ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 41' 37.4618"
18.6937394
Longitude : E 99° 2' 57.8803"
99.0494112
No. : 161100
วัดแสนหลวง
Proposed by. nene1180 Date 26 September 2012
Approved by. เชียงใหม่ Date 1 October 2012
Province : Chiang Mai
0 632
Description

วัดแสนหลวง ตำบลยางเนิ้ง สร้างด้วยศรัทธาเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือท่านหนึ่งซึ่งได้รับราชการตำแหน่ง“แสนหลวง” ในราชวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงพระนามว่า “เจ้ากาวิละ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๙ มีประวัติโดยสังเขปดังนี้

ในรัชสมัยพระเจ้าเมกุฏได้เสียเมืองเชียงใหม่ให้แก่จอมกษัตริย์ผู้ยิ่งยงแห่งพุกามประเทศ“บุเรงนองมหาราช” ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมานครเชียงใหม่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเป็นเวลาช้านาน

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๑๗“พระยาจ่าบ้าน” (บุญมา) ซึ่งเป็นน้าของพระเจ้ากาวิละได้ร่วมคิดกับพระเจ้ากาวิละนำทัพของพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งตั้งตนเป็นใหญ่หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองเชียงใหม่ ทำการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินลานนา เมืองเชียงใหม่จึงเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง แต่หาความสุขมิได้ ไพร่ฟ้า –ประชากรไม่เป็นอันทำมาหากิน เนื่องจากถูกพม่ายกทัพมารบกวนอยู่เสมอซ้ำรายยังขาดแคลนเสบียงอาหาร ประกอบกับป้อมคูประตูหอรบ ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอพยพผู้คนถอยร่นจากเมืองเชียงใหม่มาตั้งรับข้าศึกอยู่ ณ เวียงหวาก (ปัจจุบันเวียงหวากอยู่ในอำเภอสารภี)

เดิมอำเภอสารภี ชื่ออำเภอป่ายางเนิ้ง (เลิ้งเอนปลายไปทางทิศตะวันออก“เลิ้ง” แปลว่า ใหญ่ –ผู้เรียบเรียง) มีต้นยางใหญ่ต้นหนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ขนาดสามคนโอบต้นยางนั้นยังขาดไป ๑ คืบ ต้นยางใหญ่นี้อยู่แถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์สุขาภิบาลยางเนิ้งแต่ก่อน

ส่วนเวียง หรือ เมืองหวากยังปรากฏเห็นกำแพงดินอยู่เป็นตอน ๆ แถวหลังโรงฆ่าสัตว์ถึงบ้าน พ.ต.ต. อุดม กตัญญู และบ้านลุงอ้าย แม่แดง สันคือ (คู) ตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนอื่น ๆ นั้นถูกน้ำท่วม น้ำเซาะพังทลายไปบ้าง ถูกบุกเบิกเป็นไร่ นา สวน ไปบ้าง

เมื่อสร้างเมือง (เวียงหวาก) เสร็จแล้ว พระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านซึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีความเห็นชอบตรงกัน อยากจะสร้างวัดเป็นอนุสรณ์สักวัดหนึ่งไว้บำเพ็ญกุศลของข้าราชการในสำนัก และไพรฟ้าประชากร จึงประชุมเสนาอำมาตย์และชาววัง ที่ประชุมให้ความเห็นพร้อมกันแสดงความยินดี“แสนหลวง” ได้รับมอบหน้าที่เป็น “สล่า” (นายช่าง) ออกแบบก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๓๘

ต่อมาไม่นานนักพ่อเจ้าแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรม จากนั้นอีกเพียง ๓ วัน เจ้ามหาเถรจ่อคำโต๊ะโร เจ้าอาวาสได้ถึงแก่มรณภาพ พระเจ้ากาวิละจึงจัดปลงศพ (เผาศพ) พร้อมกัน เมื่อทำบุญปลงศพแล้วจึงให้สล่าแต่งหอ (ศาล) ไว้ ๒ หอ หอคำให้สร้างที่หลังวิหาร แต่ได้สร้างพระวิหารหลังใหม่ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ หอคำหลังนี้ก็หายสาบสูญไป หอพ่อเจ้าแสนหลวง สร้างไว้ที่แจ่ง (มุม) กำแพงวัดด้านเหนือ คือ ที่ศาลาบาตรใกล้ต้นโพธิ์ปัจจุบัน เพราะได้ขยายกำแพงออกไป หอศาลเจ้าพ่อแสนหลวงจึงได้ตั้งอยู่ในวัด ณ ต้นโพธิ์ตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ศาลเจ้าพ่อแสนหลวงได้ถูกโยกย้ายปลูกขึ้นใหม่หลายครั้ง

เมื่อเจ้าพ่อแสนหลวงได้สิ้นบุญไปสู่บุญแล้ว พระเจ้ากาวิละ และพญาจ่าบ้าน จึงได้กรุณาโปรดให้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า“วัดแสนหลวง” เพื่อเป็นอนุสรณ์ของ “พ่อเจ้าแสนหลวง” สืบพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป และเป็นที่สักการบูชาอบรมศีล สมาธิ ปัญญาของพุทธศษสนิกชนต่อไปอีกนานเท่านาน

Category
Religious place
Location
วัดแสนหลวง
Moo 3 Road เชียงใหม่-ลำพูน
Tambon ยางเนิ้ง Amphoe Saraphi Province Chiang Mai
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสารภี
Reference หฤท้ย พลารักษ์ Email pharuethai@yahoo.co.th
Organization สำนักงานวัฒนธรรม Email pharuethai@yahoo.co.th
No. 56 Moo 3 Road เชียงใหม่-ลำพูน
Tambon ยางเนิ้ง Amphoe Saraphi Province Chiang Mai ZIP code 50140
Tel. 053 322405 Fax. 053 322405
Website culturecm.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่