ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 55590
ภูมิปัญญาด้านการเป่าขลุ่ยอำเภอเสริมงาม
เสนอโดย admin group วันที่ 11 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย วันที่ 21 เมษายน 2564
จังหวัด :
1 796
รายละเอียด

๒.๑ ชื่อข้อมูลภูมิปัญญา ด้านศิลปะการแสดงและดนตรีพื้นบ้าน(เป่าขลุ่ย) ๒.๒ ความรู้ความสามารถเป่าขลุ่ย๒.๓ วัสดุ/วัตถุดิบ/สื่อ/อุปกรณ์สำหรับการผลิตผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น -ไม้ไผ่รวก -นำกาบมะพร้าว -อิฐมอญที่ป่นละเอียด -น้ำมันหมู หรือน้ำมันพืช -กะทะ -ตะกั่วขั้นตอนการทำขลุ่ย๑. เลือกไม้ไผ่รวกที่มีลำตรง ไม่คดงอ มาตัดเป็นปล้องๆ โดยเหลือนิดหนึ่ง คัดเลือกขนาดตามชนิดของขลุ่ย ๒. นำไม้ไผ่รวกที่ตัดแล้วไปตากแดด จนไม้เปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีเหลือง ซึ่งแสดงว่าไม้ไผ่รวกแห้งสนิทพร้อมที่จะนำมาทำขลุ่ย ตากแดดประมาณ ๗-๑๐ วัน ๓. นำกาบมะพร้าวชุบน้ำแตะอิฐมอญที่ป่นละเอียด ขัดไม้รวกให้ขึ้นมันเป็นเงาวาว อาจจะใช้ทรายขัดผิวไม้ไผ่รวกก่อนจะขัดด้วยอิฐมอญก็ได้ ๔. ใช้น้ำมันหมู หรือน้ำมันพืช ทาผิวไม้ไผ่รวกให้ทั่ว เพื่อให้ตะกั่วที่ร้อนตัดผิวไม้รวกเวลาเท ต่อจากนั้นเอาไม้สอด จับขลุ่ยพาดปากกะทะ ซึ่งในกะทะมีตะกั่วหลอมละลายบนเตาไฟ ใช้ตะหลิวตักตะกั่วที่หลอมเหลวราดบนไม้ไผ่รวก จะเกิดลวดลายงาม เรียกว่า เทลาย ๕. เมื่อได้ลวดลายตามต้องการแล้ว นำขลุ่ยไปวัดสัดส่วน ๖. เจาะรูตามสัดส่วน โดยเอาสว่านเจาะนำรู แล้วเอาเหล็กแหลมเผาไฟจนแดง ตามรูที่ใช้สว่านเจาะนำไว้แล้วและเจาะทะลุปล้องข้อไม้ไผ่รวกด้วย ๗. เอามีดตอกแกะดากปากขลุ่ย ไม้ดาก คือ ไม้สัก เพราะว่าเป็นไม้ที่เนื้อไม่แข็ง ง่ายต่อการแกะ ๘. ทำดากปากขลุ่ย อุดปากขลุ่ย โดยให้มีรูสำหรับลมผ่านเวลาเป่า ๙. เลื่อยให้ดากเสมอกับปลายขลุ่ย ๑๐. ใช้มีดหรือเหล็กปลายแหลม เจาะปากนกแก้ว ทำไม้ไผ่รวกเป็นรูปสี่เหลี่ยมใต้ดากปากขลุ่ยประมาณ หนึ่งนิ้วเศษ เราเรียกรูนี้ว่ารูปากนกแก้ว๑๑. ใช้ข่นเป็นชิ้นเล็กๆ กรอกเข้าไปทางด้านปล้อง ที่ตรงข้ามกับดากปากขลุ่ยพอประมาณ กะพอว่าเมื่อขี้ผึ้งละลายจะสามารถอุดรูรั่วของลมเป่าที่ดากปากขลุ่ยได้ ๑๒. ใช้เหล็กเจาะเผาไฟ แทงเข้าทางปล้องไปจนถึงดากปากขลุ่ย ความร้อนของเหล็ก จะทำให้ขี้ผึ้งที่กรอกเข้าไป ก่อนหน้านั้น หลอมละลายเข้าตามรอยรั่วต่างๆ ๑๓. เมื่อขี้ผึ้งเย็นลงและแข็งตัว ใช้เหล็กแหย่ขี้ผึ้งที่อุดรูสำหรับให้ลมผ่าน ตรงดากปากขลุ่ยออกให้หมด ๒.๔ วิธีการถ่ายทอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น - ถ่ายทอดให้เด็กและผู้ที่สนใจในหมู่บ้านและในกลุ่ม โดยการบรรยายและสาธิตวิธีการเป่าขลุ่ย - ถ่ายทอดที่ชมรมผู้สูงอายุบ้านท่าโป่ง ๒.๕ ขั้นตอนการถ่ายทอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น -การวางท่าจับขลุ่ยที่ถูกต้องนั้น ให้นั่งเหมือนกับการนั่งจับซึงหรือสะล้อนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมที่จะใช้เป่าผ่านออกมาได้สะดวก ในสมัยโบราณจะจับเล่มขลุ่ย (เลาขลุ่ย) ด้วยการเอามือขวาไว้ข้างบน มือซ้ายไว้ข้างล่าง แต่ไม่มีกฎตายตัวที่แน่นอน มาในสมัยนี้นั้นจะจับอย่างไรก็ได้แล้วแต่ความถนัดของผู้ฝึกสำหรับขลุ่ยหรือปี่ของทางภาคเหนือนั้นจะจับโดยเอามือซ้ายอยู่บนมือขวาอยู่ล่าง ในเนื้อหานี้ให้นักเรียนถือเลาขลุ่ยด้วยมือซ้าย โดยวางมือซ้ายอยู่ด้านบน ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางปิดรูนับเสียงด้านบนและใช้นิ้วหัวแม่มือประคองขลุ่ยไว้ด้านล่าง (ขลุ่ยพื้นเมืองไม่มีรูนิ้วค้ำ)ส่วนมือขวาวางจับเลาขลุ่ยด้านล่าง ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย(ปัจจุบันนิยมใช้ขลุ่ยหลิบของทางภาคกลางแทน)วิธีการฝึกขลุ่ยการใช้ลม การฝึกให้นั่งเหมือนกับการฝึกสะล้อ ซอ ซึง เอามือซ้ายไว้ด้านบนปิดรูที่ 1 2 3 ด้วยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย การใช้ลมเป่าขลุ่ยนั้นเป็นลมที่ผ่านมาทางลำคอ แล้วบังคับด้วยลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปากบังคับลมให้เข้าไปในตัวขลุ่ย ลมที่ใช้เป่ากันโดยทั่วไปคือ - ลมหนัก หมายถึงเป่าแรงๆ เพื่อต้องการให้ได้เสียงสูง - ลมเบา หมายถึง เป่าเบาๆ เพื่อต้องการให้ได้เสียงต่ำ - ลมโหยหวน เป็นการใช้ลมและนิ้วบังคับเสียงขลุ่ยให้ต่อเนื่องกัน จากเสียงต่ำไปหาเสียงหรือจากเสียงสูงทอดลงมาหาเสียงต่ำ ลมกระพุ้งแก้ม ใช้ตอนระบายลม โดยการใช้กระพุ้งแก้มบีบลมออกมา ให้เข้าไปในตัวขลุ่ยพร้อมกับหายใจเข้าปอด ลมครั่น หมายถึงการเป่าหยุด เป่าหยุด เป็นระยะ ๆ สั้นบ้างยาวบ้าง เพื่อต้องการอารมณ์เพลง ๒.๖ ประโยชน์/คุณค่าของภูมิปัญญาและของผลงาน - เป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านล้านนา ไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป - ทำเป็นอาชีพเสริม

สถานที่ตั้ง
นายวัน ยอดปะนันท์
เลขที่ 84 หมู่ที่/หมู่บ้าน 10 ซอย - ถนน -
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่