ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงของประเทศไทย
เพลงร้องพื้นบ้าน ระบำคล้องช้างบ้านนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรประวัติความเป็นมาระบำคล้องช้าง การละเล่นปรากฏในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งก่อนหน้านั้นการละเล่นนี้ ก็อาจจะมีการเล่นกัน คุณพ่อ คุณแม่ ของป้าลำภูเอง ก็ได้เคยเล่นที่ลานวัดพระบรมธาตุ ทหารญี่ปุ่นที่ได้มาปฏิบัติการในพื้นที่ได้มาดูและร่วมเล่นกับพวกชาวบ้านนครชุม ด้วยการแสดงเพลงร้องพื้นบ้านนี้ ได้แสดงสืบทอดต่อ ๆ กันมา และได้จางหายไปบางช่วงและได้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ สมัยนายเชาวัศ สุลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ต้องการที่จะฟื้นฟูศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ได้สั่งการให้ผู้ใหญ่บ้านสืบค้นศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ที่เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่ผู้ใหญ่บุญช่วย ชัยพรอุปถัมภ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลนครชุม ก็ได้ทำการสืบค้นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของบ้านนครชุม ซึ่งปรากฏว่าพบศิลปะการแสดงหลายอย่าง ได้แก่ ระบำคล้องช้าง ลิเกป่า รำแม่ศรี
เพลงพวงมาลัย ฯลฯ ก็ได้รวมกลุ่มผู้ที่เคยเห็นการแสดงชนิดนี้ ซึ่งตอนนั้นได้รวมกลุ่มได้พ่อเพลง แม่เพลง ได้ ๒๔ คน จุดมุ่งหมายของการละเล่นการละเล่นเพลงร้องพื้นบ้าน “ระบำคล้องช้าง” นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนามรื่นเริงในงานต่างๆ สมัยก่อนนิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน แต่ต่อมาจะนิยมเล่นกันในงานรื่นเริงทั่ว ๆ ไปลักษณะของเพลงร้องพื้นบ้าน “ระบำคล้องช้าง” จะมีผู้ร้อง จำนวน ๓-๔ คน ชายหรือหญิงก็ได้ ร้องเป็นจังหวะประสานกับเครื่องดนตรี ได้แก่ กลองโทน ส่วนการรำประกอบเครื่องดนตรีนั้น รำเป็นคู่ ๕ คู่ ขึ้นไป ตั้งแถว
ห่างกันประมาณ ๓ เมตร โดยฝ่ายชายมีผ้าขาวม้า รำมาคล้องฝ่ายหญิง ทีละคู่ รำกันด้วยลีลาสนุกสนานรื่นเริง ซึ่งท่ารำมิได้กำหนดว่าเป็นท่าอะไรการแต่งกายของคณะเพลงร้องพื้นบ้าน ระบำคล้องช้างชาย นุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อลายดอก ผ้าขาวม้าคาดเอวหญิง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแขนสี่ส่วนเนื้อหาของเพลงร้องพื้นบ้าน “ระบำคล้องช้าง” เดิมเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองที่มีการทำป่าไม้มากที่สุด พาหนะสำคัญในการทำไม้คือ ช้าง ประชาชนนิยมไปคล้องช้างมาใช้งานลากไม้ในป่า ประกอบกับป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จึงนำช้างไปผูกไว้กับต้นไม้ต่างๆ เช่นต้นยอ ต้นทอง ต้นรัก เนื้อเพลงเดิมคงมีต้นไม้ต่างๆ อีกมากมายแต่ตกทอดมาเพียง ๓ ต้นต้นยอ เป็นต้นไม้ที่ชาวกำแพงเพชรนิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อเป็นคตินิยมให้พูดเพราะรู้จักให้เกียรติและยกย่องผู้อื่น จะทำภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงของประเทศไทยต้นทอง ชื่อเต็มว่าต้นทองกวาว ต้นใหญ่ดอกสีแดงขาว บ้างเรียกทองธรรมชาติเป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกในภาคเหนือมาก ที่
จังหวัดกำแพงเพชรจะมีมากที่สุด ออกดอกในฤดูหนาว สีแดงสดทั้งต้นงดงามมาก เป็นค่านิยมที่เป็นมงคลนาม จึงนำมาเล่นในเพลงคล้องช้างต้นรัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ใช้ยางสำหรับลงพื้น หรือทาสิ่งต่างๆ ยางเรียกว่าน้ำรัก ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรมีต้นรักจำนวนมาก เป็นค่านิยมที่เป็นมงคลนาม เช่นกัน จึงนำมาไว้ในเพลงระบำคล้องช้างเนื้อร้องของเพลงจะเป็นเพลงเก่าที่ร้องสืบทอดกันมาในอดีตไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นคนแต่งโดยมีเนื้อร้อง ดังนี้
คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง คล้องเถิดหนาแม่คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องไอ้ตัวงาม
เอยคล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้วหวา ผูกไว้ที่ต้นยอ ช้างเถื่อนเข้ามาเกยมาเลยเอาช้างต่อต้นยอเล็กนัก มันก็หักลงเอย คล้องเถิดหนาแม่เอย คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องไอ้ตัวงามเอยคล้องช้างมาได้ละเหวย คล้องช้างมาได้ละหวาผูกไว้ที่ต้นทอง ใครเป็นเจ้าของ รีบมาจองเลย
เอยคล้องเถิดหนาพ่อคล้อง คล้องเถิดหนาแม่คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องไอ้ตัวงามเอยคล้องช้างมาได้ละเหวย คล้องช้างมาได้ละหวา ผูกไว้ที่ต้นรัก พี่มาช้านัก อกต้องหักลงเอย (ซ้ำทั้งหมด ๓ ครั้ง)
การไหว้ครูดนตรี/ไหว้ครูเพลงในการร้องเพลงร้องพื้นบ้าน ระบำคล้องช้างก่อนการแสดงหรือเล่น สิ่งสำคัญที่ผู้เล่นจะต้องกระทำก่อนเริ่มการแสดง คือ การ
ไหว้ครู การละเล่นนี้จะไหว้ครูคนตรี และไหว้ครูเพลงไปพร้อมกันการไหว้ครูนี้ก็เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ ที่ได้อบรมสั่งสอน เพื่อเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจแก่ผู้เล่น องค์ประกอบของการไหว้ครู ประกอบด้วยเครื่องไหว้ครู
๑. เหล้า ๑ ขวด
๒. ดอกไม้ ๓ สี
ดอกดาวเรือง ดอกบานชื่น ดอกรัก
หรือดอกไม้มงคล
๓. ธูป ๙ ดอก
๔. เทียน ๑ เล่ม
ภาพเครื่องไหว้ครู ยกครู
๕. เงิน ๑๒ บาท
๖. บุหรี่ ๑ ซอง
๗. น้ำ ๑ แก้ว
๘. เมี่ยง ๒ อม
ขั้นตอนการไหว้ครูดนตรี/ครูเพลง
ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงของประเทศไทย