ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 7' 2.7581"
15.1174328
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 36' 40.9928"
103.6113869
เลขที่ : 96327
ประเพณีโกนจุก / ผมแกละ
เสนอโดย vannatit kitdee วันที่ 12 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย วันที่ 8 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สุรินทร์
0 1525
รายละเอียด
ภาษากูย / กวย เรียก กัดเซาะร์จุก / แกละ ภาษาเขมร เรียก กอรเซราะ ภาษาลาว เรียก ตัดผมจุก / ผมแกละ เด็กที่เกิดมา หากสามวันดี สี่วันไข้ ผู้เฒ่าผู้แก่จะให้เด็กไว้ผมจุก คือไม่ให้ตัดผมที่ตรงกลางกระหม่อม ปล่อยให้ยาวไปเรื่อยๆ ถ้าหากพิจารณาในทางสรีระ เราก็พอจะเห็นว่า เด็กเกิดใหม่นั้นกระหม่อมบาง ถ้าถูกน้ำค้างหรือน้ำฝนหรืออากาศหนาวก็จะเป็นไข้ เป็นหวัดได้ง่าย ดังนั้นการไว้ผมจุกก็คือให้ผมส่วนนั้นปิดกระหม่อมในส่วนที่บางนั่นเอง แต่เมื่อเด็กมีอายุ ๙ ขวบ ๑๑ ขวบ หรือ ๑๓ ขวบถือว่าโตแล้ว จะทำพิธีตัดผมจุกออก จึงมีพิธีโกนจุกเกิดขึ้น การเตรียมพิธีโกนจุกนั้นมีอยู่หลายอย่าง สิ่งแรกคือขนมชนิดต่างๆ ต่อมาก็มีบายศรี เสร็จแล้วเอาผ้าไหมใหม่ๆสำหรับนุ่งโจงกระเบนหุ้มห่อบายศรีนั้นไว้ ปะรำพิธีเป็นลักษณะเสาต้นกล้วยประกอบไม้ไผ่ มีปลายแหลมข้างบนสำหรับพระสงฆ์และเด็กขึ้นทำพิธี โกนจุก พิธีเริ่มในตอนเย็น จัดข้าวปลาอาหารสุกใส่ถาดมาเซ่นบอกผีปู่ย่าตายาย มาช่วย อวยพรให้ลูกหลานอายุมั่นขวัญยืน และนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น หลังจากแต่งตัวให้เด็กด้วยผ้านุ่งขาว มีผ้าขาวเฉียงบ่า อาจารย์จะเกล้าผมเด็ก เอาปิ่นปักผมให้พร้อมสวมกำไลจุก แล้วจึงสวม “มงคล” ซึ่งทำจากใบตาลมาตัดแต่งเป็นวงขนาดสวมหัวเด็กพอดี ขณะสวมมงคลจะสวดคาถาไปพร้อมๆกัน ในปะรำพิธีจะมีบายศรี ประต็วล กระเฌอข้าวเปลือก ใบขวาน ไข่ไก่ และบายปะลึง เมื่อแต่งตัวเสร็จจะพาเด็กเข้าไปนั่งบนฟูกในปะรำพิธี ต่อหน้าประต็วล แล้วนำข้าวปลาอาหารมาเซ่นไหว้ปู่ย่าตายายบอกกล่าวว่า ลูกหลานจะทำพิธีโกนจุกแล้ว ขอบอกให้ทราบ ขอเชิญมากิน มาดื่มเถิด สักครู่ก็ยกออกไป เซ่นพระภูมิเจ้าที่ข้างล่างก็บอกกล่าวเชื้อเชิญเช่นกัน เมื่อเสร็จแล้วนำถาดกลับพร้อมสายสิญจน์ที่ถือว่า ตายายให้พรมาแล้ว มาผูกแขนเด็กก่อน อวยชัยให้พรว่า บัดนี้ หนูโตแล้ว ต่อไปขอให้ช่วยพ่อแม่ทำนา จะได้เป็นที่พึ่งของพ่อแม่เมื่อแก่เฒ่า เสร็จแล้วกินข้าวปลาอาหาร เมื่อพระสงฆ์ที่นิมนต์มาถึง จะพาเด็กไปนั่งประนมมือฟังสวดมนต์จนจบ แล้วทำพิธีสู่ขวัญ เสร็จแล้วโห่ ๓ ลา อาจารย์จะสวดมนต์อีกระยะหนึ่งเป็นอันเสร็จพิธี ตอนเช้าวันโกนจุก จะแต่งตัวเด็กใหม่ แจกผมเป็น ๓ หย่อม เอาแหวนพิรอดที่ทำด้วยหญ้าแพรก ๙ ลงมาผูกติดผมจุก และเกล้าจุกปักปิ่น สวมกำไลจุก สวมมงคล ทาแป้ง แต่งตัวด้วยผ้าขาวทั้งชุด มีสร้อยคอทองคำ แหวนทองคำเต็มตัว เมื่อลงมาถึงดิน อาจารย์ก็กล่าวคาถา และเดินวนประทักษิณเบญจา ๓ รอบ แล้วพาขึ้นไปนั่งบนปะรำที่ทำ ลักษณะใบบัว พระสงฆ์ขึ้นตาม อาจารย์ขอสมาทานศีล ๕ แล้วกล่าวคำอาราธนาให้สวดโกนจุก พระสงฆ์ตั้งนะโมสวดไปโกนผมไป เป็นอันเสร็จพิธี
สถานที่ตั้ง
อำเภอจอมพระ
ตำบล จอมพระ อำเภอ จอมพระ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอจอมพระ
บุคคลอ้างอิง นายสนาน สุขสนิท
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20 ถนน เลี่ยงเมือง
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044712854 โทรสาร 044512030
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่