ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 50' 56.8799"
16.8491333
Longitude : E 99° 17' 9.6709"
99.2860197
No. : 46612
ครกกระเดื่อง
Proposed by. Manop Chuenphakdi Date 9 March 2011
Approved by. Takculture Date 22 May 2012
Province : Tak
0 828
Description
ครกกระเดื่อง เป็นเครื่องมือสำหรับตำข้าวเปลือกและเมล็ดพืชบางชนิด เช่น ถั่ว งา จัดเป็นเครื่องทุ่นแรงชนิดหนึ่งของเกษตรในบางท้องถิ่น ตามปกติ การตำข้าวเป็นหน้าที่ของผู้หญิง บางแห่งตำด้วยสากมือหรือตะลุมพุก นับเป็นงานที่หนักเกินไปสำหรับแรงของผู้หญิง เครื่องมืตำข้าวที่เรียกว่า "ครกกระเดื่อง" ช่วยทุ่นแรงและสามารถตำข้าวได้ที่ละมากๆโดยประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในรูปกระดานหก ซึ่งผู้คิดจะต้องคำนึงถึงจุดหมุนและน้ำหนักของสากที่ใช้ตำด้วย นับว่าครกกระเดื่องเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านอย่างหนึ่งของสังคมเกษตรกรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งภาคกลางบางจังหวัดเรียกครกกระเดื่องว่า "ครกมอง" ส่วนภาคใต้เรียกว่า "ครกถีบ" ตัวครก ทำดัวยไม้เนื้อแข็งทนต่อแรงกระแทกได้ดี เช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง เป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลางหน้าครกประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ เซนติเมตร ตัวครกสูงประมาณ ๕๐ - ๖๑๐ เซนติเมตร ขุดตรงกลางหน้าครกให้เป็นหลุมลึกกันมนพอที่จะใส่ข้าวหรือถั่วงาได้ประมาณครั้งละ ๑/๒ ถึง ๑ ถัง ตัวครกฝังลงในดินให้ปากครกโผล่พ้นดินขึ้นมาประมาณ ๔ - ๖ นิ้ว คันกระเดื่อง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เป็นท่อนตรงยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร ปลายด้านหนึ่งซึ่งวัดจากปลายเช้ามาประมาณ ๒ ฟุตเจาะรูให้ทะลุสำหรับสอดคานขวางคันกระเดื่องให้ปลายยื่นออกไปสอดกับรูที่เจาะทั้ง ๒ ข้าง เพื่อเป็นตัวช่วยให้คันกระเดื่องกระดกขี้นลง เพื่อตำของในครก สาก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นท่อนตรง เกลาให้กลมขนาดให้พอเหมาะกับคันกระเดื่องและตัวครก เมื่อนำส่วนด้ามกันคันกระเดื่องแล้วสากจะตั้งตรงดิ่งลงตรงกลางครกเสา มี ๒ เสา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ฝังโคนเสาลงดินให้แน่น ตั้งเป็นคู่อยู่ในแนวเดียวกัน ระยะห่างของเสาทั้งคู่เท่ากับความยาวคานของคันกระเดื่อง เจาะรูเสาแต่ละต้นเหนือระดับพื้นดินขันพอสมควรเพื่อสอดคานกระเดื่อง ขุดหลุมตื้นๆ บนพื้นดินตรงปลายกระเดื่องที่ใช้เหยียบเมื่อจะดำข้าว ข้าวโพด ถั่ว หรือแป้งสำหรับประกอบอาหารก็นำสิ่งของที่จะตำใส่ในครก ผู้มีหน้าที่ตำจะเหยียบโคนกระเดื่องให้กดลงไปในหลุม คันกระเดื่องจะยกตัวขึ้น สากฤซึ่งอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่งลอยสูงขึ้นไปเหมือนกับการเล่นการะดานหก เมื่อผู้ตำปล่อยเท้าจากโคนกระเดื่อง สากก็จะตกไปตำของที่อยู่ในครก การตำนี้ต้องมีผู้ช่วยอีกคนคอยช่วยตะล่อมข้าวหรือหรือ พลิกข้าวให้รวมอยู่ตรงก้นหลุมครกเพื่อให้สากตำได้ทั่วถึง การตำข้าว ด้วครกกระเดื่องจะผลักกันตำกี่คนก็ได้ตำแหน่งต้งครกกระเดื่องมักจะอยู่ใกล้กับตัวเรือน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการทำงาน นอกจากชาวบ้านจะใช้ตำข้าวแล้วยังเป็นที่นัดพบของหนุ่มสาวไปในตัวด้วย กล่าวคือการตำข้าวมักจะตำในเวลาว่างหลังเสร็จงานประจำวันแล้ว ตามปกติชาวนาจะตำข้าวไว้ให้พอดีสำหรับหุงข้าวได้ประมาณ ๓ - ๕ วัน เมื่อหมดแล้วจะตำใหม่หน้าที่ตำข้าวมักเป็นหน้าที่จองลูกสาวในคืนเดือนหงาย สาวๆ ในละแวกบ้านเดียวกันจะนำข้าวของตนมาสมทบและช่วยกันตำ ในระหว่างที่สาวๆตำข้าวกันนี้จะมีหนุ่มๆ มาช่วยตำข้าวคล้ายประเพณีแอ่วสาวของภาคเหนือ ดังนั้นการที่ลานครกกระเดื่องอยู่ไกล้ตัวเรือนจะทำให้การพบปะของหนุ่มสาว อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ด้วย ความนิยมใช้ครกกระเดื่องลดลงเมื่อมีเครื่องสีข้าว มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือ เครื่องใช้., (ระบบออนไลน์) http://kpspstaff.awardspace.com.,๒๕๕๔.
Location
นายช้วน จันทร
No. 5/2 Moo บ้านชบา
Tambon ตลุกกลางทุ่ง Amphoe Mueang Tak Province Tak
Details of access
องค์การบริหารส่วนตำบลตลุกกลางทุ่ง
Reference นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลุกกลางทุ่ง
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก Email takculture@gmail.com
Road พหลโยธิน
ZIP code 63000
Tel. 055517722 Fax. 055517646
Website www.takculture.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่