คำนิยาม โดยทั่วไปของผ้าขาวม้าในสมัยใหม่ก็คือผ้าอเนกประสงค์ หรือผ้าสารพัดประโยชน์และยังอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย ของคนชนบท บงบอกถึงภูมิปัญญาวิถีชีวิตในการทอผ้าสารพัดประโยชน์ เพื่อใช้สอย ของบรรพบุรุษของคนไทย ที่วาสารพัดประโยชน์นั้น พอที่จะยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์พอสังเขปดังนี้ คือ ใช้นุ่ง ห่ม ผูกเอว โพกหัว ผูกเปลนอน พัด ปัดไล่ยุง แมลง ใช้เป็นผ้าอาบน้ำ เช็ดตัว ปูรองนอน อื่นๆ ตามอัธยาศัยของผู้ใช้
คำว่าผ้าขาวม้า ในภาคอีสานจะเรียกว่าผ้าแพ ผ้าแพอีโป ผ้าขาวม้า ในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน จะเรียกว่า ผ้าขัดด้าม ผ้าขาวด้าม หรือผ้าด้าม
ภาคเหนือ เรียกว่า ผ้าหัว ผ้าตะโก้งหรือตาโก้ง ซึ่งหมายถึงผ้าลายตาราง ผ้าเตี่ยว
ภาคใต้ เรียกว่า ผ้าซักอาบเป็นผ้าที่ผู้ชายใช้ประโยชน์หลักในการอาบน้ำ ซึ่งชาวภาคใต้จะเรียกหลายชื่อ เช่นผ้าซักน้ำ ผ้าซุบ ผ้าซุบตัว ผ้าผลัด ผ้าผลัดอาบน้ำ ผ้าปล่อย ผ้าคาดเอว เป็นต้น
กลุ่มทอผ้าบ้านม่วง โดยสมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันทอผ้าขาวม้า เป็นผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งของกลุ่มเพราะเห็นว่าเป็นผ้าที่กลุ่มมีความสามารถทอได้ดีมีความประณีต มีกระบวนการผลิตไม่ยุ่งยากสมาชิกในชุมชนสามารถทำได้เพราะการทอผ้าขาวม้าเป็นสิ่งที่ทุกครัวเรือน ได้สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไว้ใช้สอยในครัวเรือนอยู่แล้ว ทางกลุ่มได้พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ทั้งขนาด สีสัน เพื่อให้ถูกใจผู้ที่นิยม ชมชอบใช้ผ้าขาวม้าในยุคปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสำหรับใช้เป็นผ้าอเนกประสงค์ หรือสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าอื่นๆ ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ยังได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)อีกด้วย
อัตลักษณ์/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ผ้าขาวม้าของกลุ่มผ้าผ้าบ้านม่วงมีลักษณะเด่นอยู่หลายประการคือ
๑.เนื้อผ้านุ่มซับน้ำเพราะทอจากผ้าฝ้ายด้ายคอเสื้อ
๒.เนื้อแน่นเรียบเนียนเพราะใช้ฟืม สแตนเลส
๓.ขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน คือกว้าง ๘๕ เซนติเมตร ยาว ๒๒๐ เซนติเมตร
๔.สามารนำไปแปรรูปเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือผ้าที่ใช้ตกแต่งบ้านเรือนหรือสถานที่ต่างๆได้
เทคนิค/เคล็ดลับ
การทอผ้าขาวม้าที่ทำให้ได้เนื้อผ้าแน่นเนียนเรียบ สม่ำเสมอของกลุ่มทอผ้าบ้านม่วงคือ
๑.ฟืมต้องเป็นฟืมฟันสแตนเลส
๒.ผู้ทอให้น้ำหนักในการทอที่สม่ำเสมอ
๓.ขนาดต้องให้ได้มาตรฐานที่กำหนดของกลุ่ม
๔.ตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งขาย
๖.รับฟังความคิดเห็นจากผู้ซื้อ