ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 3' 53.7624"
14.0649340
Longitude : E 100° 31' 23.7889"
100.5232747
No. : 84211
วัดไก่เตี้ย
Proposed by. ปารีส คงทรัพย์ Date 31 May 2011
Approved by. ปทุมธานี Date 28 March 2012
Province : Pathum Thani
0 4227
Description

วัดไก่เตี้ย

ปัจจุบันเป็นวัดราษฎร์ แด่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาเข้าใจว่าเป็นวัดหลวง จากประวัติวัดไก่เตี้ย ซึ่งทางจังหวัดปทุมธานีรวบรวมมีข้อความดังนี้

วัดไก่เตี้ย ได้สร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแต่ตามประวัติหรือตามคำบอกเล่าของรุ่นเก่าๆ บอกว่าเมื่อครั้งสมัยพระเจ้าเอกาทศรถให้ขุดลัดแม่น้ำอ้อม ตั้งแต่ปากคลองบ้านพร้าวผ่านหน้าวัดไก่เตี้ย ในระหว่างที่ทำการขุดคลองลัดอยู่นั้น วัดไก่เตี้ยนี้ได้สร้างมาก่อนแล้ว จึงเป็นหลักฐานที่พอจะเชื่อถือได้ว่าวัดไก่เตี้ยนี้ต้องสร้างมาก่อนสมัยพระเจ้าเอกาทศรถ แต่จะสร้างมาก่อนเป็นเวลานานเท่าใดนั้นไม่สามารถที่จะสืบทราบได้

ในสมัยก่อน นั้นได้ชื่อว่า "วัดดอนไก่เตี้ย" ตามที่ผู้ใหญ่คนเก่า ๆ เล่าต่อกันมาว่า มี พระอรหันต์ไม่ปรากฏชื่อได้ธุดงค์มาถึง สถานที่แห่งนี้ซึ่งป่าไม้ร่มรื่นและไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านที่สัญจรไปมาเท่าใดนัก ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสม จึงได้พักแรมอยู่ ณ สถานที่นั้น ในระหว่างที่ท่านพักอยู่นั้นได้มีเตี้ยๆ สองตัว มีสีสันสวยงามมากมาปรากฏให้เห็นเป็นอัศจรรย์เป็นอย่างนี้เสมอ นับเป็นเวลานาน ครั้นต่อมาพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น พระองค์ท่านได้เป็นผู้อุปถัมภ์ยกขึ้นเป็นวัดหลวง และได้พระราชทานนามว่า "วัดดอนไก่เตี้ย" ตามที่มีไก่สีสันสวยงามปรากฏให้เห็นเป็นอัศจรรย์ดังกล่าวแล้วต่อมาคำว่า "ดอน" หายไปเป็นเพราะเหตุใดไม่ปรากฏ

