ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 30' 49.7581"
14.5138217
Longitude : E 100° 7' 52.6523"
100.1312923
No. : 15204
รายการศรีสุขนาฏกรรม
Province : Suphan Buri
0 2384
Description
เป็นการแสดงจากศิลปินของกรมศิลปากร 1. ระบำครุฑออกนารายณ์ทรงครุฑ ครุฑ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งคนครึ่งนก มีรูปร่างสง่างาม และมีพละกำลัง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพาหนะทรงของ องค์พระนารายณ์เทพเจ้า ดังนั้นครูทางนาฏศิลป์ จึงได้คิดทำระบำครุฑขึ้นจากบทร้องที่เป็น บทชมครุฑในละคร เรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนายอร่าม อินทรนัฏ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์โขน (ยักษ์) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ และบรรจุทำนองเพลง โดยนายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ 2. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “ถวายลิง - ชูกล่องดวงใจ” การสงครามระหว่างพระรามกับฝ่ายอสูรทศกัณฐ์ได้ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ด้วยทศกัณฐ์ได้ใช้บรรดา เพื่อน ๆ น้อง ๆ และลูก ๆ ช่วยกันทำศึก ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่พวกอสูรเหล่านั้นต้องสูญเสียชีวิตไปตาม ๆ กัน ด้วยฤทธาอานุภาพแห่งองค์พระราม หรือพระจักรีอวตาร จนในที่สุดทศกัณฐ์ต้องทำศึกด้วยตนเอง แต่ถึงแม้ พระรามจะเป็นฝ่ายชนะ ก็ไม่อาจที่จะสังหารทศกัณฐ์ดังเช่นที่สังหารเหล่าอสูรนั้น ๆ ได้ อันเป็นเหตุให้พระราม ทรงสงสัย และตรัสถามพิเภก ว่าเหตุใดทศกัณฐ์จึงไม่ตาย พิเภกกราบทูลว่าทศกัณฐ์ได้ทำพิธีถอดดวงใจ และได้นำ ดวงใจไปฝากไว้กับพระฤษีโคบุตร เพราะเกรงว่าเมื่อใดที่เกิดอารมณ์โกรธเกรี้ยว ดวงใจนั้นก็จะกลับเข้าร่างดังเดิม หากพระรามทรงได้ดวงใจของทศกัณฐ์มาขยี้ แล้วแผลงศรสังหารซ้ำ ทศกัณฐ์ก็จะตาย เมื่อพระรามได้ทรงทราบ ดังนั้น จึงทรงหาผู้รับอาสาไปล่อลวง พระฤษีโคบุตรเพื่อขอดวงใจของทศกัณฐ์ หนุมานทูลรับอาสาโดยขอเอา องคตไปด้วย เพื่อช่วยกันคิดการล่อลวงพระฤษี และนี่คือที่มาของโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนถวายลิง ชูกล่องดวงใจ 3. การแสดงนาฏศิลป์สมโภช 80 พระพรรษา นวมินทราชามหาราช เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษามหามงคล ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เวียนมาบรรจบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 บรรดาพสกนิกรทั่วสารทิศต่างมีความปลาบปลื้ม จึงต่างมาร่วมเฉลิมฉลอง ถวายความจงรักภักดี และถวายพระพรชัยมงคล ให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และทรงสถิตเป็นพระมิ่งขวัญชั่วกาลนาน ด้วยการแสดงนาฏศิลป์สมโภชดังนี้ - ระบำฉิ่ง เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่สวยงามชุดหนึ่ง ที่บ่งบอกความหมายถึงความ เกริกไกรก้องหล้า ด้วยสัญลักษณ์ ของเสียงดนตรีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ฉิ่ง” โดยผู้แสดงจะถือร่ายรำพร้อมกับตีจังหวะให้เข้ากับท่วงทำนองเพลง ซึ่งจะมีเสียงก้องกังวาน และเชื่อกันว่าพลานุภาพแห่งเสียงนี้ จะน้อมอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงให้มาประทาน ความเจริญรุ่งเรือง สุขสราญ สมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนา - จินตลีลาประกอบเพลงสถิตในหทัยราษฏร์ และเพลงรอยเบื้องยุคลบาท เป็นการแสดงที่ใช้ลีลาท่าทางให้ผสมกลมกลืนไปตามคำร้อง ทำนองและจังหวะของเพลงรอยเบื้องยุคลบาทและเพลงสถิตในหทัยราษฏร์ ซึ่ง นายเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง