ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 56' 15.9583"
14.9377662
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 21' 49.8827"
100.3638563
เลขที่ : 38523
เจ้าอาวาสวัดบุดดา
เสนอโดย - วันที่ 1 มกราคม 2553
อนุมัติโดย สิงห์บุรี วันที่ 1 มิถุนายน 2555
จังหวัด : สิงห์บุรี
0 2038
รายละเอียด

พระอธิการศุภรัตน์ ฐิตธรรมปาโล เดิมชื่อ นายศุภรัตน์ วิไลศักดิ์ทิพากร เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2488 อุปสมบทเมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2533 ณ วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง สอบได้นักธรรมตรี ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบุดดา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2548 (036512909)

ประวัติและผลงาน
พระอธิการศุภรัตน์ ฐิตธมฺมปาโล
เจ้าอาวาสวัดบุดดา ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

ชื่อ พระอธิการศุภรัตน์ ฉายา ฐิตธมฺมปาโล นามสกุล วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ อายุ ๖๖ ปี พรรษา ๑๘ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุดดา (036512909)
สถานะเดิม
ชื่อเดิม ศุภรัตน์ นามสกุล วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ เกิดวันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ตรงกับขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ณ กรุงเทพมหานคร หลังเยาวราช ๗ ชั้น เขตสัมพันธวงศ์ โยมบิดาชื่อ นายง้วง แซ่เอี้ย โยมมารดาชื่อ นางอิม แซ่ตั้ง หลังจากมารดาคลอดมาไม่นาน บิดามารดาได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ ตำบลโพธิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ในขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง อายุได้ ๓ ขวบก็ย้ายมาอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ถึงปัจจุบัน
การศึกษา
ประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนกงลิบหยกฮั้ว อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
ประถมศึกษาปีที่ ๓-๔ โรงเรียนวัดโพธิ์แก้วนพคุณ เทศบาล๑ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนชลเอม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
มัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนโพธิรัตน์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
พี่น้อง
มีพี่น้องรวม ๖ คน ตามลำดับดังนี้
๑. นางเคี้ยม วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ (แซ่โค้ว) ถึงแก่กรรม
๒. นายสุวัฒน์ วิไลศักดิ์ทิพากรณ์
๓. พระอธิการศุภรัตน์ ฐิตธมฺมปาโล (นายศุภรัตน์ วิไลศักดิ์ทิพากรณ์)
๔. นางวราภรณ์ วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ (เตียรณบรรจง)
๕. นายฐิติวัฒน์ วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ ถึงแก่กรรม
๖. นายเทียนชัย วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ ถึงแก่กรรม
ก่อนอุปสมบท
ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ สมรสกับนางสาวนันทวัน ชัยพิพากร ประกอบอาชีพค้าขายที่ห้างศุภรัตน์ และรับเหมาก่อสร้างในตลาดสิงห์บุรี และจังหวัดภูเก็ต มีบุตร ๒ คน ดังต่อไปนี้
๑. นายอนันต์ วิไลศักดิ์ทิพากรณ์ สมรสกับนางสาวพิชญดา เกษมประศาสน์พร มีบุตร ๓ คน
๒. นายโชติวุฒิ วิไลศักดิ์ทิพากรณ์
ท่านได้ปฏิบัติตนเป็นพุทธมามะกะที่ดีมาตลอดเวลา ทั้งการปฏิบัติ รักษาศีล ภาวนา และการให้ท่าน ช่วยเหลืองานของพุทธศาสนา มีความกตัญญูต่อบุพการี อุปัฎฐากดูแลครูบาอาจารย์ต่างๆ การปฏิบัติได้ฝึกมโนมยิทธิ ที่วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี โดยมีพระราชพรหมยาน เป็นผู้ให้การอบรม ได้ปฎิบัติธรรมกับหลวงปู่แอ๋ว อังกุโร เจ้าอาวาสวัดสี่เหลี่ยม จังหวัดสิงห์บุรี