หลักฐานที่ว่าเป็นพระอารามหลวงนั้นเพราะพระอุโบสถหลังเก่าได้ทำประตูเข้าอุโบสถ ๓ ทาง เฉพาะประตูกลางนั้นได้สร้างไว้อย่างวิจิตรพิสดารสวยงามมาก เฉพาะที่บานประตูได้เขียนเป็นรูปนารายณ์ลงรักปิดทอง ซุ้มประตูได้ทำเป็นลวดลายที่สวยงามเข้าใจว่าได้สร้างไว้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จผ่านเท่านั้น ส่วนประตูข้างทั้งสองบานนั้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ พระอุโบสถหลังนี้นับว่าสร้างได้สวยงาม เฉพาะที่หน้าโบสถ์แกะเป็นลวดลายลงรักปิดกระจกไว้งามมากแต่บัดนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมได้รื้อและสร้างขึ้นใหม่ แต่เดิมนั้นทางหลังพระอุโบสถยังมีพระฉายอีกหนึ่งหลัง ทางขึ้นพระฉายมีบันได ๑๐ กว่าขั้น สร้างด้วยคอนกรีตขึ้นไปถึงข้างบนมียักษ์หินสองตน สูงประมาณ ๖ ศอกยืนเฝ้าบันไดสองข้าง มีต้นลั่นทม ๒ ต้น ข้างละต้นมีดอกงามและหอมมาก ขึ้นไปข้างบนมีลานกว้าง มีซุ้มประตูก่อด้วยอิฐถือปูนอีก ๓ ช่อง เฉพาะเฉพาะช่องกลางกว้างประมาณ ๘ ศอก สูงประมาณ ๑๐ ศอก ฝาผนังด้านในเขียนเป็นรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ด้านข้างเป็นรูปสาวกข้างละ ๑๐ กว่าองค์ด้านบนของหลังคาสร้างไว้คล้ายยอดประสาทมีซุ้มเล็กๆ หลายซุ้มแต่ละซุ้มเป็นรูปยักษ์รูปเทวดารูปพระนารายณ์ทุกซุ้ม ส่วนด้านหลังมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ก่อด้วย อิฐถือปูน หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออกยาวประมาณ ๑๐ วา มีรูปสาวปั้นด้วยปูนนั่งพนมมือตั้งแต่พระเศียรถึงปลายพระบาทประมาณ ๒๕ องค์ และบัดนี้ได้พังสลายสิ้นสภาพไปแล้ว

ต่อมาในสมัยท่านพระครูอรรถสุนทรเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลสามโคก ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น ๑ หลัง วิหารหลวงพ่อโสธร หอสวดมนต์ได้สร้างกำแพงล้อม พระอุโบสถสร้างกุฏิสงฆ์ ครั้นมาในสมัยพระครูสมุห์วิเชียร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันนี้ ได้เริ่มแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านได้ทำการบูรณปฏิสัง-ขรณ์เสนาสนะสงฆ์ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยกับได้พัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่นได้ทำการสร้างเจดีย์ขึ้นที่หน้าวัด สร้างกุฏิสงฆ์สองชั้น ศาลาท่าน้ำ กับได้ซึ้งหินใหญ่มาถมทำเขื่อนหน้าวัดถึง ๑๓ ลำ ได้ทำการก่อสร้างศาลาการเปรียญ กับได้ส่งเสริมด้านการศึกษาของเด็ก ร่วมมือกับคณะกรรมการศึกษาและประชาชนสร้างอาคารเรียนขึ้นเพื่อให้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะได้เป็นคนดีไปในอนาคต ปูชะนีสถานและปูชนียวัตถุที่ควรแก่การศึกษา คือ

๑.พระประธานในพระอุโบสถ และพระพุทธรูปอีก ๑ องค์ มีหน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอก ทำด้วยหินสีขาวทั้งสององค์ บัดนี้หุ้มปูนลงรักปิดทองเอาไว้เข้าใจว่าจะเป็นสมัยอู่ทองยุคต้น

๒.พระพุทธรูปปางห้างสมุทร ๑ องค์สร้างด้วยไม้โพธิ์ สูงประมาณ ๓ ศอก ประจำอยู่ช่องหน้าบรรณโบสถ์ เป็นพระสมัยอยุธยายุคต้น เป็นที่สักการะบูชาของชาวเรือค้าขายที่ผ่านไปผ่านมา เมื่อมาถึงที่นี่แล้วจะต้องยกมือไหว้สักการะขอน้ำมนต์แทบทุกลำ ในทำนองที่ว่าขอให้ซื้อง่ายขายคล่อง

๓.หลวงพ่อพุทธโสธร รอยพระพุทธบาทจำลอง ตลอดจนโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นสิ่งที่ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

๔.พระอุ้มบาตร สูงประมาณ ๓ ศอก ประดิษฐาน อยู่ที่หอสวดมนต์เป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประชาชนไปสักการะบูชากันเสมอมิได้ขาด

Category
Religious place
Location
วัดไก่เตี้ย
Tambon กระแซง Province Pathum Thani
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
Reference สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
Amphoe Mueang Pathum Thani Province Pathum Thani ZIP code 12000
Tel. 02-5934270
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่