ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 45' 37.2632"
14.7603509
Longitude : E 100° 25' 55.5697"
100.4321027
No. : 38470
หลวงพ่อซวง (เก้าสิงหเกจิบูราจารย์
Proposed by. - Date 1 January 2010
Approved by. สิงห์บุรี Date 5 July 2012
Province : Sing Buri
2 3481
Description

หลวงพ่อซวง อภโย (พระวินัยธร) วัดชีปะขาว


หลวงพ่อซวง มีนามเดิมว่า ซวง นามสกุล พานิช เกิดประมาณปี 2441 บิดาชื่อเฮง มารดาชื่ออ่ำ เป็นชาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อยู่เหนือวัดชีปะขาวไปเล็กน้อย อุปสมบท ณ วัดโบสถ์(อัมพวา) ต.ไชยภูมิ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ประมาณปี 2465 ในการอุปสมบทครั้งนั้นเป็นการอุปสมบทหมู่ โดยมีพระอาจารย์เมิน วัดจุฬามณี ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม (วัดนก) ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระหลวงพ่ออ่อน วัดทองกลาง ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อภโย แปลว่า ผู้ไม่มีภัย หลังจากอุปสมบทแล้วได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดชีปะขาว จนกระทั่งท่านมรณภาพ ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2510 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ด้วยโรควัณโรค ที่โรงพยาบาลจังหวัดสิงห์บุรี สิริรวมอายุได้ 69 ปี 45 พรรษา

หลวงพ่อซวง ได้รับการถ่ายทอดการฝึกกรรมฐานเบื้องต้นจากพระอาจารย์คำ วัดสิงห์ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี นอกจากเรียนกรรมฐานเบื้องต้นแล้วหลวงพ่อซวงยังได้เรียนการทำธงพระฉิมและการสักยันต์บุตร-ลบอีกด้วยหลังจากนั้นได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์คำให้ไปเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแป้น วัดเสาธงใหม่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากพระอาจารย์คำ วัดสิงห์ได้เคยมาเรียนวิชาบุตร-ลบและวิชาแพทย์แผนโบราณตลอดจนคาถาอาคมกับหลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้องและได้รู้จักกับหลวงพ่อแป้น

หลังจากที่หลวงพ่อซวงได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแป้นแล้ว ก็ได้เรียนวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อแป้น จนหมดสิ้น หลังจากนั้นหลวงพ่อซวงก็ได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อแป้นให้ไปเรียนวิปัสสนาและวิชาอาคมเพิ่มเติมกับหลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวนหรือวัดน้อย ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.สุโขทัย หลวงพ่อซวง นอกจากเรียนวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อฤทธิ์แล้วหลวงพ่อซวงยังได้เรียนวิชาทำแหวนชิน หรือแหวนหูมุ้งและการทำยาเปรี้ยวอีกด้วย หลวงพ่อซวงเป็นพระที่มากด้วยเมตตาแม้กระทั่งอีกาท่านยังเลี้ยงเชื่อง โดยอีกาตัวนี้มีชื่อว่า แขก สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่เมื่อท่านฉันข้าวบนศาลา จะมีอีกามากินข้าวและอาหารจากมือท่านประจำและท่านยังสามารถเรียกมันได้อีกด้วย ญาติโยมแถบวัดชีปะขาวในสมัยนั้นต่างก็รู้เรื่องนี้กันทุกคน
หมายเหตุภายหลังพระอาจารย์คำได้ลาสิกขาบทไปมีครอบครัวโดยใช้นามสกุล ช่างประดับ และยังใช้วิชาความรู้ด้านแพทย์แผนโบราณ ตลอดจนสักยันต์บุตร-ลบให้แก่ผู้คนที่เชื่อถือท่านอีกด้วย
เหตุที่ทำให้ท่านต้องลาสิกขาไปนั้นเพราะมีคนร้องเรียนต่อคณะสงฆ์ว่าท่านเป็นผู้ให้ที่หลบภัยกับโจร

