ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 5' 50.0722"
17.097242281906855
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 2' 48.0072"
104.04666867000404
เลขที่ : 159656
มหัศจรรย์ 3 ดำ
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 21 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 21 กันยายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
1 1958
รายละเอียด

มีความเชื่อว่า อาหารสีดำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้นมีพลังเสริมสุขภาพ หลายพันปีมาแล้ว ชาวจีนที่นิยมบริโภคอาหารดำ จะมีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว สำหรับจังหวัดสกลนคร โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสิ่งมหัศจรรย์สีดำ 3 อย่าง ไ ด้แก่

- ไก่ดำ - หมูดำ- วัวดำ

ไก่ดำ

จัดเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วย คนชรา คนท้องและหลังคลอด หรือผู้ต้องการบำรุงสุขภาพโดยเชื่อว่าไก่ดำ ถ้าบริโภคสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย ทำให้สมองแจ่มใส กระชุ่มกระชวย เสริมสร้างสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย ไก่ดำภูพาน เป็นไก่ดำสายพันธุ์ใหม่ที่งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ศึกษาและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ให้ได้ไก่ดำ พันธุ์ดี ทนโรค ทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย กินเก่งโตเร็ว สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและลดต้นทุนการผลิต

หมูดำ

พัฒนาสายพันธุ์จากสุกร 4สายพันธุ์ ที่มีจุดเด่นของแต่ละสายพันธุ์ที่แตกต่างกันคือ

1. สุกรพันธุ์เหมยซาน ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกรได้ดี

2. สุกรพันธุ์พื้นเมืองสกลนคร ขนาดลำตัวกะทัดรัด ทนต่อโรคระบาดใบหูเล็ก

3. สุกรพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ ลำตัวยาว ให้ปริมาณเนื้อแดงมาและไขมันต่ำ เหมาะสำหรับใช้เป็นสายพันธุ์

4. สุกรพันธุ์แลนด์เรซ เลี้ยงลูกเก่ง มีความสามารถให้นมดีเป็นพิเศษเหมาะสำหรับใช้เป็นสายแม่พันธุ์

จึงได้สุกรสายพันธุ์ภูพาน 1(หมูดำ) ที่มีลักษณะลำตัวสีดำ ลำตัวไม่ใหญ่มากนัก เล็บดำ หูตั้งกึ่งปรกเล็กน้อย จมูกสั้น เลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี แข็งแรง มีเนื้อแดงมาก มันน้อย

วัวดำ (โคเนื้อ)

วัวดำภูพาน เป็นพันธุ์ผสมระหว่าง โคทาจิมะ ผสมกับแม่พันธุ์เรดซินดี้ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มอบลูกวัวผสมพันธุ์ดังกล่าวให้แก่ศูนย์การศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร เป็นผู้ดูแลและรับผิดขอบ ในปีพ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานชื่อใหม่โดยให้ชื่อว่า“โคเนื้อภูพาน”

ลักษณะเด่นของโคเนื้อภูพาน

1.ขนปกคลุมร่างกายสีดำ

2.หลังตรง คอสั้น หูเล็ก เหนียงคอหย่อนยานเล็กน้อย

3.เพศผู้น้ำหนักโตเต็มที่ 700กิโลกรัม เพศเมียน้ำหนักโตเต็มที่ 550-600 กิโลกรัม

4.ให้เนื้อที่มีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อสูง

5.เป็นสัดครั้งแรกที่อายุประมาณ 14 เดือน

6.ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
หมู่ที่/หมู่บ้าน นานกเค้า
ตำบล ห้วยยาง อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
บุคคลอ้างอิง นายวิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพรช
ชื่อที่ทำงาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
หมู่ที่/หมู่บ้าน นานกเค้า
ตำบล ห้วยยาง อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042747470
เว็บไซต์ www.royal.rid.go.th/phuphan
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่