ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 26' 16.1664"
13.4378240
Longitude : E 99° 56' 33.7412"
99.9427059
No. : 141176
ลิ้นจี่อัมพวา
Proposed by. pornthip Date 27 June 2012
Approved by. สมุทรสงคราม Date 28 October 2012
Province : Samut Songkhram
0 796
Description

ลิ้นจี่อัมพวา

ลิ้นจี่เป็นไม้ยืนต้น จัดอยู่ในตระกูลSapindaceaeเป็นไม้กึ่งเมืองหนาว เป็นพืชตระกูลใหญ่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าlitchi chinensisและมีชื่อสามัญว่า litchi มีหลักฐานยืนยันได้ว่าสมุทรสงคราม เป็นลิ้นจี่ที่มาจากเมืองจีน โดยพ่อค้าชาว

จีนได้นำผลลิ้นจี่เข้ามาขายหรือนำมาฝากญาติพี่น้อง ชาวจีนด้วยกันที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำแม่กลองและแควอ้อมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งในขณะนั้นแม่กลองเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่มณฑลราชบุรี หรือที่ทำการของมณฑลราชบุรีในสมัยนั้น ลิ้นจี่ที่ปลูกครั้งแรกพบว่ามีการปลูกกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2340 ที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที

และที่ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา และยังคงมีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุถึง 200 ปี ให้เห็นในทุกวันนี้ รวมพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่ทั้งสิ้น ประมาณ 5,380 ไร่

พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากจนทำชื่อให้กับจังหวัดสมุทรสงคราม คือพันธุ์ค่อมลำเจียกแต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นๆ ด้วย เช่น กะโหลก ใบยาว จีน ไทย สำเภาแก้ว และสาแหรกทอง

เป็นเวลากว่าร้อยปีที่ชาวสานลิ้นจี่แม่กลองสามารถพัฒนาสายพันธุ์สีส้ม รสชาติ จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสร้างความโดดเด่นของตนเอง โดยเป็นความโดดเด่นในแง่ของรสชาติของลิ้นจี่พันธุ์ค่อมผู้เป็นราชินีแห่งลิ้นจี่เมืองแม่กลอง เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นในภาคกลางและภาคเหนือ นอกจากนี้ โดยที่ลักษณะของต้นลิ้นจี่ของจังหวัดสมุทรสงคราม ไม่ค่อยสูง เป็นพุ่มแจ้ให้ผลดก จึงได้ชื่อว่าค่อมหรืออีค่อม

ลักษณะเด่นของลิ้นจี่พันธุ์ค่อมสมุทรสงคราม

1.ผลลิ้นจี่จะมีสีแดงสดค่อนข้างกลม มีลักษณะบ่าสูง

2.หนามตั้งเมื่อผลลิ้นจี่แก่จัดได้ที่ หนามลิ้นจี่จะไม่แหลมสูง แต่จะมีลักษณะราบลงและอยู่ห่างกันไม่เป็นกระจุก

3.หนังตึงลิ้นจี่ที่แก่จัดได้ที่จะมีสีแดงสด (เข้มเหมือนสีน้ำหมาก) ค่อนข้างกลมไหล่ผลจะสูงลักษณะขอบเปลือกบางตึง

4.เนื้อเต่งเนื้อลิ้นจี่จะมีสีขาวขุ่น เนื้อหนากรอบ เนื้อแห้งไม่แฉะ มีกลิ่นหอม รสหวาน

5.ร่องชาดคำนี้เป็นภาษาของชาวสวนหมายถึง สีของเปลือกด้านในของลิ้นจี่เมื่อปลอกเปลือกออกแล้วจะเป็นเห็นเป็นสีชมพูตั้งแต่ขั้วผลจนถึงกลางผลจะเป็นลิ้นจี่ค่อมที่มีรสชาติอร่อยที่สุด แต่ถ้าเปลือกด้านในเป็นสีชมพูทั้งผลสีแดงว่าลิ้นจี่นั้นแก่จัดเกินไป รสชาติจะอร่อยน้อยลง

ทั้งนี้ลิ้นจี่สมุทรสงครามเมื่อจัดได้ที่ จะมีสีเข้มเกือบดำ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติของผลไม้ไม่ใช่เป็นลิ้นจี่ ที่ใกล้จะเน่าเสียแต่อย่างใด ดังนั้นหากผู้บริโภคเห็นว่าลิ้นจี่สมุทรสงคราม มีสีเข้มเกือบดำ โปรดอย่าเข้าใจว่าเป็นของเก่าหรือใกล้จะเน่าเสีย เพราะถึงแม้เปลือกของลิ้นจี่จะมีสีเกือบดำแต่ก็ยังรับประทานได้และมีรสชาติหวานอร่อย

วิธีเก็บรักษาลิ้นจี่

เมื่อซื้อลิ้นจี่มาแล้ว ให้เก็บไว้ในที่ชื้น โดยไม่ต้องมัดปากถุง เพื่อให้น้ำในถุงระเหยได้ไม่ทำให้ผลลิ้นจี่เน่า แต่หากวางลิ้นจี่ไว้ในอุณหภูมิห้อง ลิ้นจี่ถูกลมแสงประมาณ 2 ช.ม. สีผิวจะเปลี่ยนเป็นดำแห้งแต่รสชาติจะยังหวานอร่อยเหมือนเดิมและถ้าเก็บรักษาในตู้เย็นสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นสัปดาห์ แต่รสชาติความหวานจะลดน้อยลง

รวบรวมและเรียบเรียงโดย:

นางสาวพรทิพย์ ไชยา นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ผู้ประสานงานอำเภออัมพวา

นางสาวสุภาภรณ์ นาคเกตุ เจ้าพนักงานธุรการ

Location
สวนลิ้นจี่ ลุงณรงค์
No. 3/4 Moo 2
Tambon เหมืองใหม่ Amphoe Amphawa Province Samut Songkhram
Details of access
นายณรงค์ นาคทิพย์ เจ้าของสวนลิ้นจี่อัมพวา
Reference พรทิพย์ ไชยา Email chaiya-021@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม Email smk_culture@hotmail.co.th
Road เอกชัย
Tambon แม่กลอง Amphoe Mueang Samut Songkhram Province Samut Songkhram ZIP code 75000
Tel. 089-2232122 Fax. 034-718348
Website http://province.m-culture.go.th/samutsongkhram
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่