ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 54' 32.1581"
7.9089328
Longitude : E 98° 20' 0.5136"
98.3334760
No. : 86006
ประเพณีการแต่งงานฮกเกี้ยนบาบ๋า
Proposed by. ณุฐาภรณ์ ชัยศรี Date 31 May 2011
Approved by. ภูเก็ต Date 20 June 2012
Province : Phuket
0 1566
Description

พิธีงานแต่งงานของชาวบาบ๋าเป็นพิธีอันดีงามที่บรรพบรุษได้สร้างไว้ที่ ผมจะเสนอนี่เป็นพิธีของทางฝั่งปีนัง หรือ ภูเก็ต (ก่อนปี 2511 ) เพราะที่ภูเก็ตถึงแม้จะมีการจัดงานวิวาท์บาบ๋าขึ้น แต่ก็ได้ย่อพิธีลงบ้างอย่างลงไปแล้ว แต่การมีบ้างพิธี่ที่คล้ายตลึงกัน ภูเก็ตเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้องทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนโภคทรัพย์ที่มีในจังหวัดภูเก็ต จูงใจให้คนต่างชาติต่างภาษา สนใจที่จะเข้ามามีบทบาทในดินแดนแห่งนี้ จนบางครั้งทำให้ภูเก็ตกลายเป็นสมรภูมิเลือด เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนแห่งนี้แต่เพียงผู้เดียว ชาวจีนเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแข็ง ได้เข้ามาครอบงำวัฒนธรรมเดิมและสร้างความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้น ชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓-๔ โดยเข้ามาสร้างตึกดินแบบจีนบริเวณแถวน้ำ บางเหนียว บ้านเรือนแถวกะทู้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยารัษฎานุประดิษฐฯ ได้นำชาวจีนมาจากปีนังเพื่อให้เข้ามาทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต ชาวจีนกลุ่มนี้ได้นำรูปแบบอาคารบ้านเรือนจากปีนังมาสร้างในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวภูเก็ตและชาวใกล้เคียงรู้จักในชื่อของ อาคารแบบชิโนโปรตุกีส นอกจากนี้ชาวจีนกลุ่มนี้ได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง ทำให้เกิดกลุ่มชนกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า พวกบาบ๋า และยอหยา ในภูเก็ต ประเพณีวัฒนธรรมแบบจีนได้เข้ามาเผยแพร่ในภูเก็ตบริเวณบ้านกะทู้ บ้านทุ่งคา ชุมชนในภูเก็ตได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางภาษา การแต่งกาย อาหาร ผสมกับวัฒนธรรมพื้นเมืองจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ประเพณีการแต่งงานที่นำเสนอในวันนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากวัฒนธรรมจีนในภูเก็ตนั่นเอง ถนนถลางย่านธุรกิจเก่าแก่ของชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต ชาวจีนเหล่านี้ส่วนใหญ่อพยพมาจากปีนัง บางครอบครัวมีญาติอยู่ที่ปีนัง ย่านนี้ถือว่าเป็นย่านทางประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประเพณีท้องถิ่น และวัฒนธรรมทางภาษา การแต่งงานแบบจีนโบราณชุดนี้ เป็นที่นิยมของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนในอดีตย้อนหลังไม่ต่ำกว่า ๗๐-๘๐ ปี (ราวประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐) เป็นสมัยที่ชาวจีนมีอิทธิพลมากในเมืองภูเก็ต ประเพณีการแต่งงานของชาวภูเก็ตในยุคนั้นเป็นยุคที่ผู้หญิงเก็บตัวอยู่ในบ้าน ผู้ชายไม่ค่อยได้พบลูกสาวบ้านใดง่าย ๆ การแต่งงานจึงเป็นผ่านคนกลางคือ แม่สื่อ (อึ่มหลาง) ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการพูด โน้มน้าวจิตใจให้เกิดการยอมรับทั้งสองฝ่าย ถ้าเจรจาสำเร็จ "อึ่มหลาง" จะต้องได้รับสมนาคุณเป็นอั้งเปา และขาหมูอย่างดี ๑ ขา วันก่อนแต่งงาน วันก่อนแต่งงานทางบ้านของเจ้าสาวและเจ้าบ่าว จะนำกระดาษแดงที่เขียนอักษรมงคลคู่ หรือ ซังฮี้ ติไว้บริเวณ ปากประตูบ้าน และ ห้องครัว และนำผ้าฉ่ายมาประดับหน้าบ้าน ติดโบว์สีแดงหรือสีชมพูไว้ที่เหนือประตูทุกบ้าน และ ตั๋วเทพเจ้า พิธีเห๋วจี่ซว่อซิวโถ่ (หวีผมเจ้าสาว) พอพระอาทิตย์รับฟ้าทางบ้านเจ้าสาวจะทำพิธีเห๋วจี่ซว่อซิวโถ่ หรือ พิธีหวีผมเจ้าสาว โดยเริ่มจาก ให้พ่อของเจ้าสาวไปดับตะเกี่ยงหรือเทียนที่แท่นบรรพชน และแท่นเทพเจ้า เทพเจ้าครัว ต่อจากนั้นให้เจ้าสาวปล่อยผมและหันหน้าออกทางประตูใหญ่ บ่งบอกถึงการอำลาจากไปจากตระกูลบ้านหลังนี่ จะมีน้องสาวหรือพี่สาวที่ยังไม่ได้แต่งงานเป็นคนนำเชิงเทียนมาให้เจ้าสาวจุด พอเจ้าสาวจุดเสร็จพี่สาวหรือน้องสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนำไฟ่ติดไปจุดตระกูลที่แท่นบูชาที่พ่อเจ้าสาวดับไป การหวีผมต้องใช้ญาติผู้หญิงที่แต่งงาน หรือ แม่เจ้าสาว เป็นคนหวีให้ โดยเจ้าสาวต้องใส่ชุดขาว ในมือเจ้าสาวจะถือถาดในถาดจะมี หวี กรรไกร ไม้บรรทัด ด้ายแดง ปฎิทิน(หรือหนังสือ) กระจก กระดาษแดง ดอกกเข็ม ต้นหอม น้ำตาลกรวด จากนั้นให้ญาติผู้หญิงหวีผมจากบนลงล่าง 5 ครั้ง และจัดทำทรงผมเกล้ากลมๆโปร่งๆ(ภูเก็ตเรียกทรง ชักอีโบ่ย ) และจำนำดอกไม้ทองมีติดที่ผมทั้งสองข้างถ้าผมไม่หลุดออกมาแสดงถึงความบริสุทธิ์ และเจ้านำมงกุฎที่ทำจากทองมาประดับ บางที่ใช้ หลั่นเตป่าย จากนั้นให้เจ้าสาวไปจุดธูปที่แท่นบรรพชน และบอกลาจากตระกูลนี่

Location
สมาคมพารานากัน
Tambon กะทู้ Amphoe Kathu Province Phuket
Details of access
Province Phuket
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่