ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 24' 28.6211"
16.4079503
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 6' 18.6199"
103.1051722
เลขที่ : 150493
การสานแหบ้านโนนงิ้ว
เสนอโดย rose วันที่ 14 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย มหาสารคาม วันที่ 19 สิงหาคม 2555
จังหวัด : มหาสารคาม
1 1541
รายละเอียด

การสานแห

แหเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขอบตีนแหจะมีโซ่ทำด้วยเหล็ก(ลูกแห) เพื่อใช้ถ่วงแหให้จมตัวได้เร็ว แหที่ใช้มักไม่คงทน จะชำรุดและต้องซ่อมเสมอ เพือเพิ่มความเหนียวของแหชาวบ้านจึงนำเปลือกของต้นประดู่ ไปต้มและสกัดเอาน้ำแล้วเอาแหแช่ลงไปในน้ำ ซึ่งมีผลให้เชือกที่ทำแหเหนียวทนทานขึ้นบางท้องถิ่นย้อมด้วยเปลือกและลูกตะโกโดยนำมาทุบแล้วแช่น้ำจนมีสีดำใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนแล้วนำแหลงไปย้อม

อุปกรณ์ในการสานแห

กิม หรือ จีม

เป็นอุปกรณ์ในการสานใช้กรอด้ายคล้ายกระสวยทอผ้า มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนหนาประมาณ ๓ - ๔ มิลลิเมตร กว้าง ๑ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว เจาะทะลุยาวตามส่วนหนึ่งในสามมีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู

ปาน หรือ ไม้แบบ

มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนคล้ายไม้บรรทัดยาว ๓-๖ นิ้ว หนาประมาณ ๒-๓

มิลลิเมตร ส่วนความกว้าง ขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ ( ตาแหขึ้นอยู่กับขนาด

ตัวปลา ที่เราต้องการ เช่น แหตาถี่ใช้สำหรับจับปลาที่มีขนาดเล็ก แหที่มีตาห่างใช้จับปลาขนาดใหญ่ )

เชือก หรือ ด้าย

โซ่ หรือ ลูกตะกั่ว หรือ ลูกแห

วิธีการสาน

เอาด้ายไนล่อนสีขาวมาทำจอม คือ จุดเริ่มต้นในการสานลักษณะการทำจอมมีบ่วงไว้

สำหรับห้อยแขวนระหว่างสาน การก่อจอมตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอม

เล็กจอมใหญ่เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น

ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปล่อยทั้งสองข้างประมาณข้างละ ๓ ซม.

ถักเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้สานแข/ตัวขยาย สานเรื่อยๆ ให้มีความยาวประมาณ ๓ เมตร ( หรือตามความต้องการ ) แล้วทำแหสำหรับผูกเพลาปล่อยตาลง อีกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร

นำโซ่หรือลูกตะกั่วหรือลูกแหมาสานต่อจากด้าย

วิธีการย้อม

เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่น

พอประมาณ ให้เอาแหลงแช่ประมาณ ๒-๓ ชม. จึงนำออกตากแดดให้แห้ง จากนั้น

นำไปแช่น้ำโคลนประมาณ๑-๓ชม. จึงนำไปวักแหก็จะมีสีดำคงทนไม่ขาดง่าย

สถานที่ตั้ง
การสานแหบ้านโนนงิ้ว
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านโนนงิ้ว ซอย - ถนน -
ตำบล เชียงยืน อำเภอ เชียงยืน จังหวัด มหาสารคาม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงยืน
บุคคลอ้างอิง ชวาลวรรณรัฐ อำเคน อีเมล์ rose_cookie@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเชียงยืน หมู่ ๑๙ ซอย - ถนน ขอนแก่น-ยางตลาด
ตำบล เชียงยืน อำเภอ เชียงยืน จังหวัด มหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44160
โทรศัพท์ 0818747618
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่