ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 43' 49.552"
6.7304311
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 5' 46.6832"
101.0963009
เลขที่ : 56017
กนกลายไทย
เสนอโดย admin group วันที่ 11 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 27 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ปัตตานี
0 1416
รายละเอียด

๑. ชื่อข้อมูล กนกลายไทย

๒. ประวัติการแกะกนกลายไทย ลายกระหนก หรือลายกนกเป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของลายไทยในงานจิตรกรรมไทยมีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง(สามเหลี่ยมมุมฉาก อาจมีตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ต้นแบบของลายกระหนกมาจากหางไหลซึ่งเป็นลายที่มาจากลักษณะของเปลวไฟ ส่วนลายไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความเด่นชัดทางศิลปะสืบทอดมายาวนานอย่างมีที่มาของการสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดจากสังเกตความเป็นไปต่าง ๆ ทางธรรมชาติแล้วถ่ายทอดเป็นงานวาดเส้นที่ลงตัว สวยงาม นำมาใช้ตกแต่งทั้งงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานประดับในพิธีการต่าง ๆ ลายไทยจะเป็นลวดลายที่เป็นมงคล เพราะส่วนใหญ่จะเห็นประดับตกแต่งอยู่ในวัด และพระราชวัง ซึ่งเป็นสิ่งชาวไทยให้ความเคารพ ศรัทธา และเป็นที่ยกย่องว่าสวยงาม และมีคุณค่า

๒. ประโยชน์/หน้าที่ใช้สอย - สามารถนำไปตกแต่งเรือพระให้มีความสวยงามได้ - อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้อยู่จนชั่วลูก ชั่วหลาน

๓. อุปกรณ์การแกะกนกลายไทย
๓.๑ คัตเตอร์
๓.๒ ยางลบ
๓.๓ ดินสอ
๓.๔ กระดาษ
๓.๕ ไม้บรรทัด
๓.๖ กรรไกร
๓.๗ มีดขุด

๔. ชื่อลาย
๑. ลายบัวหงาย บัวคว่ำ
๒. ลายหน้ากระดาน
๓. ลายยอด
๔. ลายอกไก่
๕. ลายภู่ห้อย

๕. ขั้นตอนกระบวนการผลิต
๕.๑ วัดขนาดและพับกระดาษสำหรับวาดลาย
๕.๒ วาดลายกนกลายไทย (ลายอกไก่)
๕.๓ แกะลายกนกลายไทย (ลายอกไก่) แกะตามลวดลายที่วาดไว้
๕.๔ สอดสีกนกลายไทยโดยใช้กระดาษสีอื่นมาติดหลังกระดาษที่แกะลายกนกแล้ว

คำสำคัญ
กนกลายไทย
สถานที่ตั้ง
นายแคล้ว มณีพรหม
เลขที่ 26/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล โคกโพธิ์ อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
ถนน เดชา
ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี
โทรศัพท์ ๐ ๗๓๓๒ ๓๑๙๕-๗ โทรสาร ๐ ๗๓๓๒ ๓๑๙๗
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่