ประเพณีบุญบังไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟตำบลประชาสุขสันต์ เริ่มฟื้นฟูประเพณีบุญบั้งไฟปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยนายทองม้วน มาตรนอก ผู้นำชุมชนและชาวบ้านตำบลประชาสุขสันต์ สถานที่จัดงานครั้งแรกโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒กำแพงเพชร ตามความเชื่อและประเพณีปฏิบัติ ถ้าจัดงานบุญบั้งไฟที่ใดต้องจัด ๓ ปีติดต่อกันเพื่อเป็นสิริมงคลในหมูบ้าน ปีที่ ๔ ถึงปัจจุบันสถานที่จัดงานโรงเรียนบ้านประชาสุขสันต์ บุญบั้งไฟเป็นหนึ่งในประเพณีของลาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน ๖ หรือเดือน ๗ อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลเหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มี ๖ หมู่บ้านเข้าร่วมขบวนแห่บั้งไฟเอ้ ได้แก่ หมู่ ๓ บ้านประชาสุขสันต์ หมู่ ๕ บ้านหนองกรด หมู่ ๗ บ้านเกาะไผ่ล้อม หมู่ ๘ บ้านก้าวเจริญพร หมู่ ๑๐ บ้านบึงพรานอบ และหมู่ ๑๑ บ้านบัวทอง และในปีนี้ หมู่ ๓ บ้านประชาสุขสันต์และหมู่ ๗ บ้านเกาะไผ่ล้อม เข้าร่วมขบวนแห่แต่ไม่เข้าประกวดขบวนแห่เพราะได้รางวัลหลายสมัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงไม่ส่งประกวด ชนิดของบั้งไฟ บั้งไฟมี ๖ ชนิด ๑. บั้งไฟประเนียง ๒. บั้งไฟหมื่น ๓. บั้งไฟเล็ก ๔. บั้งไฟแสน ๕. บั้งไฟจิ๋ว ๖. บั้งไฟล้าน การทำบั้งไฟ (สำหรับจุด) บั้งไฟหมื่น อุปกรณ์การทำบั้งไฟหมื่น ประกอบด้วย ๑. ไม้ฉำฉา ( ต้นก้ามปู) ๒. เหล็ก ๓. ดินประสิว ๔. เลื่อย ๕. ไม้ไผ่ ๖. ภาชนะที่เป็นโลหะ วิธีทำ ๑. นำไม้ฉำฉามาเผาให้เป็นถ่าน ๒. นำดินประสิวมาผสมกับถ่านในภาชนะที่เตรียมไว้แล้วตำให้ละเอียด ๓. ตัดไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ ๔. นำดินประสิวมาอัดกับไม้ไผ่ให้แน่นที่สุด ๕. นำเหล็กปรายแหลมเจาะตรงกลางที่เราอัดดินประสิวให้ทะลุ ๖. ตัดไม้ไผ่ลำเล็กเผาไฟไห้แห้งแล้วดัดให้ตรงๆ นำมาติดเป็นหางบั้งไฟ บั้งไฟเอ้ (บังไฟที่ตกแต่งให้สวยงาม) อุปกรณ์การทำบั้งไฟเอ้ (บั้งไฟที่เข้าร่วมประกวด) ๑. ไม้งิ้ว ๒. ไม้ไผ่ ๓. สีน้ำ ๔. เลื่อยตัดไม้ ๕. กระดาษแก้วและกระต่างๆ ๖. โฟม ๗. มีดแกะสลัก ๘. ไม้ฉำฉา วิธีทำ ๑. ตัดต้นงิ้วมาตัดตามขนาดที่ต้องการและเหลาให้กลม ๒. นำไม้ไผ่ลำเล็กๆมาตัดตามขนาดที่ต้องการ และนำไปมัดล้อมกับต้นงิ้วที่เหลาเตรียมไว้ เป็นตัว พญานาค ๓. นำไม้ฉำฉามาแกะสลักเพื่อทำเป็นหัวพญานาค ทาสีหัวพญานาคให้สวยงาม ๔. นำหัวพญานาคและตัวพญานาคมาต่อกัน ๕. นำโฟมมาแกะสลักเพื่อทำเป็นครีบพญานาค ๖. ตกแต่งครีบ ลำตัว ด้วยกระดาษเป็นลายพญานาคให้สวยงาม ช่างทำบั้งไฟเอ้ ๑. นาย บุญเลิศ ศรีสุข ๕. นาย อุดม ศาสตร์นอก ๒. นาย ดี ยินดี ๖. นาย ทองใบ ทองวันชา ๓. ไพบุญ ประชารุง ๗. นาย คำกรอง ดีสม ๔. นาย สมาน สุปัตติ ๘. นาย จีรวัตร หลายภา หมู่ที่ ๑๐ บ้านบึงพรานอบ ผู้ที่ให้ข้อมูลนายมานะ คงเทศ อายุ ๕๕ ปี อาชีพ ค้าขาย ที่อยู่ ๑๑๖ หมู่ ๑๐ ต.ประชาสุขสันต์ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ๖๒๑๗๐ ขนาดของบั้งไฟในปัจจุบัน มี ๓ ขนาด คือ ๑. บั้งไฟขนาดเล็ก บรรจุดินประสิวไม่เกิน ๑๒ กิโลกรัม ๒. บั้งไฟขนาดกลาง เรียกว่า บั้งไฟหมื่น ใช้ดินประสิวตั้งแต่ ๑๒ กิโลกรัมขึ้นไป ๓. บั้งไฟขนาดใหญ่ เรียกว่า บั้งไฟแสน บรรจุดินประสิว ๑๒๐ กิโลกรัม บั้งไฟที่ชาวตำบลประชาสุขสันต์ใช้ในจุดบั้งไฟมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความยากง่าย ดินที่บรรจุและ ขนาดของบั้งไฟในการทำบั้งไฟแต่ที่ตำบลประชาสุขสันต์ทำเพียง ๓ ชนิด คือ ๑. บั้งไฟหมื่น บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดกลาง ดินปืนหนักระหว่าง 12-20 กิโลกรัม ขนาด กระบอกกว้าง ๓.