วิทยาลัยเทคโนโลยีพลพณิชยการตั้งอยู่เลขที่ 211 ถนนมิตรภาพ ตำบลโจดหนองแก อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 043 –414199
ประวัติความเป็นมาเป็นโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีพลพณิชยการ เดิมชื่อโรงเรียนพลพณิชยการ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง อาจารย์แพทย์หญิงเพ็ญแข ชนะวงศ์ เป็นผู้จัดการ และอาจารย์ธนฤกษ์ (รังสรรค์) ชนะวงศ์ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา เช่น ศาสตราจารย์ ดร.แนม บุญสิทธิ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สรุงบุญมี จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์บุญเรือง ถาวรสวัสดิ์ อดีต ส.ส.จังหวัดขอนแก่น อาจารย์สุชาติ ธีราธรรม รองผู้อำนวยการโรงเรียนดุสิตพาณิชยการ เป็นผู้วางแผนปูพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนและให้บริการแก่นักเรียนนักศึกษาเมื่อเริ่มจัดตั้งโรงเรียน จนกระทั่งเปิดสอนสาขาเกษตรกรรมและช่างอุตสาหกรรมและเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นเทคโนโลยีพลพณิชยการโดยมีแนวคิด คือ “ให้โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน” ในระยะหลังได้พัฒนามาเป็นคำขวัญของโรงเรียนว่า “การศึกษาของชาวชนบท คืออนาคตของประเทศไทย” และปรัชญาของโรงเรียนว่า “กตัญญู รู้วิชา กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำสร้างสังคม” เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ถึง ประกาศนียบัตรวิชาชีพชีพชั้นสูง(ปวส.) มีนักเรียน 1,422 คน ห้องเรียน 58 ห้อง ครูผู้สอน 95 คน ปัจจุบันมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต นางกษมา ชนะวงศ์ เป็นผู้จัดการ และนางสาวสิริภร ชนะวงศ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ความสำคัญ
ได้รับรางวัล
1. รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การคัดเลือก
สถานศึกษาเพื่อขอรับรางวัลพระราชทาน พ.ศ. 2536
2. รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
โครงการ บริจาคโลหิตร่วมกับสภากาชาดไทยคลังเลือดกลางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ
เหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2546
3. รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การคัดเลือก
สถานศึกษาเพื่อขอรับรางวัลพระราชทาน พ.ศ. 2550
4. รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ ชั้น 3 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช
กุมารี โครงการบริจาคโลหิตร่วมกับสภากาชาดไทยคลังเลือดกลางมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2554
และเป็นเครือข่ายทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอพล ให้ความสำคัญเกี่ยวกับงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น โดยการนำคณะครูและนักเรียนเข้าร่วมงานประเพณีสำคัญทางศาสนา เช่น งานสงกรานต์ งานลอยกระทง งานวันวิสาขบูชา งานแห่เทียนเข้าพรรษา อย่างต่อเนื่อง