ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 19° 16' 53.6009"
19.2815558
Longitude : E 97° 57' 27.8982"
97.9577495
No. : 72164
วัดก้ำก่อ
Province : Mae Hong Son
1 393
Description

วัดก้ำก่อ ( เป็นภาษาไต แปลว่า ดอกบุญนาค ) เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอน เดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงพระธาตุดอยกองมูทางทิศใต้ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งทางทิศตะวันออกเพื่อให้ใกล้แหล่งชุมชน และเพื่อความสะดวกสบายในการไปมาหาสู่มากกว่าเดิม เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นสวนกล้วยของเจ้าหลวงเฮินต๊กซึ่งเป็น ผู้กำกับการตำรวจสมัยนั้น ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพระนอน วัดก้ำก่อถูกสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม วัดก้ำก่อมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ คือมีการสร้างวัดโดยฝีมือของช่างชาวไทใหญ่ที่ได้เข้ามาอาศัยและได้ศรัทธาในวัดนี้ วัดก้ำก่อมีสิ่งปลูกสร้างที่โดดเด่น คือมีซุ้มประตูทางเข้าไปสู่ศาลาการเปรียญ หรือที่เรียกว่า “ส่างหว่าง” เป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของอาคารทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดแม่ฮ่องสอนตามแบบสถาปัตยกรรมไต(ไทใหญ่) จะมีเฉพาะอาคารวัดเท่านั้นไม่มีในอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านทั่ว ๆไป ในสมัยก่อนเมื่อจะเข้าไปในวัดชาวบ้านจะนิยมถอดรองเท้าไว้แล้วเดินเข้าวัดทาง “ส่างหว่าง” เนื่องจากเชื่อกันว่าถ้าสวมรองเท้าเข้าไปในวัดนอกจากจะไม่เคารพสถานที่แล้ว เวลาเดินออกจากวัดนั้นยังจะมีดินมีทรายติดรองเท้าไปด้วยถือว่าเป็นบาปมาก และเพื่อไม่ให้นำสิ่งสกปรก สิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลายเข้าไปในวัดและในขณะเดียวกันก็จะไม่เอาอะไรออกจากวัดไป ดังนั้นเมื่อเรายืมสิ่งของจากวัดเช่น ถ้วย จาน ฯลฯ ของวัดไปใช้ในงานบุญต่าง ๆแล้ว เวลาส่งคืนวัดหากสิ่งของใดขาดไปต้องรีบเอาสิ่งนั้นในบ้านมาใช้แทนหรือไม่ก็ซื้อใหม่มาใช้แทนทันที โดยจะถือว่าสิ่งของของตนไปอยู่ในวัดดีกว่าสิ่งของในวัดมาอยู่ในบ้านของตน ส่างหว่างเป็นสถาปัตยกรรมไต (ไทใหญ่) ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔โดยนายส่วยจิ่ง นางยุ้น ตรีทอง เป็นเจ้าศรัทธาสร้างถวาย

สิ่งสำคัญภายในวัด

๑. พระประธาน พระสังฆราชองค์ปัจจุบันเป็นผู้ประทานให้วัด

๒. พระมัณฑะเลย์ ย้ายมาจากอุโบสถหลังวิหารวัดพระนอน จเรหม่องเจ้าศรัทธาและได้นำมาประดิษฐ์ไว้ที่วัดก้ำก่อเมื่อ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยมีหลวงพ่อกุงหม่า (กมล)กุสโลภิกขุและพระมหารักษ์ สุภิญโญ ได้อัญเชิญนำมาประดิษฐ์ไว้ ณ วัดก้ำก่อ รวมอายุประมาณ ๘๐ ปี

๓. พระสาน (อายุประมาณ ๑๑๔ ปี) ศรัทธาแม่เฒ่าจางย้อย เช่าบูชามาจากมัณฑะเลย์ประเทศพม่านำมาถวายเป็นองค์ประธาน ณ วัดก้ำก่อ ตั้งแต่เริ่มสร้างวัด

๔. พระหินอ่อนทรงเครื่อง ศรัทธา คุณบุญชู คุณปริศนา ตรีทอง นำมาจากระเทศพม่า เพื่อถวายให้ประดิษฐ์อยู่ที่วัดก้ำก่อเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓

๕. ธรรมาสน์เก่าแก่ ศรัทธาพ่อเฒ่าจองติยะ นางโหย่ง ถวายเมื่อเริ่มสร้างวัด รวมอายุประมาณ ๑๑๔ ปี

๖. พระหินดำ เป็นศิลปกรรมมาจากอังวะ (เอว่า) เช่ามาจากร้านขายของเก่าบริสุทธิ์แอนติก อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙

๗. โบสถ์ สร้างขึ้นเมื่อ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ใช้ในการประกอบศาสนพิธีของคณะสงฆ์ เป็นโบสถ์ที่ผสมผสานศิลปแบบไทใหญ่ และพม่า

๘. ศาลาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ขนาดบรรจุ ผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่น้อยกว่าครั้งละ ๑๐๐ คน สร้างเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๑๙

๙. ศาลาสุวรรณสมบูรณ์ สร้างขึ้นเมื่อ ๕ ธันวาคม ๑๕๑๖ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งใช้เก็บศพ และสวดพระอภิธรรม

๑๐. โรงครัว สร้างเมื่อ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๙ ใช้ในการทำอาหารเพื่อนำมาเลี้ยงในงานหรือพิธีต่าง ๆ

๑๑. กุฏิรับรองหลังใหญ่ ใช้บรรจุผู้มาเยือน และพักอาศัยได้ครั้งละไม้น้อยกว่า ๕๐ คน

๑๒. กุฏิรับรองหลังเล็ก ใช้บรรจุผู้มาเยือน และพักอาศัย

๑๓. กุฏิพระครูปัญญาวราภรณ์ ลักษณะเป็นตึกแถว มีห้องนอนห้องน้ำห้องส้วมเป็นสัดเป็นส่วน สร้างเมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๑

๑๔. กุฏิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ท่านเคยเสด็จมาพำนักและนำพระประธาน ขนาดหน้าตัก ๖๐ นิ้ว ปาง “มารวิชัย” ไปประธานให้เป็นมิ่งขวัญแก่วัด เมื่อ ๑๔ พ.ย. ๒๕๒๐ และ ๑๔ ก.พ. ๒๕๓๒

๑๕. ศาลาหลวงปู่โต เป็นที่ประดิษฐ์สถานรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) และรูปเหมือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช สร้างเมื่อ ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๒

Location
วัดก้ำก่อ
Road ผดุงม่วยต่อ
Tambon จองคำ Amphoe Mueang Mae Hong Son Province Mae Hong Son
Details of access
Reference นางสุชาธิณี สมนาค
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน Email wt_maehongson@hotmail.com
Tambon จองคำ Amphoe Mueang Mae Hong Son Province Mae Hong Son ZIP code 58000
Tel. 053-614417 Fax. 053-614303
Website http://www.maehongsonculture.com                            
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่