๕-๕ นิ้ว ยาวประมาณ ๑๔๐ ซนติเมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๑๘๐ กิโลเมตรทำด้วยกระบอกไม้ไย่กระบอกเหล็ก และกระบอกพลาสติก (ท่อพีวีซี) ๒. บั้งไฟแสน บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก ๑๒๐ กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ ทำยากที่สุด จะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟ จะต้องพิธีกรรมบวงสวรให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟเสียก่อน จึงจะลงมือทำ เมื่อตกแตงบั้งไฟเสร็จแล้วเรียบร้อย จะมีการประกอบบั้งไฟยาวสั้นตามขนาดเสร็จแล้ว ก็มีการ ตกแต่งและประดับประดาบั้งไฟ ๓. บั้งไฟตะไล บั้งไฟชนิดนี้ คือ บั้งไฟจินาย ขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ ๙-๑๒ นิ้วรูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็นวงกลม ครอบหัวท้ายบั้งไฟ เมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าจะพุ่งไปทางขวาง พญาแถนกับความเป็นมาของบั้งไฟ จากการสัมภาษณ์ อ.บ.ต.มานะ คงเทพ ทำให้ทราบความเป็นมาของการเกิดงานมหกรรมบุญบั้งไฟตำบลประชาสุขสันต์ เกิดความเชื่อเรื่อง เกี่ยวกับเทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่สามารถ บันดารดลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลได้ ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับพญาแถน เพราะเนื่องจากมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา คือ มีเมืองหนึ่งชื่อว่า ธีตานคร ของท้าวพญาขอมเกิดความแห้งแล้งมาก ท่านจึงป่าวประกาศให้เมืองต่างๆ คิดทำบั้งไฟมาแข่งขันกันเพื่อเป็นการส่งสัญญาณบอกเทพเจ้าให้ส่งฝนลงมาตกที่เมืองธีตานคร บั้งไฟของใครจุดได้สูงสุดจะเป็นผู้ชนะ และจะได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาชื่อ นางไอ่ ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าท้าวผาแดงเป็นผู้ชนะเลิศ เมื่อพญาขอมสิ้นพระชนม์ ท้าวผาแดง ก็ได้ขึ้นครองเมืองสืบต่อมาด้วยความผาสุก กล่าวถึงภังคี บุตรพญานาค เคยเป็นคู่ครองของนางไอ่ในชาติปางก่อน ยังมีความอาวรณ์ถึงนางไอ่อยู่ จึงได้แปลงกายมาเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่เห็นเมื่อนางไอ่เห็นก็เกิดความอยากได้ กระรอกเผือกตันนั้นเป็นอย่างมาก นางได้สั่งทหารให้ช่วยกันจับกระรอกเผือก บังเอิญทหารยิงธนูถูกกระรอกเผือกถึงแก่ความตาย ก่อนตายภังคีได้อธิฐานให้ร่างกายของตนใหญ่โต แม้คนจะเชือดเนื้อไปกินมากมายอย่างไรก็อย่าให้หมด ใครกินเนื้อตนจงถึงแก่ชีวิตพร้อมกับให้+แผ่นดินถล่มเมืองธีตานครจมลงหายไปจนกลายเป็นหนอง ชื่อว่า หนองหาน ท้าวผาแดงและนางไอ่พยายามขี่ม้าหนีไปแต่ไม่รอดได้เสียชีวิตคราวนี้ด้วย จากผลแห่งกรรม ดีที่เคยสร้างไว้ท้าวผาแดง ได้ไปจุติเป็นเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ ชื่อว่า "พญาแถน"และเหตุที่ชาวบ้านตำบลประชาสุขสันต์ จัดงานมหกรรมบุญบั้งไฟตำบลประชาสุขสันต์ก็เพื่อเป็นการบูชาพญาแถนนั่นเอง การจุดบั้งไฟจะจุดในวันที่ ๒ ของการจัดงานและในปีนี้จัดที่โรงเรียนบ้านประชาสุขสันต์สถานที่จุดบั้งไฟจุดที่สามแยกเสือดำเป็นการประกวดบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านถ้าบั้งบั้งไฟของหมู่บ้านใดจุดได้สูงและอยู่ได้นานที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ ถ้าบั้งไฟหมู่บ้านใดจุดไม่ขึ้นหรือแตกก็จะถูกคู่แข่งจับลงโคลน ซึ่งเป็น ประเพณีที่สนุกสนานสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านเป็นประเพณีที่สีบทอดต่อกันมาและปฏิบัติกันมาทุกปี บุคคลอ้างอิง นายสุดใจ หล้าหาญ กำนันตำบลประชาสุขสันต์ และหนังสือประเพณี พิธีกรรม และความเชื่ออำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โดยสภาวัฒนธรรมอำเภอลานกระบือ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร