ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 40' 18.8436"
13.6719010
Longitude : E 99° 52' 31.8932"
99.8755259
No. : 142851
ประเพณีแห่ดอกไม้ฉลองสงกรานต์ชาวไทยลาวเวียง
Proposed by. ราชบุรี Date 3 July 2012
Approved by. ราชบุรี Date 25 October 2021
Province : Ratchaburi
2 4233
Description

ประเพณีแห่ดอกไม้ฉลองสงกรานต์ชาวไทยลาวเวียงแต่เดิมจะจัดในวัน เวลา หลังจากงานสงกรานต์สิ้นสุด จะเป็นวันใดนั้นผู้นำท้องถิ่นที่มีผู้เคารพนับถือจะเป็น ผู้ตกลงกับเจ้าอาวาส แล้วบอกกล่าวกับชาวบ้านอีกต่อหนึ่ง เดิมแห่ ๓ วัน ต่อกัน ในปัจจุบันคือวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่ดอกไม้

ประวัติความเป็นมา

ไม่ทราบแน่นอน แต่ทราบว่าพิธีนี้ปฏิบัติสืบต่อกันมานับ ๑๐๐ ปี ในฐานที่เป็นผู้ริเริ่มจัดงานนี้ขึ้นมาใหม่เมื่อ ๗ ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันไม่ทราบว่าลาวเวียงคือชนเผ่าใดในประเทศลาว แต่ทราบว่าลาวเวียง คือคำเรียกคนลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากนครเวียงจันทน์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเท่านั้น ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๓ สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จากประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันของ สปป.ลาว โดย ดร.สุเมธ โพธิสาร และคณะเขียนไว้ ไม่พบคนลาวเชื้อสายลาวเวียงเลย แล้วเราคือใคร (เชื้อสาย) เป็นสิ่งที่ต้องค้นหา ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่ทราบว่า ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่ดอกไม้ฉลองสงกรานต์ลาวเวียงอยู่ดี เราต้องรู้ว่าเราคือใคร มาจากไหน มีวัฒนธรรมอะไร มีวิถีชีวิตอย่างไร นั่นแหละเราจึงจะบอกความเป็นมาของประเพณีได้ ซึ่งข้าพเจ้าและคณะกำลังพยายามอย่างหนักที่สุด รวมทั้งการเดินทางไป สปป.ลาว หลาย ๆ ครั้ง เพื่อจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา

ขั้นตอนปฎิบัติงานหรือพิธีกรรม

สมัยก่อนนั้น ในวันสงกรานต์ จะมีผู้คนมาร่วมทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ที่วัดจำนวนมาก ทั้งสามวัน คือ วันที่ ๑๓ –๑๕ เมษายน เมื่องานวันสงกรานต์สิ้นสุดลง จะมีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านรวมกันทั้งเจ้าอาวาส จะปรึกษากันว่าจะแห่ดอกไม้กันเมื่อใด เมื่อตกลงกันแล้ว ก็จะบอกกล่าวกันต่อ ๆ ไป ดังนั้น

๑. เมื่อถึงกำหนดวันดังกล่าว สาว ๆ หนุ่ม ๆ จะพากันไปเที่ยวหาดอกไม้ เช่น ดอกคูณ ดอกชะมั่ง (ดอกเล็บมือนาง) ดอกอินทรีย์ (ดอกนนท์ทรีย์) และดอกจำปาลาว (ลีลาวดี) เป็นต้น เก็บมามาก ๆ เอามาแช่น้ำไว้ไม่ให้เหี่ยว และนำมาแบ่งปันกันในครอบครัว หรือบ้านใกล้เคียงหรือเพื่อน ๆ หนุ่ม สาว

๒. เมื่อเวลาประมาณ ๔ –๕ โมงเย็น พระสงฆ์และลูกศิษย์วัดที่มีฆ้องจะออกจากวัดไปตามถนนเรียบคลอง ลูกศิษย์วัดจะตีฆ้องไปด้วย จนถึงจุดนัดหมาย เสียงฆ้องจะเป็นสิ่งบอกเตือนชาวบ้านว่า ถึงเวลาแล้วนะ ซึ่งบางคนก็ไปรอที่จุดนัดหมายก่อนแล้วก็มี ซึ่งชาวบ้านที่ไปก่อนก็จะไปร่วมสนุกสนานทำการร่ายรำร่วมปรบมือ ร้องเพลงพื้นบ้าน การเล่นพื้นเมือง ชมการจุดบั้งไฟ ตะไล เป็นต้น

๓. เมื่อได้เวลาพระท่านจะบอกให้ลูกศิษย์วัดตีฆ้องออกนำหน้า ตามด้วยผู้อาวุโสอุ้มถาดที่มีพระพุทธรูปเล็ก ๆ ต่อมาคือพระสงฆ์ ประมาณ ๔ –๕ รูป ตามด้วยขบวนดนตรี อาจเป็นแคนหรือฆ้อง –กลองยาวแล้วแต่โอกาส ตามด้วยประชาชนที่มาร่วมขบวนแห่ทุกคนจะมีดอกไม้คนละ ๑ กำมือ ประมาณ ๑๐ ช่อทุกคน แลดูสีของดอกไม้ในมือ สีเสื้อผ้า เสียงโห่ร้อง เสียงดนตรี ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

มันคืออะไรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง สำหรับผู้ได้มาพบเห็น เมื่อขบวนผ่านหน้าบ้านผู้ใด ก็จะมีถังน้ำอบ –น้ำหอมตั้งไว้หน้าบ้าน ผู้ที่มีดอกไม้ในมือก็นำดอกไม้ไปจุ่มแล้วนำมาพรมกันและกัน พร้อมให้ศีลให้พรกันไปตลอดจนถึงวัด เมื่อถึงวัดพระสงฆ์จะนำดอกไม้ที่มีผู้ถวายไปวางเคารพยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แล้วประชาชนก็จะทำอย่างนั้น เรียบง่ายสวยงาม ทุกคนต่างยิ้มแย้มแจ่มใส อิ่มบุญ ไปทุก ๆคนจากนั้นก็แยกย้ายกลับบ้าน รุ่งขึ้นทำบุญเช้าที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

เชื่อว่า เป็นการเคารพ คารวะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ซึ่งบางคนก็จะนำน้ำอบ –น้ำหอมไปปะพรมด้วย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่

คุณค่าของประเพณี

นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่มาก สวยงาม –เรียบง่าย ส่งเสริมให้ผู้คนได้แสดงออกถึงความมีน้ำใจ ปรารถนาดีต่อกัน ด้วยการปะพรมน้ำอบน้ำหอมแก่กัน ให้พรที่ดีงามต่อกัน ระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ กัน รู้จักเคารพ ให้เกียรติกันนับเป็นประเพณีที่ดีงามควรแก่การรักษา พัฒนาอย่างยิ่ง ในสภาวะที่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาประเทศชาติของเรา

สถานที่จัด

บริเวณวัดบ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Location
บ้านสิงห์
Tambon บ้านสิงห์ Amphoe Photharam Province Ratchaburi
Details of access
สภาวัฒนธรรมอำเภอโพธาราม
Reference นายชูชีพ เกสร
No. 13 Moo 6
Tambon บ้านสิงห์ Amphoe Photharam Province Ratchaburi
Tel. ๐๓๒ – ๒๓๑๘๘๖
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่