ขอเชิญกราบนมัสการสังขาร ของหลวงพ่อซวง ได้ทุกวันตั้งแต่ 8.00 จนถึงเวลา 17.00 น.เรื่องศพของหลวงพ่อนั้น ท่านมีเจตนาให้เก็บศพท่านไว้ไม่ให้เผาเนื่องจากโบสถ์ยังสร้างไม่เสร็จแต่ท่านรู้ว่าท่านอยู่ไม่ทันโบสถ์เสร็จแน่ ก่อนมรณภาพท่านจึงได้บอกลูกศิษย์ว่า "ใครอยากรวย ให้เก็บศพฉันไว้" เพื่อที่จะให้คนที่มากราบเคารพศพท่านได้ร่วมกันทำบุญสร้างโบสถ์จนกระทั่งโบสถ์สร้างเสร็จ หลังจากที่ตั้งสวดบนศาลาจนครบกำหนดก็ได้นำศพท่านไปเก็บไว้ที่กุฎิและย้ายมาเก็บที่หอสวดมนต์หลังจากนั้น ในตอนแรกหลวงพ่อเกียงท่านคิดว่าถ้าศพเน่าหมดเหลือแต่กระดูกจะนำกระดูกมาร้อยเป็นร่างกระดูกเก็บไว้ พ.ศ.253.กว่าๆ หลวงพ่อเกียงทราบว่าร่างของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อยแต่แห้งแข็ง จึงคิดว่าน่าจะสร้างมณฑปเพื่อเก็บสังขารของหลวงพ่อซวงโดยเฉพาะ และทำสร้างมณฑปขนาดเล็กแบบจตุรมุขมีทางเข้าออก 4 ทางโดยหลวงพ่อเกียงได้ออกวัตถุมงคลรุ่นสร้างมณฑปขึ้น(ผ้ายันต์ และรูปถ่ายขนาดบูชาของหลวงพ่อซวงที่ออกรุ่นนี้ จะปั๊มคำว่า ที่ระฤกสร้างมณฑป) เพื่อหารายได้สร้างมณฑปหลังนี้ โดยสร้างเสร็จเมื่อปลายปี 2535 และหลังจากที่มณฑปสร้างเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อเกียงจึงได้พิธีย้ายสังขารของหลวงพ่อซวงท่านมาเก็บไว้ที่มณฑป(หลังเก่า) ปัจจุบันมณฑปหลังเดิมได้ถูกรื้อและปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นดังที่เห็นเช่นปัจจุบัน

ขอเชิญกราบนมัสการสังขาร ของหลวงพ่อซวง ได้ทุกวันตั้งแต่ 8.00 จนถึงเวลา 17.00 น.เรื่องศพของหลวงพ่อนั้น ท่านมีเจตนาให้เก็บศพท่านไว้ไม่ให้เผาเนื่องจากโบสถ์ยังสร้างไม่เสร็จแต่ท่านรู้ว่าท่านอยู่ไม่ทันโบสถ์เสร็จแน่ ก่อนมรณภาพท่านจึงได้บอกลูกศิษย์ว่า "ใครอยากรวย ให้เก็บศพฉันไว้" เพื่อที่จะให้คนที่มากราบเคารพศพท่านได้ร่วมกันทำบุญสร้างโบสถ์จนกระทั่งโบสถ์สร้างเสร็จ หลังจากที่ตั้งสวดบนศาลาจนครบกำหนดก็ได้นำศพท่านไปเก็บไว้ที่กุฎิและย้ายมาเก็บที่หอสวดมนต์หลังจากนั้น ในตอนแรกหลวงพ่อเกียงท่านคิดว่าถ้าศพเน่าหมดเหลือแต่กระดูกจะนำกระดูกมาร้อยเป็นร่างกระดูกเก็บไว้ พ.ศ.253.กว่าๆ หลวงพ่อเกียงทราบว่าร่างของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อยแต่แห้งแข็ง จึงคิดว่าน่าจะสร้างมณฑปเพื่อเก็บสังขารของหลวงพ่อซวงโดยเฉพาะ และทำสร้างมณฑปขนาดเล็กแบบจตุรมุขมีทางเข้าออก 4 ทางโดยหลวงพ่อเกียงได้ออกวัตถุมงคลรุ่นสร้างมณฑปขึ้น(ผ้ายันต์ และรูปถ่ายขนาดบูชาของหลวงพ่อซวงที่ออกรุ่นนี้ จะปั๊มคำว่า ที่ระฤกสร้างมณฑป) เพื่อหารายได้สร้างมณฑปหลังนี้ โดยสร้างเสร็จเมื่อปลายปี 2535 และหลังจากที่มณฑปสร้างเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อเกียงจึงได้พิธีย้ายสังขารของหลวงพ่อซวงท่านมาเก็บไว้ที่มณฑป(หลังเก่า) ปัจจุบันมณฑปหลังเดิมได้ถูกรื้อและปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นดังที่เห็นเช่นปัจจุบัน

Location
วัดชีปะขาว
No. 86 Moo 1
Amphoe Phrom Buri Province Sing Buri
Details of access
s:54:วัดชีปะขาว
No. 86 Moo 1 Road สระบุรี-บางพาน
Tambon พระงาม Province Sing Buri ZIP code 16000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
ลำพูน 30 September 2024 at 15:22
https://w69th.mobi/
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่