ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 8° 25' 12"
8.4200000
Longitude : E 99° 57' 47.9999"
99.9633333
No. : 115564
ลูกเนียงหมาน
Proposed by. นครศรีธรรมราช Date 24 September 2011
Approved by. นครศรีธรรมราช Date 20 June 2012
Province : Nakhon Si Thammarat
1 2916
Description

ลูกเนียงหมาน คือการนำลูกเนียงไปแช่น้ำ และพอเปลือกแตกแล้วนำไปหมกไว้ในทราย และพรมน้ำให้ชื้น ทิ้งไว้ 2 - 3 วัน ก็มีจะมีกลิ่นฉุนไว้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบรับประทาน ลูกเนียงที่มีรสออกฉุน ๆ นั้นเอง

ลูกเนียง(Look-Niang) เป็นพืชพื้นถิ่นทางภาคใต้ของไทย มักจะขึ้นในป่า ในที่มีร่มเงา ใต้ไม้ใหญ่อย่างอื่นก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ผลของเนียงจะออกมาคล้าย ๆ เป็นฝัก มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่ค่อนข้างแข็งแต่บางครั้งจะเรียงติดกันเพียงไม่กี่เมล็ด

หลายคนมักปลูกแซมไว้ในสวนยางพารา เมื่อให้ผลผลิตแล้วจะได้เก็บฝักที่มีเมล็ดนำมาเป็นอาหารได้ แต่ไม่ได้นำไปปรุงทำกับข้าว การรับประทานคือการกินเหมือนผักสด คือนำเมล็ดสดมากินคู่กับแกงที่มีรสชาดเผ็ด ๆ ช่วยลบความเผ็ดลงได้นิดหน่อย และนี่ก็เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวใต้ที่มักจะมีผักสดหรือที่เรียกว่า "ผักเหนาะ" ไว้เคียงข้างสำรับกับข้าวเสมอ

บางครั้งเผอิญเก็บผลเนียงที่มีความแก่จัด เนื้อเมล็ดข้างในค่อนข้างแข็ง อาจจะยากหน่อยสำหรับการนำมาเคี้ยวโดยเฉพาะคนแก่ ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการได้ลิ้มรสชาดอาหารอยู่แล้ว ก็นำมาผ่านวิธีการเพาะเมล็ด เพื่อให้เมล็ดที่แก่จัดงอกต้นอ่อนออกมา ส่วนเนื้อเมล็ดก็จะเกิดความกรอบขึ้นมา เนื้อเมล็ดส่วนนี้ที่จริงมันคือส่วนของใบเลี้ยงสำหรับต้นอ่อนนั่นเอง

เราก็ใช้เนื้อเมล็ดที่ผ่านการเพาะมารับประทาน แต่สิ่งที่ตามมาคือ กลิ่น ที่มีความเฉพาะเพาะตัวของ "ลูกเนียงเพาะ" ค่อนข้างเหม็น และส่งกลิ่นได้ไกลทีเดียว แค่กลิ่นตอนกินสด ๆ ไม่พอ คนที่กินเข้าไปแล้วจะสังเกตได้อีกอย่างก็คือ กลิ่นของปัสสาวะที่จะมีความเหม็นของกลิ่นลูกเนียงปนออกมาด้วยนิด ๆ

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นไม่ได้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคของการกินเลยแม้แต่น้อยสำหรับคนใต้ เพราะมีัความเคยชินและเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมานมนานแล้ว มันเป็นวัฒนธรรมทางอาหารของท้องถิ่น แม้หลายคนไม่ชอบกลิ่นแต่ยังไงความรู้เหล่านี้ยังสืบทอดต่อไปยังรุ่นหลังได้ไม่ยาก หากต้นเนียงยังงอกสืบรุ่นลูกหลานต่อ ๆ ไป

ลักษณะพิเศษ

เป็นไม้ยืนต้นไม้ผลัดใบ ขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ใบแน่นทึบเปลือกลำต้นเรียบสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ใบมีรูปมน ปลายใบยาวเรียวแหลม ฐานใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงไม่มีขน ดอกสีขาวขนาดเล็ก จำนวน 3-6 ดอก ออกบนช่อกลมเล็ก ๆ ซึ่งแตกแขนงมาจากช่อใหญ่ ฝักแบนยาวรูปบรรทัดมีส่วนคอดเว้าระหว่างเมล็ด ตัวฝักบิดเวียนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือสีน้ำตาลอมม่วง ฝักแก่ผนังจะแตกอ้าออก มีเมล็ดกลม ขนาดใหญ่มีกลิ่น ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน ฝักแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม

แหล่งที่พบ

ชอบขึ้นตามชายป่าดงดิบชื้นใกล้ลำธาร นิยมปลูกทั่วไปเพื่อใช้เป็นอาหาร

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เกษตรกรจะนำลูกเนียงไปจำหน่ายที่ตลาดหัวอิฐ ตลาดกลางผักและผลไม้ ทำรายได้ให้เจ้าของลูกเนียงมาก ความสัมพันธ์กับชุมชน

ชาวบ้านนิยมใช้รับประทานกันมาก ส่วนที่นำไปรับประทานคือเมล็ด ซึ่งมีกลิ่นฉุน ให้รสชาติมันอร่อยซึ่งอาจรับประทานผลอ่อน หรือผลแก่ก็ได้ โดยใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำกพริกหรือเหนาะแกงต่าง ๆ ผลแก่อาจนำไปเพาะเรียกว่า ลูกเนียงเพาะ หรือเนียงหมาน นำไปดองเรียกว่า ลูกเนียงดอง หรืออาจนำไปต้มคลุกมะพร้าวขูดและน้ำตาลทราย เรียกว่า ลูกเนียงต้ม เป็นอาหารประเภทของหวาน หรืออาหารว่าง ลูกเนียงมีสรรพคุณใช้รักษาโรคเบาหวาน และเป็นยาขับปัสสาวะได้

Category
Etc.
Location
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
No. 481 Moo - Soi - Road ราชดำเนิน
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Nakhon Si Thammarat Province Nakhon Si Thammarat
Details of access
อาหารพื้นบ้าน
Reference -
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
No. 481 Moo - Soi - Road ราชดำเนิน
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Nakhon Si Thammarat Province Nakhon Si Thammarat ZIP code 80000
Tel. 075-310057, 075-3583 Fax. 075347811
Website http://www.culture-ns.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่