ต่อมาท่านได้ใช้บ้านของท่านเป็นสถานที่ให้เพื่อนๆ สหมิตร และผู้ที่สนใจปฎิบัติ สวดมนต์ และ ฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยมีอาจารย์ปัญญาภิรักษ์ เจ้าอาวาสวัดเขาบวช อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง มาเป็นผู้ฝึกสอน และหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อแสวง ฐิตสาสโน วัดถ้ำเขาตะพาบ ตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้เมตตามาอบรมสอนเป็นระยะ หลวงปู่บุดดา ถาวโร ได้เมตตา ท่านอบรมแนะนำสั่งสอนในการปฏิบัติ เวลาที่มีข้อติดขัดในการปฏิบัติ หลวงปู่จะคอยแก้ไขให้โดยในนิมิตบ้างไปกราบเรียนถามท่านที่วัดกลางชูศรีเจริญสุขบ้าง
บางครั้งหลวงปู่ถึงกับมาหาที่บ้านของท่าน ท่านเล่าว่า ท่านตกใจมากเมื่อหลวงปู่บุดดามาหา แล้วแก้ข้อติดขัดให้ เมื่อท่านอายุได้ ๔๙ ปี หลวงปู่บุดดา ถาวโรได้ขอบิณฑบาตรกับโยมสีกาให้ท่านออกบรรพชา ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตจากโยสีกาตามที่หลวงปู่ขอ เมื่อท่านบวชได้ ๑ พรรษาท่านก็ไปขอลาสิกขากับหลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่บอกท่านว่า ให้ท่านไปสึกกับพระแก้วมรกต
ท่านก็เข้าใจว่าหลวงปู่ไม่ยอมให้สึก และเมื่อหลวงปู่ใกล้จะมรณะภาพ หลวงปู่บุดดา ถาวโรก็
สั่งท่านไม่ให้ไปอยู่จำพรรษาที่อื่น ให้ท่านอยู่ที่สิงห์บุรีเท่านั้น ท่านเองเคยเข้าไปกราบขออนุญาตจากหลวงปู่ ให้ท่านฉันอาหารมื้อเดียว แต่หลวงปู่ท่านกลับตอบมาว่า ไม่อนุญาตเดี๋ยวพระเณรอดหมด ตอนนั้นท่านเองก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไมพระเณรจะต้องมาอดตามท่าน ท่านเองก็ไม่ได้ถามหลวงปู่ต่อ ซึ่งมาตอนนี้ ท่านเองก็ยิ่งเข้าใจว่า หลวงปู่ท่านมีเมตตามหาศาลและยิ่งซาบซึ้งใจยิ่งนักที่หลวงปู่ท่านเองรู้ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าว่า ท่านจะต้องมาสร้างวัดบุดดา เป็นเจ้าอาวาสวัดบุดดา จะต้องดูแลปกครองพระภิกษุสามเณร แม่ชี และศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ต่อไป
อุปสมบท
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ อายุ ๔๙ ปี ณ วัดพิกุลทอง ตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระราชสิงหคณาจารย์ (หลวงพ่อแพ เขมงฺกโร) เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระธรรมธรปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูปลัดบรรเจิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พรรษาที่ ๑-๓ พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๕
จำพรรษาที่วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และได้ออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกไปยังที่ต่างๆ เช่น จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสกลนคร อำเภอหัวหินและอำเภอหาดใหญ่ เป็นต้น
พรรษาที่ ๔ พ.ศ.๒๕๓๖ จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้งพรหมนคร ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
พรรษาที่ ๕ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ถึงปัจจุบัน จำพรรษาที่สำนักปฏิบัติธรรมหลวงปู่บุดดา ถาวโร ปัจจุบันเป็นวัดบุดดา ตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
วิทยฐานะ พ.ศ.๒๕๔๖ สอบได้นักธรรมตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

สถานที่ตั้ง
วัดบุดดา
เลขที่ 134 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล บางกระบือ อำเภอ เมืองสิงห์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
s:54:
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี อีเมล์ cul_sing@Hotmail.com
ถนน สิงห์บุรี-บางพาน
ตำบล ม่วงหมู่ อำเภอ เมืองสิงห์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี รหัสไปรษณีย์ 16000
โทรศัพท์ 036-507208 โทรสาร 036-507209
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่