แอกเดี่ยว
- แอก ทำด้วยไม้สำหรับคล้องทับอยู่ที่ต้นตอหรือบ่าของวัว หรือควาย แอกที่ใช้สำหรับควายหรือวัวตัวเดียวเรียกว่าแอกเดี่ยว ปลายทั้งสองของแอกเดี่ยวจะงอนขึ้นตรงจุดที่งอนขึ้นทั้งสองข้างของแอกใช้สำหรับผูกเชือก เพื่อโยงไปทางด้านข้างทางหลังของควาย ปลายทั้งสองของเชือกจะผูกติดกับคันไถ เมื่อควายเดินต้นคอของควายจะดึงแอกเชือกทั้งสองจะดึงคันไถ ไปตามแรงดึงของควาย แอกเดี่ยวมีสองชนิดคือ
- 1. แอกเดี่ยวทำจากไม้ไผ่ ชาวนาปลูกต้นไผ่ เมื่อไผ่เกิดหน่อสูงขึ้นจากพื้นประมาณ 50 ซม. ชาวนาใช้ไม้ดัดกดให้หน่อไม้งอนไปทางด้านหน้า เมื่อหน่อไม้สูงขึ้นไปทางด้านหน้าก็ใช้ไม้อีกอันหนึ่งดัดกลับให้หน่อไม้สูงขึ้นย้อนไปทางด้านหลัง สลับกันไปมาสัก 5-6 ครั้ง แต่ละช่องห่างกันประมาณ 50 ซม. หน่อไม้ถูกดัดไปมาคล้ายตัว S ในภาษาอังกฤษ ซ้อนกันไปมาหลายครั้งปล่อยให้หน่อไม้เจริญเติบโตนานประมาณ 2 ปี ชาวนาตัดไม้ที่ดัดดังกล่าวมาทำเป็นแอกเดี่ยว
- 2. แอกเดี่ยวที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยใช้ไม้เนื้อแข็งมีมีลักษณะโค้งงอมาตกแต่งมีส่วนโค้งให้พอเหมาะกับลำคอของควาย ปลายทั้งสองงอนขึ้นสำหรับผูกเชือกเพื่อลากคันไถ
- 3. แอกคู่ เป็นแอกสำหรับวัวหรือควายสองตัวยาวประมาณ 2 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดของควาย แอกคู่สำหรับควายตัวใหญ่ ยาวกว่าแอกคู่สำหรับควายตัวเล็ก แอกคู่จะต้องมีปลายทั้งสองข้าง กันมิให้ควายแยกออกจากกันในเวลาใช้งาน แอกคู่แบ่งออกเป็น ชนิด- 3.1 แอกคู่ชนิดตรง ใช้ไม้เนื้อแข็งตรงยาวประมาณ 2 เมตร ปลายทั้งสองเจาะรูปลายละ 2 รู แต่ละรู้ห่างกันประมาณ 10 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว รูมีลักษณะทแยง ใช้สำหรับเสียบไม้ เมื่อเสียบไม้เข้าไปในรูแล้ว ส่วนล่างของแอกนั้นไม้ที่ใช้เสียบจะบานออก ระหว่างไม้ ที่บานออกใช้สำหรับกดทับลงบนต้นคอของควายทั้งสองตัว - 3.2 แอกคู่ชนิดปลายไม้สอบลง ชาวนาหาต้นไม้ที่มีลักษณะเหมาะสำหรับทำแอกชนิดนี้ โดยโครงสร้างของต้นไม้และกิ่งไม้ยาวประมาณ 2 เมตร ตรงปลายโค้งลงในทิศทางเดียวกัน ส่วนโค้งลงของปลายแอกทั้งสองจะกันไม่ให้ควายเดินแยกจากกัน - 3.3 แยกคู่ชนิดไม้เนื้อแข็งตกแต่งให้คล้ายกับแอกในข้อ 3.2 กล่าวคือทำจากไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับข้อ 3.2 แต่ต้องมีการตัดแต่ง
แหล่งอ้างอิงข้อมูลพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พล.ต.ต.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร