โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้องการรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม
ประวัติความเป็นมามโนราห์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (วัดชลธาราวาส)
พระครูอดุลวีราคม เจ้าอาวาส วัดชลธาราวาส ได้เล่าว่า ก่อที่จะมีการแสดงโนรา หรือ มโนราห์ ของศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น จัดตั้งขึ้นประมาณ ๑๐ ปี เริ่มจากที่ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์อยากให้มีกิจกรรมเสริม หลักจากเลิกเรียน ซึ่งมีกิจกรรมเสริมในภาควิชาเรียน คือ วิชานาฎศิลป์
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
เพื่อเป็นการรักษาขนมธรรมประเพณี จึงได้ปรึกษาหารือคณะกรรมการในการเลือกวิชาเรียนให้กับนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จึงได้ประชุมคณะกรรการเพื่อแสดงความคิดเห็น จึงได้มีมติในที่ประชุมการแสดงพื้นบ้าน(รำมโนราห์)เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการแสดงมโนราห์เริ่มแรกเด็กที่สนใจเรียนจำนวน ๘ คน โดยมีครูฝึก ชื่อนางยุพิม บัวแก้ว เป็นบุคลที่มีความเชี่ยวชาญในการแสดงมโนราห์ มากกว่า ๓๐ ปี ปัจจุบันได้นักเรียนที่ความชาญในแสดง จำนวน ๑๖ คน เพื่อนำไปแสดงในงานต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้การศิลปะการแสดงมโนราห์ยังเป็นที่นิยมทั่วไปของชาวภาคใต้ เราสามารถพบการแสดงมโนราห์ได้ในงานทั่วไปทั้งงานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทอดผ้าป่าสามัคคี เป็นต้น และงานอวมงคล เช่น งานศพ นอกจากนี้โนราที่ใช้แสดงเพื่อความบันเทิงและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จึงได้นำหลักสูตรการแสดงพื้นบ้าน (รำมโนราห์) ใช้จัดเป็นการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาในจุดนี้ และได้นำการแสดงพื้นบ้าน (รำมโนราห์) บรรจุไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาอีกด้วยในทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้