วัดศรีมุงเมือง
การสืบค้นประวัติเมืองโบราณวัดศรีมุงเมือง
คณะสำรวจได้ย่างเข้าบริเวณในวัดก็ได้พบกับความสงบและบรรยากาศที่ร่มรื่นเต็มไปด้วยปูชนียสถานและโบราณวัตถุที่สวยงามและสะดุดตาแต่เมื่อย้อนเข้าไปในอดีตชุมชนโบราณวัดศรีมุงเมืองและชุมชนบ้านใหม่เป็นกลุ่มเมืองโบราณที่สร้างต่อเนื่องกันอยู่ในเขตบ้านใหม่ตำบลหลวงเหนืออำเภองาวจังหวัดลำปางทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภองาวชุมชนโบราณกลุ่มนี้อยู่ในเขตชุมชนปัจจุบันจึงถูกบุกรุกทำลายจนแทบหาร่องรอยไม่พบเมืองโบราณกลุ่มนี้ตั้งอยู่บนเนินดินธรรมชาติบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่งประกอบกับสวนพืชเมืองโบราณกลุ่มนี้มีชุมชนอาศัยปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณมีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนหนาแน่นส่วนบริเวณภายในเมืองโบราณบ้านใหม่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปะปนกับพื้นที่ป่าไม้แผนผังเมืองโบราณวัดศรีมุงเมืองมีลักษณะเป็นรูปทรงอิสระวางตัวให้ความยาวอยู่ในเเนวเหนือใต้
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะพบชาวบ้านมากหน้าหลายตาพร้อมถือสังฆทาน ดอกไม้ธูปเทียนนำเข้ามาในวัดด้วย คณะของข้าพเจ้าได้สอบถามชาวบ้านที่มาทำบุญที่วัดและได้รับคำแนะนำให้ไปพบกับแม่ชีที่อยู่ในวัดศรีมุงเมืองและคุณแม่อุดมพรอนุสสรราชกิจจากการสัมภาษณ์ทำให้รู้ว่าในอดีตหมู่บ้านศรีมุงเมืองได้เป็นดินแดนโบราณในประวัติศาสตร์ของเมืองลำปางตั้งอยู่หมู่ 5 ตำบลหลวงเหนืออำเภองาวโดยแยกออกเป็นสองส่วนคือเมืองโบราณวัดศรีมุงเมือง และเมืองโบราณบ้านใหม่แต่ในปัจจุบันนี้ได้ร่วมกันเป็นวัดศรีมุงเมืองสืบต่อมาจากการสัมภาษณ์ของลุงพิพัฒน์เรืองศรีและในอดีต วัดเจดีย์กุด ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดเก่าต่อมาเมืองงาวถูกพวกเงี้ยวรุกราน ชาวบ้าน ต้องสูญเสียเลือดเนื้อล้มตายเป็นจำนวนมากชาวบ้านต้องพากันอพยพหนีออกไปพวกเงี้ยวได้เผาทำลายปูชนียสถานจนเหลือเพียงซากอิฐ
ในสมัยพระยางำเมืองเจ้าเมืองพะเยาได้ยกทัพมาช่วยปราบพวกเงี้ยวและได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ชื่อว่า วัดพระธาตุตุงคำประมาณ ปี พ.ศ.1848-1850อันเป็นปีที่พ่อขุนงำเมืองสวรรคตที่บ้านสระ(บ้านทุ่งศาลา)ในปัจจุบันหลังจากสร้างวัดพระธาตุตุงคำต่อมาได้ปล่อยให้รกร้าง ไม่มีการบูรณซ่อมแซมประกอบกับภัยธรรมชาติทำให้เห็นซากอิฐสีแดงที่ก่อเจดีย์จึงเรียกชื่อใหม่ว่าเป็นวัดเจดีย์เเดง และได้รับการบูรณจน ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีมุงเมืองถือว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นครั้งแรกของเมืองงาวและนอกจากนี้ยังมีวัดไชยมิ่งมงคลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดพระธาตุตุงคำแต่ไม่ได้รับการบูรณซ่อมแซมจึงเหลือเพียงแต่ซากอิฐเท่านั้นปัจจุบันซากอิฐอยู่ในพื้นที่โรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณวัดซึ่งได้รับมอบจากเจ้าอาวาสวัดซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ300ปี โดยขุดค้นพบจาก หลังวัดศรีมุงเมือง และบริเวณคูเมือง จากการสำรวจผิวดินในบริเวณเมืองโบราณวัดศรีมุงเมือง พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนหนึ่งที่สำคัญคือพบซากวิหาร และซากเจดีย์ในบริเวณที่ทำถนนผ่านหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดศรีมุงเมือง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตรงกับรอยเชื่อมต่อระหว่างเมืองโบราณวัดศรีมุงเมือง กับเมืองโบราณบ้านใหม่
ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันชาวบ้านในตำบลหลวงเหนือมีความสัมพันธ์กับวัดมานานมีการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัดเพราะวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจและนอกจากนี้ เรามักจะใช้วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมหลายๆอย่างทั้งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเทศกาลงานบุญต่างๆ การขนทรายเข้าวัดงานสลากภัตรและนอกจากนี้แล้วทุก 15ค่ำเดือน 5เหนือ วัดศรีมุงเมืองยังมีการสรงน้ำพระธาตุ ซึ่งประเพณีนี้ทุกตำบลในอำเภองาว จะต้องมาร่วมกันจัดพิธีนี้ด้วยกันทุกปี
วัดศรีมุงเมืองปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่81บ้านใหม่หมู่ที่5ตำบลหลวงเหนืออำเภองาวจังหวัดลำปางมีเนื้อที่21ไร่1งาน40ตารางวาสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายสร้างประมาณปีพ.ศ.2473เดิมเป็นวัดร้างต่อมาจองตะก่าส่างโตรัตนคำมนและขุนเหนือนรการพร้อมด้วยชาวบ้านช่วยกันบูรณขึ้นใหม่ ปัจจุบันภายในวัดมีการบูรณซ่อมแซมและสร้างปูชนียสถานเพิ่มจนมีความสวยงามสงบและร่มรื่นและยังมีพระพุทธรูปนามว่า เจ้าพ่อทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของคนเมืองงาวประดิษฐานอยู่ภายในวัด