ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 14' 8.8678"
15.2357966
Longitude : E 100° 41' 35.268"
100.6931300
No. : 145952
กระบี่กระบอง
Proposed by. jittra Date 13 July 2012
Approved by. ลพบุรี Date 25 July 2012
Province : Lop Buri
0 1022
Description

“กระบี่ กระบอง”ที่วัดหนองตาแดง ต.ยางโทน อ.หนองม่วง จ.ลพบุรีมีประวัติความเป็นมาว่าเป็นทั้งศาสน์และศิลป์ของคนไทย มีมาในครั้งใดก็จะต้องไปเปิดประวัติศาสตร์ชาติไทยของเราว่าชาติไทยของเราเป็นไทยเมื่อใด วิชาการต่อสู้ป้องกันตัวก็มีมาในสมัยนั้นถึงปัจจุบันนี้ก็ยังใช้วิชานี้เป็นการต่อสู้และป้องกันตัว ด้วย
ในประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ก็มีการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยวิชานี้ สมัยกรุงศรีอยุธยาก็ต่อสู้ด้วยวิชานี้ จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ต่อสู้ ขับไล่ผู้ที่มารุกรานบ้านเมืองก็ด้วยวิชานี้ ถึงแม้ในทุกวันนี้ก็เหมือนกัน พวกนักศึกษาวัยรุ่นก็ยังพกอาวุธจำพวกนี้ เช่น มีดดาบ กระบอง เป็นอาวุธประจำด้วย
แหล่งที่มีการแสดงวิชานี้ เป็นทั้งการแสดง เป็นทั้งการแข่งขัน เป็นทั้งการออกกำลังกาย เป็นทั้งการอนุรักษ์ให้คู่ชาติไทยตลอดไป เป็นทั้งการเชิดชูเกียรติคุณบรรพบุรุษ การแสดงนั้นจะแสดงกันในพิธีเปิดงานอนุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช งานประจำจังหวัดที่มีประวัติการต่อสู้ของบรรพบุรุษชาติไทย งานต่างๆที่ทางราชการจัด เช่น งานกาชาด งานประจำปีของจังหวัด และการแสดงโชว์ในงานต่างๆ จนกระทั่งงานวัด งานสถานศึกษา งานเปิดการแข่งขันกีฬา สนามชกมวย ทั้งในและต่างจังหวัด ซึ่งวัดหนองตาแดง จะมีเจ้าคณะอำเภอหนองม่วง คือ พระครูปัญญาวีรยุต จะเป็นผู้ฝึกซ้อมให้
ด้านความเชื่อโดยมากในความเชื่อของคนในสมัยใหม่นี้ ครูอาจารย์จะสอนให้ลูกศิษย์ที่มาศึกษาเล่าเรียน วิชากระบี่ กระบอง นี้มีความกตัญญูกตเวที ต่อประเทศชาติ ต่อบรรพบุรุษ และในทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย มีความเชื่อและรักษ์ และยังสอนให้ลูกศิษย์ที่มาเรียน มีความสามัคคีกัน ถึงแม้ว่าจะมาจากถิ่นที่ใด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
เครื่องแต่งกาย มงคลสวมหัว กระบี่ ดาบหวาย ดาบเหล็ก(ดาบไฟ) พลอง ง้าว ดั้ง โล่ ไม้ศอก เพลง ปี่ชวา กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ
ลักษณะของสถานที่แสดง
เวทีมีความใหญ่พอจะแสดงได้ สนามหญ้า สนามกีฬา ท้องสนามหลวง โรงยิม พื้นที่ไม่ลื่นหรือมีก้อนกรวดก้อนหิน และเป็นหลุมเป็นบ่อ รูปของสนามเป็นรูป 4 เหลี่ยม กลางสนามเป็นที่ต่อสู้ ประมาณ 4+ 5 ม.ขึ้นไป ผู้ชมจะนั่งชมเป็นวงกลม เป็นส่วนมาก
จำนวนผู้แสดงเพศแสดงเป็นคู่ ตั้งแต่ ๒ คน ขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ ทั้ง หญิงและชาย
เครื่องแต่งกายส่วนมากจะแต่งกายชุดนักรบไทยสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ค่ายบางระจัน เพศชาย กางเกงขายาว หรือขาสั้น ก็ได้มีซิปปลายขา เสื้อแขนยาว หรือแขนสั้นก็ได้ มีซิปที่ปลายแขนคอกลม มีซิปมีเชิงที่หน้าอก เพศหญิง โดยมากจะนุ่งผ้าจูงกระเบน เสื้อแขนยาว หรือแขนสั้นก็ได้ ใส่ตะเบงมานที่หน้าอก
วิธีการแสดงตามลำดับแสดงทีละคู่ หรือเป็นเรื่อง ยกทัพ ออกรบ ตั้งค่าย จะเป็นค่ายพระนเรศวร ค่ายพระเจ้าตากสินมีการต่อสู้และป้องกันตัวด้วยอาวุธ ทั้งที่มีคม และไม่มีคม มีเท้า เข่า ศอก มือ เป็นต้น

ท่ารำที่ใช้ในการแสดงเป็นท่ารำไทยเดิม มีอาวุธประจำกายเป็นเครื่องมือ ท่านั่ง ถวายบังคม จับอาวุธ ขึ้นพรหมนั่ง พรหมยืน มีเป็นท่ารำ เช่น เรียงหมอน ช้อนกระบี่ ทัดหู ท่านาง ท่าเจ้า ท่ายักษ์ ท่าลิง ท่าขุนพล เป็นส่วนมาก และจะรำเข้าจังหวะกับปี่กลองที่ใช้การแสดงด้วย ดูสวยงาม
การเปลี่ยนแปลง หรือในสภาพปัจจุบัน
กระบี่ กระบอง เป็นทั้งวิชาการต่อสู้ และการป้องกันตัว ผู้ที่ศึกษาจนชำนาญจะสามารถหลบหลีกศาสตราวุธ เมื่อถึงคราวจำเป็นจะเอาตัวรอดพ้นจากอันตรายได้ ในเมื่อสังคมปัจจุบันย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยตามกาลเวลาเพราะสังคมปัจจุบันมีความเจริญมาก จึงหาผู้ที่จะมาฝึกสอน และผู้ที่จะมาศึกษาเล่าเรียนน้อย จนบางสำนักจะต้องเลิกไป เพราะไม่มีการแสดงออกก็ทำให้ผู้สอนผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเลิกล้มไปโดยปริยายนั้นเอง วิชากระบี่กระบอง ในปัจจุบันจะมีการเรียนการสอนตามสำนักต่างๆ เช่น สำนักดาบ”พุธไทศวรรย์”สำนักดาบ”ศรีไตรรัตน์”สำนักกรมพละศึกษา วิทยาลัยนาฎศิลป หรือตามวัดในพระพุทธศาสนา ที่ยังมีเด็กวัดอยู่ ก็จะสอนกันเป็นหมู่เป็นคณะ เพื่อเป็นการแสดง เป็นการอนุรักษ์ไม่ให้สูญไปนั่นเอง

Location
วัดหนองตาแดง
No. 50 Moo 5
Tambon ยางโทน Amphoe Nong Muang Province Lop Buri
Details of access
วัดหนองตาแดง
Reference พระครูปัญญาวีรยุต
Organization วัดหนองตาแดง
No. 50 Moo 5
Tambon ยางโทน Amphoe Nong Muang Province Lop Buri ZIP code 15170
Tel. 081 7917516 Fax. 036 431493
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่