ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 3' 19.5016"
14.0554171
Longitude : E 99° 41' 12.8778"
99.6869105
No. : 16079
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
Proposed by. khandaw seejan Date 19 January 2011
Approved by. กาญจนบุรี Date 7 November 2022
Province : Kanchanaburi
3 935
Description

เจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลักจากที่พระองค์ได้กระทำยุทธหัตถีรับชัยชนะ
ต่อสมเด็จพระมหาอุปราชากษัตริย์แห่งเมืองพม่า ดังที่สรุปได้ดังนี้

๑. เส้นทางการเดินทัพของพม่า-ไทย ทัพพม่าจะเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทุ่งลาดหญ้า เขาชนไก่ เมืองกาญจนบุรีเก่า ปากแพรก พนมทวน (บ้านทวน) อู่ทอง สุพรรณบุรี ป่าโมกเข้าอยุธยา จะเห็นได้ว่าเจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพ คือที่ อำเภอพนมทวน จะเห็นได้ว่าเจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพ คือที่ อำเภอพนมทวน

๒. เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำทวน ซึ่งเป็นลำน้ำที่อยู่ในเส้นทางการเดินทัพ กองทัพมีคน ช้าง ม้า เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องอาศัยเสบียงอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ จึงเป็นไปได้ที่เส้นทางการเดินทัพจะเดินไปตามลำน้ำทวนที่ไหลผ่านอำเภอพนมทวน แล้วลงสู้ลำน้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตรงกับเส้นทางการเดินทัพดังกล่าว และตรงตามพระราชพงศาวดารที่กล่าวไว้ว่า “ลำน้ำทวนสายน้ำยุทธศาสตร์ใกล้สนามยุทธ” เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ อยู่ใกล้กับลำน้ำทวน โดยมีระยะห่างกัน 417 เมตร

๓. พงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ช้างศึกได้กลิ่นน้ำมันคชสารก็ตกมันตลบปะปนกันเป็นอลหม่าน พลพม่ารามัญก็โทรมยิงธนู หน้าไม้ปืนไม้ ระดมเอาพระคชสารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และธุมาการก็ตลบมืดเป็นหมอกมัวไป แสดงว่าที่ทรงกระทำยุทธหัตถีพื้นที่จะต้องเป็นดิน ปนทราย จึงมีฝุ่นคลุ้งไปทั่ว จากพงศาวดารที่ได้กล่าวมานี้ทำให้สอดคล้องกับพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้ เนื่องจากพื้นที่รอบองค์พระเจดีย์ เป็นที่ดอนและดินปนทราย ซึ่งหลักฐานที่ประจักษ์ชัด คือ หมู่บ้านที่อยู่ติดกับองค์พระเจดีย์ ชื่อว่า “หมู่บ้านหลุมทราย” เพราะแต่เดิมพื้นที่แห่งนี้มีทรายเป็นจำนวนมาก

๔. ดอนเจดีย์แห่งนี้มีต้นข่อยขนาดใหญ่ (ปัจจุบันยังมีอยู่) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นข่อยที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อยู่ห่างจากองค์เจดีย์ ๒๔๕ เมตร ดังพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ครั้งเหลือบไปฝ่ายทิศขวาของพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรช้างหนึ่งยืนอยู่ ณ ฉายาข่อย มีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมากก็เข้าพระทัยถนัดว่าช้างพระมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองก็ขับพระคชสารตรงเข้าไป ทหารหน้าข้าศึกก็วางปืนจ่ารงคมณฑกนกสับตะแบงแก้วระดมยิงมิได้ต้องพระองค์และคชสาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าตรัสร้องเรียก ด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มเล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกันให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้นแล้วละอายพระทัย มีขัตยราชมานะก็บ่ายพระคชสารออกมารบ

๕. เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฟันพระมหาอุปราชาขาดคอช้างแล้ว ทพไทยได้ไปทันพอดี จึงไล่ฆ่าฟันทหารพม่าจากเจดีย์ยุทธหัตถีไปจนถึงเมืองกาญจนบุรีเก่า ทหารไทยฆ่าผู้คนพม่า ๒๐,๐๐๐ คน จับช้างใหญ่สูง ๖ ศอกได้ ๓,๐๐๐ เชือก ช้างพลายพัง ๕๐๐ เชือก ม้าอีก ๒,๐๐๐ เศษ จะเห็นว่าจากเจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ ไปถึงเมืองกาญจนบุรีเก่า มีระยะทางยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่ห่างกันไม่มากนัก จึงเป็นไปได้ที่ทหารไทยจะไล่ฆ่าฟันพม่าภายในเวลา ๑ วัน

๖. ราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวไว้ว่า การทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ได้กระทำใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับสภาพพื้นที่เจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์แห่งนี้ยังมีวัดร้างอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ ๑.๕ กิดลเมตร ปัจจุบัน คือ วัดบ้านน้อย และยังมีเจดีย์และโบสถ์เก่าแก่ ให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้

๗. พื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีและบริเวณใกล้เคียงชาวบ้านพบกระดูกช้าง กระดูกม้า กรามช้าง กะโหลกม้า และกระดูกคนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถานที่แห่งนี้จะต้องเป็นที่กระทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ หากไม่เช่นนั้นแล้วคงจะไม่มีมากมายถึงขนาดนี้

๘. ชาวบ้านดอนเจดีย์ ได้พบเครื่องศาสตราวุธ เครื่องช้าง เครื่องม้า ซึ่งประกอบด้วย หอก ดาบ ยอดฉัตร โกลนม้า ขอสับช้าง โซ่ล่ามช้าง แป้นครุฑจับนาค แป้นครุฑขี่สิงห์จับนาค

๙. ชาวบ้านดอนเจดีย์ส่วนใหญ่ ใช้นามสกุล คชายุทธ มาลาพงษ์ ดอนเจดีย์ และฟักช้าง (คำว่า “ฟักช้าง”น่าจะมาจากคำว่า “พักช้าง” ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ ที่พระมหาอุปราชาทรงพักช้างที่บริเวณใต้ต้นข่อย)จะเห็นได้ว่านามสกุลเหล่านี้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์เจดีย์ และการตั้งนามสกุลได้ตั้งในสมัย
รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเริ่มค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถี

๑๐. ชื่อตำบลตระพังตรุ ที่ระบุในพระราชพงศาวดาร เป็นสถานที่ที่มีอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จริง ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับแขวงเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้แบ่งเขตการปกครองโดย อำเภอพนมทวน มาขึ้นกับ จังหวัดกาญจนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๓

๑๑. เจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ที่วัดวรเชษฐาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้สร้างในสมัยอยุธยา

จากหลักฐานดังกล่าวที่อ้างมานี้ น่าจะเชื่อได้ว่าเจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเจดีย์ที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อสมเด็จพระอุปราชา กษัตริย์แห่งเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕

วันแรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ของทุกปีซึ่งตรงกับวันชนะศึก ชาวบ้านดอนเจดีย์ พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ร่วมกันทำพิธีบวงสรวงและทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และนักรบโบราณ ที่ได้สละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยให้คงอยู่ตราบเท่า ทุกวันนี้

Category
Monument
Location
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
Moo
Tambon ดอนเจดีย์ Amphoe Phanom Thuan Province Kanchanaburi
Details of access
นเรศ นโรปกรณ์ และคณะ. (๒๕๑๖). เจดีย์ยุทธหัตถีมีมาอย่างไร. กาญจนบุรี. สมาคมชาวกาญจนบุรี. พยงค์ เวสสบุตร
Moo
Tambon ดอนเจดีย์ Amphoe Phanom Thuan Province Kanchanaburi
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่