ประติมากรรมปูนปั้นจากกระดาษรีไซเคิล
ประวัติความเป็นมา
ประติมากรรมปูนปั้นจากกระดาษรีไซเคิล เกิดจากแนวคิดในการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้าน
เพื่อจัดกิจกรรมในชุมชนและสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อสร้างสวัสดิการชุมชน ทำให้เกิดการค้นหาความต้องการในการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงวัสดุที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองที่โดดเด่น เป็นที่รู้จัก และมีความเป็นธรรมชาติ รวมถึงการคำนึงถึงการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ประติมากรรมปูนกระดาษรีไซเคิล ได้ถูกถ่ายทอดความรู้ต่อไปยังสมาชิกในหมู่บ้านและผู้ที่
สนใจในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน จนสามรถพัฒนารูปแบบให้ใหม่อยู่เสมอ เช่น ม่านนำตก ป้าย แจกัน กระถาง อ่างปลา ชุดประดับตกแต่ง และยังสามารถผลิตให้เป็นไปตามรูปแบบที่ตลาดต้องการ จนเป็นที่ยอมรับ และแพร่หลายในปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
ประติมากรรมปูนปั้นกระดาษรีไซเคิล ถือเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่ผสมผสานแนวคิดใน
การดูแลรักษาโลกร้อน (ภาวะโลกร้อน) การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า มีการนำเอาของเหลือใช้ ไม่ใช้แล้ว มาเป็นองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน อาทิ กระดาษหนังสือพิมพ์ ขวดพลาสติก ผสมซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัสดุหลัที่ใช้ในชีวิตประจำวันนำมาผลิตในรูปแบบที่ทันสมัย ตอบสนองความต้อง และประโยชน์ในการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ลวดลายที่เลียนแบบธรรมชาติจากการผลิตด้วยมือ ที่มีความคงทน ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก อาคาร สำนักงาน บ้านหรือตกแต่งสวน
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
๑.ปูนซีเมนต์ (ก่อ/ฉาบ)
๒.กระดาษหนังสือพิมพ์
๓.วัสดุที่ใช้แล้ว เช่น ขวดพลาสติก ลวดตาข่าย เป็นต้น
๔.เครื่องมือ / อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เกียง แปรงทาสี
ขั้นตอนการการผลิต
๑.นำกระดาษมาฉีก แช่น้ำในภาชนะ
๒.นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่แช่น้ำมายุยด้วยมือ /ตำ/ปั่น ให้ย่อย
๓.นำปูนซีเมนต์ ๑-๒ ส่วน และกระดาษที่ย่อยมาผสมตามอัตราส่วน
๔.นำรูปทรงที่ขึ้นรูป / วัสดุใช้แล้ว มาขึ้นรูป ด้วยส่วนผสมให้รอบตามรูปทรงที่ประกอบไว้
๕.นำเกียงขึ้นลวดลายให้ได้ลวดลาย ตกแต่งลวดลายให้เหมือนไม้ (ตามต้องการ)
๖.นำชิ้นงานที่ขึ้นลายไปตากแดด/ในร่ม ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วลงสีน้ำ ลงน้ำยาเคลือบเงา
ประโยชน์ที่สมาชิกในกลุ่ม และครอบครัวได้รับ คือ การมีรายได้เพิ่มให้แก่สมาชิกในชุมชน
และครอบครัว