สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธรอำนาจหน้าที่ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของกระทรวงในส่วนภูมิภาค รวมทั้งประสานและสนับสนุนงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในเขตพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
(2) ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในเขตพื้นที่จังหวัด
(3) ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมโดยประสานงานหรือร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน
(4) จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในเขตพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
(5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ และสภาวัฒนธรรมตำบล รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่ดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในเขตพื้นที่จังหวัด
(6) ปฏิบัติงานและให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานในเขตพื้นที่จังหวัด รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ภารกิจของสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธรแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหรือฝ่ายงาน ดังนี้
1.ฝ่ายบริหารทั่วไปมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) บริหารงานทั่วไป
2) บริหารงานบุคคลและพัฒนาบุคลากร
3) งานการเงินและบัญชี
4) งานพัสดุและอาคารสถานที่
5) ดําเนินการควบคุมภายใน
6) ดําเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
7) จัดสวัสดิการและนันทนาการ
8) รับเรื่องด้านกฎหมาย และวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์
9) ดําเนินการพัฒนาระบบบริหารองค์กร
10) ดําเนินการตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
11) ดําเนินการจัดทําเกณฑ์ตัวชี้วัดผลการฏิบัติงานรายบุคคล
12) ประสานราชการทั่วไปและปฏิบัติงานที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
13) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์งานทางวิชาการเพื่อพัฒนางานด้านวัฒนธรรมของจังหวัด
2) จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่จังหวัด /กลุ่มจังหวัด
3) จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนหรือสนับสนุนการ การดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) บริหารงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์
5) จัดทำแผนงานตรวจ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านศาสนา
6) จัดทำแผนการตรวจ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้าน ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของจังหวัด
7) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผลตามแผนงาน/โครงการ
8) สนับสนุนการตรวจราชการในพื้นที่
9) จัดทำตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของจังหวัด
10) บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด
11) จัดทำผลสำรวจความคิดเห็น (Poll) และเฝ้าระวังรายงานสถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่
12) แก้ไขและป้องกันสถานการณ์ความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมร่วมกับทุกภาคส่วน
13) พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด
14) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของจังหวัด
15) สร้างและพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
16) ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551
17) ดำเนินงานตามนโยบายพิเศษ นโยบายเร่งด่วน
18) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
3.กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์งานทางวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา
2) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในชุมชน
3) ส่งเสริม สนับสนุน ธํารงรักษาสืบทอดการดําเนินการเกี่ยวกับงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล งานรัฐพิธีและงาน ศาสนพิธีในเขตพื้นที่จังหวัด
4) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา เพื่อดําเนินการด้านคุณธรรมจริยธรรมของทุกศาสนาและงานศาสนิกสัมพันธ์
5) รณรงค์ส่งเสริม พัฒนาและสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม
6) ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติให้กับผู้มีผลงานดีเด่นด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม
7) สร้างและพัฒนาความร่วมมือของเครือข่ายทางศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ ธํารงรักษา อนุรักษ์สืบสานศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม ในระดับท้องถิ่น
8) ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการดําเนินงานด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม
9) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดําเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมทุกระดับในเขตพื้นที่
10) ดําเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกฎหมายว่าด้วยจดแจ้งการพิมพ์กฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นต้น
11) ส่งเสริม สนับสนุนการดําเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
12) ส่งเสริม สนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านวัฒนธรรม
13) บูรณาการงานศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องในจังหวัด กลุ่มจังหวัด
14) ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมกับประเทศเป้าหมายในระดับท้องถิ่น
15) ส่งเสริม สนับสนุนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
16) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดําเนินงานของสภาวัฒนธรรมทุกระดับ
17) ส่งเสริม สนับสนุนงานจดหมายเหตุในระดับท้องถิ่น
18) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
4.กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ปฏิบัติงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานตามหมายรับสั่งจากสํานักพระราชวังในพื้นที่จังหวัด
2) จัดหา จัดเตรียม ดูแล และบํารุงรักษาเครื่องเกียรติยศประกอบศพ และสิ่งของเครื่องใช้พระราชทานที่เกี่ยวข้อง
3) ให้คําปรึกษา แนะนํา เกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน แก่หน่วยงานและบุคคลทั่วไป
4) จัดเก็บข้อมูลและรายงานสถิติการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดทํารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานระดับจังหวัด
5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
5.กลุ่มกิจการพิเศษมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ปฏิบัติงานตามนโยบายพิเศษ นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลหรือกระทรวงวัฒนธรรม มติคณะรัฐมนตรีและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
2) ขับเคลื่อนโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายอบหมาย