เครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิดไขลาน
- เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงหยุดสั่นสะเทือน เสียงก็หมดไปการบันทึกเสียงเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง เครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิดไขลาน ประกอบด้วยตัวแผ่นเสียงและเครื่องเล่น
1. ตัวแผ่นเสียงเป็นรูปวงกลมมีรูตรงกลางทำด้วยครั่ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาฌ 12 นิ้ว บนหน้าแผ่นเสียงทั้งสองด้านมีร่องเล็ก ๆ เรียงต่อกันเป็นวงกลมจากวงด้านในไปด้านนอก ในร่องแต่ละร่องมีความลึกของร่องไม่เท่ากัน ลึกบ้างตื้นบ้าง รอยร่องเหล่านี้เกิดจากตัวกำเนิดเส้นสร้างความสั่นสะเทือนลงไปยังแผ่น แรงสั่นสะเทือนของเข็มทำให้เข็มกดทับลงบนวัสดุที่ทำแผ่นเสียงไม่เท่ากัน คลื่นเสียงมีระดับสูงต่ำ จึงเกิดรอยบนแผ่นเสียงที่มีระดับสูงต่ำไม่เท่ากัน
2. เครื่องเล่นแผ่นเสียงประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
2.1 แท่นหรือฐานเป็นรูปทรงกลม หรือ เหลี่ยมตามความต้องการของผู้สร้าง ขนาดความสูงประมาณ 8 นิ้ว หรือมากกว่านั้นกว้างกว่าตัวแผ่นเสียงเล็กน้อย โดยทั่วไปกว้างหรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 นิ้ว
2.2 ลานทำด้วยโลหะเป็นเส้นยาว ๆ ปลายติดยึดอยู่ที่แกน แกนตั้งอยู่ตรงกลางภายในฐานมีเหล็กสำหรับหมุนอยู่ด้านนอก เมื่อหมุนเหล็กลานจะถูกขดตัวเข้าหาแกน เมื่อปล่อยมือลานจะคลายตัวทำให้เหล็กแกนหมุน ปลายของเหล็กแกนโผล่อยู่ที่ด้านบนของแท่นซึ่งเป็นที่วางแผ่นเสียง แผ่นเสียงจะถูกแกนดังกล่าวพาหมุนเป็นวงกลม ด้านข้างของแผ่นมีลำโพงยึดติดอยู่
2.3 ลำโพง ทำด้วยโลหะทองเหลือง ส่วนที่ติดอยู่กับแท่นมีขนาดเล็ก แต่ปลายจะบานออกเพื่อขยายคลื่นเสียงให้ดังขึ้น
2.4 เข็มและกล่องกำเนิดเสียง ฐานล่างของลำโพงมีหลอดโลหะปลายมีเข็มเป็นเหล็กติดอยู่สามารถยกขึ้นลงได้
- วิธีการใช้งานนำแผ่นเสียงวางบนแท่นให้รูตรงกลางของแผ่นเสียงอยู่ที่เหล็กแกน จากนั้นใช้มือหมุนลานจนแน่น แล้วปล่อยให้ลานพาแผ่นเสียงหมุนไปใช้มือจับเข็มมาจ่อกับแผ่นเสียงแล้วค่อย ๆ ปล่อยให้เข็มสัมผัสกับแผ่นเสียง
- เข็มจะเดินไปตามร่องของแผ่นเสียง เข็มและแผ่นเสียงจะสัมผัสกัน เกิดแรงเสียดสีกันเกิดแรงสั่นสะเทือนจากเข็มเข้าสู่หลอดเล็ก ๆ ของฐานลำโพง และขยายออกทางปากลำโพง เกิดเป็นเสียงที่มีลักษณะเดียวกันกับเสียงที่ทำให้เกิดร่องบนแผ่นเสียง
แหล่งอ้างอิงข้อมูลพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร