ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 52' 51.9679"
15.8811022
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 14' 27.1864"
104.2408851
เลขที่ : 161459
แกะสลักไม้
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 27 กันยายน 2555
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 27 กันยายน 2555
จังหวัด : ยโสธร
0 1494
รายละเอียด

การแกะสลักไม้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสาน สืบทอดมากจากบรรพบุรุษ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแกะสลักลวดลายบนไม้เนื้อแข็งซึ่งไม้ที่แกะได้งานละเอียดคือไม้ประดู่ ส่วนมากจะแกะสลักเป็นลวดลายเหมือนภาพพุทธประวัติ ซึ่งจะนำไปทำเป็นบานประตู หน้าต่าง โบสถ์ วิหาร เมื่อเสร็จช่างแกะสลักจะเป็นผู้นำไปติดตั้งให้และรับประกันหลังการติดตั้งถ้าเปิด - ปิดไม่ได้ก็สามารถติดต่อให้แก้ไขให้ได้

การแกะสลักไม้ จำเป็นต้องมีวิธีการแปลกออกไปแล้วแต่สภาพ เช่น การแกะบานประตูหน้าต่างอาจใช้ไม้แผ่นเดียวทำได้สำเร็จ แต่การแกะหน้าบัน พระที่นั่งโบสถ์มีขนาดใหญ่ วิธีการแกะจึงต้องเพลาะไม้หลายแผ่นเข้าด้วยกัน แต่อาจจะเรียงต่อกันโดยยึดพอที่จะแกะ เสร็จแล้วจึงถอดเป็นชิ้นส่วนนำขึ้นไปประกอบทีละแผ่น หรือลวดลายที่ต้องการแสดงรูปเกือบลอยตัวก็แยกแกะต่างหากตามแบบแล้วนำเดือย สลักติดเข้ากับตัวลายหน้าบันนั้น ๆ ต่อไป ในปัจจุบันการแกะสลักก็ยังคงยึดวิธีการแบบโบราณ แต่มีการวิวัฒนาการปรับปรุงเครื่องมือเข้ามาช่วย ก็คือการใช้เครื่องมือขุดพื้น การลอกแบบลงบนไม้ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการปรุกระดาษแล้วโรยฝุ่น หรือใช้เขียนลงบนไม้ ก็ใช้พิมพ์เขียวแล้วทากาวผนึกลงบนไม้ แต่ละใช้ได้เฉพาะแกะให้รู้รูปร่าง แต่เมื่อโกลนหุ่นแล้วก็ต้องใช้วิธีการเขียนแบบเดิมซึ่งทำกันมาแต่โบราณ

ขั้นตอน

1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง

2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้

3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป
การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ

4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ
การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

เป็นการแกะสลักลวดลายบนไม้เนื้อแข็งซึ่งไม้ที่แกะได้งานละเอียดคือไม้ประดู่ ส่วนมากจะเป็นงานที่ทางคณะสงฆ์

เป็นผู้สั่งให้จัดทำไม้ก็เป็นของเจ้าภาพหามาเพื่อแกะสลักตามลวดลายที่ต้องการส่วนมากเป็นภาพพุทธประวัติซึ่งนำไป

ทำบานประตู หน้าต่างโบสถ์ วิหาร เมื่อเสร็จช่างแกะสลักจะเป็นผู้นำไปติดตั้งให้และรับประกันหลังการติดตั้งถ้าเปิด-

ปิดไม่ได้ก็สามารถติดต่อให้แก้ไขให้ได้

สถานที่ตั้ง
บ้านนาสะไมย์
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๓ บ้านนาสะไมย์
ตำบล นาสะไมย์ อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองยโสธร
บุคคลอ้างอิง นายประจักษ์ เจริญบุตร
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมตำบลนาสะไมย์
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ ๑๓ บ้านนาสะไมย์
ตำบล นาสะไมย์ อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000
โทรศัพท์ 08 9626 5890
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่