และทำนองเพลง อันมีความหมายเทิดพระเกียรติ และแสดงความเทิดทูนจงรักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา - ฟ้อนเทียน ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบหนึ่งตามลักษณะการฟ้อนทางภาคเหนือของประเทศไทย หญิงสาวจะถือ เทียนจุดไฟมือละเล่มทั้งสองมือ ฟ้อนไปตามท่วงทำนอง จังหวะเพลง เมื่อดับเทียนแล้ว จึงร่ายรำตามบทร้อง ที่บ่งบอก ความหมาย ถึงความ รื่นเริงบันเทิงใจที่ได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย - รำกระทบไม้ รำกระทบไม้ เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวลุ่มแม่น้ำโขง แถบตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งหนุ่มสาวชาวไทย ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา นิยมเล่นกัน โด ผู้เล่นทุกคนร่วมกันร้องร่วมกันรำ และนำไม้กระบอกมาวางกระทบกันตามจังหวะ เป็นที่นิยมยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ ทำนองเพลงร้องได้รับความนิยมแพร่หลายเข้ามาในภาคกลาง ทำให้เกิดบทร้องขึ้นต่าง ๆ พร้อมทั้งทำนองก็ได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยอาศัยสำเนียงและจังหวะเดิมเป็นหลัก - รำเถิดเทิง เถิดเทิง หรือ กลองยาว เป็นชื่อกลองชนิดหนึ่งของไทยที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีตีประกอบการเล่นรื่นเริงบันเทิงใจทั่วทุกภูมิภาค นิยมตีนำขบวนแห่ต่าง ๆ อาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยนำการเล่นเถิดเทิงมาปรับปรุงให้มีกระบวน การเล่น และการแต่งกายที่เป็นระเบียบแบบแผน โดยจัดให้ผู้ชายเป็นฝ่ายตีกลองรำคู่กับผู้หญิง และมีผู้ตีกลองเถิดเทิง ประกอบจังหวะ พร้อมด้วย ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง - เซิ้งกะโป๋ เซิ้งกระโป๋ เป็นการละเล่นของหนุ่มสาวชาวอีสานตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศีรษะเกษ และบุรีรัมย์ กระโป๋ คือ กะลามะพร้าว ผู้แสดงถือกะลาคนละ 2 ชิ้น ใช้ประกอบการรำด้วยลีลาท่าทางที่ว่องไวและสนุกสนาน ลายที่ใช้ประกอบการแสดง คือกระโป๋ เครื่องดนตรี คือวงโปงลาง 4. รำถวายอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช-นครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466 เป็นพระธิดาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระอนุชาเป็นพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม 2551 ศิลปินกรมศิลปากร ขอน้อมระลึกถึงกระกรุณาธิคุณที่ทรงมีแด่ปวงชนชาวไทย และขอร่วมถวายอาลัยด้วยการขับร้อง และฟ้อนรำ ดังบทร้อง ซึ่งประพันธ์โดย นางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรี 9 ชช. หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ และบรรจุเพลงโดยนายสมชาย ทับพร คีตศิลปิน 8 ว. รักษาการณ์คีตศิลปิน 9 ชช. หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย จัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวัน จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2551
Location
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
No. 119 Moo 1 Road สุพรรณชัยนาท
Tambon สนามชัย Amphoe Mueang Suphan Buri Province Suphan Buri
Details of access
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
Reference นายวิรัตน์ คำแข็งขวา Email theatre_suphan@yahoo.com
Organization โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี Email theatre_suphan@yahoo.com
No. 119 Moo 1 Road สุพรรณชัยนาท
ZIP code 72000
Tel. 035-5335112 Fax. 035-5335112
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่