเป็นตัวหมอนจะมีลายหลักอยู่ส่วนกลาง และจะเรียกชื่อหมอนตามลายหลัก เช่นหมอนลายขอ หมอนลายนาคแปดหัว และจะมีลายด้านข้างซ้ายขวา เรียกว่าเครื่องป้องซึ่งเครื่องป้องนี้ นิยมทำ 9 แถว 7 แถว หรือ 6 แถว การประกอบขึ้นตัวหมอน จะเป็นลูกใหญ่ลูกเดียว นำมายัดนุ่นและเย็บปิดด้านข้าง ซึ่งจะต่างจากหมอนขวานทั่วไปที่จะนำลูกหมอนหลายๆลูกมาเย็บประกอบเป็นหมอนขวาน และหมอนอิงหน้าวัว ที่เป็นลายโบราณมีการทอตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย คือลายนาคแปดหัว โดยมีความเชื่อของชาวบ้านในสมัยก่อนว่า นาคคือสัตว์ชั้นสูง เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ ความดี ความมั่งมี และโชคลาภ จึงมีการนำลายนาคมาทอเป็นลายผ้า ในปัจจุบันคนไม่นิยมใช้หมอนอิงกันมากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จำทำให้ผู้คนจะใช้เฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น กอร์ปกับการทอผ้าลายนาคแปดหัวใช้เวลาในการทอนากกพอสมควร จึงไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จะได้รับ จึงทำให้หมอนอิงลายนาคแปดหัว อาจจะสูญหายไปจากชุมชนได้ในที่สุด