บุญเดือนสามหรือไทคอนสารเรียกว่า บุญเฉลิม มาจากคำว่า การเฉลิมฉลอง สมโภชปิดทองหลวงพ่อประธาน พระพุทธชัยสารมุนี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองคอนสาร เป็นพระพุทธที่เก่าแก่ที่สุด อายุ ๗๐๐ กว่าปี ประดิษฐานมีพุทธศิลปะที่วิจิตรงดงามประณีตด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ทรงคุณค่าเป็นโบราณวัตถุของแผ่นดิน สันนิษฐานว่าเกิดมาพร้อมกับเจ้าเมืองคอนสารคนแรก รวมประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๐ ต้นรัชกาลที่ ๑ เดิมทีพี่น้องชาวคอนสาร
ชาวภูผาม่านมีต้นตระกูลมาจากนครไทย(ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก) ที่นำวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมดั่งเดิมที่มีความศรัทธาเลื่อมในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ่ง เป็นคนใจบุญสุนทาน ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายอยู่กับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม เมื่อถึงคราววันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ วันมาฆบูชา ทางจันทรคติ ต่างพากันเตรียมดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะและแผ่นทองคำเปลว ข้าวปลาอาหารหวานคาว
ห่อข้าวต้ม คั่วเนื้อ คั่วปลาบ้าง เพื่ออนำมาทำบุญเฉลิมที่วัดโพธิ์ (วัดเจดีย์ )
โดยชักชวนลูกหลานแต่งชุดไทคอนสาร แบบพื้นบ้าน อุ้มลูกจูงหลานออกจาก
บ้านตั้งแต่เช้าตรู่ ซึ่งจะต้องเดินทางเท้าพร้อมหาบแบกถือคอนสิ่งของมากมาก
มาให้ถึงศาลาการเปรียญวัดเจดีย์ก่อนรุ่งอรุณ บางคนอาจจะต้องเดินทางมา
ล่วงหน้าก่อนหนึ่งวัน แต่ต้องมานอนที่บ้านของญาติๆ ที่อยู่ใกล้ที่สุด หรืออาจ
จะมานอนที่ศาลาการเปรียญวัดเจดีย์ก็มี เนื่องจากบ้านอยู่ไกลการเดินทางลำบาก เพราะถือว่าเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น ต้องมาร่วมงานบุญใหญ่ได้พิธีกรรมเริ่มจากการไหว้พระ ทำวัตรเช้าสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา กรวดน้ำ แผ่เมตตา เสร็จแล้ว เริ่มพิธีพร้อมกันอีกรอบที่สองด้วยการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคำอาราธนาศีล๕ สมาทานศีล และพระสงฆ์ท่านจะสวดบทพาหุงฯ ญาติธรรมทั้งหลายเริ่มใส่บาตรตามลำดับ จึงนำภัตตาหารเช้าที่จัดใส่พาข้าวมาจัดวางไว้ตรงหน้าที่นั่งอาสนะสงฆ์แต่ละรูป
หลังจากนั้นทายกอาราธนาธรรม ประธานสงฆ์แสดงธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์
และฟังธรรมด้วยความเคารพสงบเสงี่ยม และกล่าวคำถวายภัตตาหารเช้า
พร้อมเครื่องบริวารแด่พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระสงฆ์ให้พรญาติโยมรับ
พรเสร็จพิธี ซึ่งทั้งวันจะมีงานรื่นเริงบันเทิงมีการละเล่นสนุกสนานแบบ
พื้นบ้าน สอยดาว บ้านผีสิง ตักบาตรพระมาลัยโปรดสัตว์นรก หนูนาพาโชค
และที่สำคัญทุกคนต้องไปปิดทองขอพรจากหลวงพ่อพระประธาน
เพื่อขอให้ท่านคุ้มครองรักษา และบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข การทำมาหากินสะดวกสบายไม่ขัดสนจนยาก โรคภัยไข้เจ็บมีน้อย ลูกหลานว่านอนสอนง่าย ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายภายใต้ร่มบารมีหลวงพ่อพระประธาน
ต่อมาประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะสงฆ์ คณะกรรมการวัดเจดีย์
ได้ปรับรูปแบบการจัดงานประเพณีบุญเดือนสามให้มี ๓ วัน ๓ คืน โดยเริ่ม
ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ ค่า เดือน ๓ ถือว่าเป็นงานประจำปีของวัดเจดีย์
และของเมืองคอนสารจนกระทังถึงปัจจุบัน วันแรกของงาน คือวันขึ้น ๑๓ ค่ำ
เป็นวันเปิดงานประเพณีบุญเดือนสามอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วยการถวายเครื่อง
สักการะแด่หลวงพ่อใหญ่พระประธานด้วยพานบายศรีพรหม พานบายศรี
บารมี พานบายศรีธรรมจักร พานบายศรีปากชาม พานบายศรีขันหมากเบ็ง
ธูปเทียนแพ พวงมาลัยดอกไม้สด หมากพลูบุหรี่และปิดทองคำเปลว ที่องค์หลวงพ่อใหญ่ หลังจากนั้นถวายเครื่องสักการะบวงสรวงอนุสาวรีย์หลวงวิชิตสงคราม หรือชาวคอนสารเรียกว่า ปู่หมื่นอร่ามกำแหง เจ้าเมืองคอนสารองค์แรก
อันเชิญพระอุปคุตมารักษาคุ้มครองงานประเพณีให้เกิดความเรียบร้อยดี
งาม และหลังจากนี้คณะสงฆ์ภายในวัดทั้งหมด เจริญพระพุทธมนต์เย็น และนิมนต์เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ แสดงธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ คือกัณฑ์มาลัยหมื่นมาลัยแสนก่อนที่จะเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ ในวันรุ่งขึ้น เป็นเสร็จพิธีกรรม ช่วงกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดทั้งคืน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ เวลา ๐๕.๐๐ น. คณะอุบาสกอุบาสิกาแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวพันก้อนเท่าจำนวนหนึ่งพันพระคาถาของกัณฑ์พระเวสสันดรชาดก) รอบศาลาการเปรียญ ๓ รอบ ตีฆ้องพร้อมเสียงโห่ร้องแสดง
ความชื่นชมยินดีวันมงคลฤกษ์ดี ยามดีมาถึงแล้ว และเพื่อระลึกถึง
คุณของพระรัตนตรัย เสียงเครื่องดนตรีไทยเดิมพระราชทาน
เมื่อครั้งเจ้าเมืองคอนสารได้รับสาสน์แต่งตั้งเมืองคอนสารใหม่
บรรเลงโหมโรงตลอดทั้งวันสลับการเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์
โดยนิมนต์เจ้าหัววัด(เจ้าอาวาสวัด)ได้มาแสดงพระธรรมเทศนา
โปรดญาติธรรม ซึ่งเจ้าภาพกัณฑ์แต่ละกัณฑ์ก็จะนำเครื่องกัณฑ์เทศน์
จตุปัจจัยมาถวายพระองค์เทศน์ซึ่งมีการเทศน์แบบพื้นเมืองคอนสาร เทศน์แบบทำนองธรรมวัตร และเทศน์แหล่ตามแต่
ว่ารูปใดถนัดทำนองใด เพื่อรักษาส่งเสริมและฟื้นฟูการฟังเทศน์มหาชาติให้คงอยู่คู่สังคมไทยส่วน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ วันแห่งฉลองพระบวชใหม่ ซึ่งชาวคอนสารมีความเชื่อว่าลูกชายคนใดได้บวชฉลองคานหามได้รับอานิสงส์มาก โดยทางพ่อแม่พระใหม่และญาติพี่น้องต่างพากันจัดทำคานหามจากไม้ไผ่และตกแต่งประดับด้วยวัสดุภายในท้องถิ่นอย่างประหยัดให้สวยงาม และบอกบุญญาติมิตรสหายมาร่วมเข้าขบวนแห่อย่างสนุกสนาน มีขบวนแห่ทางวัฒนธรรมไทคอนสารจากสถานศึกษา และวัดต่าง ๆ ภายในอำเภอคอนสาร ซึ่งทางวัดได้รณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมขบวนแต่งชุดไทคอนสารทั้งหมด ต่อมามีการประกวดคานหามเพื่อส่งเสริมสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองคอนสาร ภาคกลางวันทั้ง ๓ วัน มีกิจกรรมการกุศลมากมาย อาทิ การทำบุญตักบาตรพระประจำวัน เดือน ปีเกิด พระพุทธเจ้า ๕พระองค์ ตักบาตร ๑๐๘ บูชาสังฆทาน บูชาวัตถุมงคล บูชาดอกไม้ธูปเทียนทอง ทอดผ้าป่าลอยฟ้า สอยดาวการกุศล วงล้อการกุศล ตักบาตรหอสวรรค์ ตักบาตรพระธาตุ๑๒ ราศีประจำปีเกิด เสี่ยงเซียมซี และปิดทองหลวงพ่อพระประธาน ภาคกลางคืนมีมหรสพสมโภชทุกคืน อาทิ มวยการกุศล ภาพยนตร์ รำวงชาวบ้าน หมอลำ เป็นต้น