ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 38' 59.9798"
13.6499944
Longitude : E 102° 5' 47.4382"
102.0965106
No. : 162275
การทำไม้กวาดทางมะพร้าว บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ 9 ตำบลเขาฉกรรจ์
Proposed by. สระแก้ว Date 2 October 2012
Approved by. สระแก้ว Date 3 October 2012
Province : Sa Kaeo
0 633
Description

ไม้กวาดทางมะพร้าวเป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านหรือหน่วยงาน โรงงาน จัดซื้อไว้ใช้งาน ทำให้ชาวบ้านหนองกระทุ่ม หมู่ ๙ ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ทำเป็นอาชีพ หารายได้เลี้ยงครอบครัว โดยมีวิธีการทำ ดังนี้

วัสดุ/อุปกรณ์

๑. ก้านมะพร้าว

๒. ไม้ไผ่ ขนาดความยาว ๑ เมตร ๑๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ด้านปลายของไม้ไผ่ทำเป็นกากบาทไว้สำหรับร้อยไม้กวาดทางมะพร้าว

๓. เชือกพลาสติกที่มีความเหนียวมาตัดเป็นเส้น ๆ ความยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร

๔. ลวด

๕. มีด

๖. แปรงทาสี

๗. เชลแล็คทาไม้

๘. ตะปู ขนาด ๑ นิ้ว

วิธีการทำ

๑. นำก้านมะพร้าวที่เหลาแล้วมาเขย่าเพื่อแยกความสั้น ยาว ออกจากกัน จะแยกเป็นยาวมาก ยาวปานกลางและสั้นหรือมินิ

๒. นำก้านมะพร้าวที่แยกแล้วซึ่งมีความยาวมาก และความยาวปานกลางมาประกับกัน แต่วางเยื้องกันเพื่อให้ปลายก้านมะพร้าวยาวเท่ากัน เป็นการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำลวดมามัดไว้เป็นกำ ๆ ละ ๔ ขีด ซึ่งเป็นขนาดกลาง สำหรับขนาดใหญ่ กำละ ๗ ขีด

๓. นำค้อนมาทุบบริเวณตรงลวดที่มัดก้านมะพร้าวไว้ให้แบนก่อน ก่อนนำก้านมะพร้าวที่มัดลวดไว้มาใช้ หลังจากนั้น นำเชือกพลาสติกที่เตรียมไว้มาถักและร้อยก้านมะพร้าวโดยประกบกับปลายของไม้ไผ่ที่ทำเป็นกากบาทไว้ทั้ง ๒ ด้าน ระยะห่างจากลวดไปถึงเชือกที่ร้อยประมาณ ๒ นิ้ว

๔. ตอกตะปูยึดกับไม้ไผ่ที่ร้อยก้านมะพร้าวไว้แล้ว ประมาณ ๒ ตัว เพื่อความแน่นหนา แล้วรวบมัดก้านมะพร้าวที่ร้อยกับไม้ไผ่ไว้ด้วยลวดอีกครั้งหนึ่ง เก็บงานโดยใช้เลื่อยตัดก้านมะพร้าวบริเวณด้านหัวให้เรียบเสมอกัน

๕. นำไม้ไผ่ที่มัดด้วยก้านมะพร้าวเรียบร้อยแล้วมาทาเชลแล็คทาไม้ เพื่อเพิ่มสีสันระหว่างเชือกที่ร้อยและลวด ตากไว้ให้แห้ง แล้วจึงนำมามัดรวมกัน มัดละ ๑๐ อัน ตัดปลายก้านมะพร้าวให้เท่ากัน นำไปเก็บรวมไว้จำหน่ายต่อไป

ราคาจำหน่ายราคาขายส่ง ขนาดกลาง อันละ ๓๕ บาท/อัน

ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านหรือหน่วยงาน โรงงานจัดซื้อไว้ใช้งาน ทำให้ชาวบ้านหนองกระทุ่ม หมู่ ๙ ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ทำเป็นอาชีพ หารายได้เลี้ยงครอบครัว โดยมีวิธีการทำ ดังนี้

วัสดุ/อุปกรณ์

๑. ก้านมะพร้าว

๒. ไม้ไผ่ ขนาดความยาว ๑ เมตร ๑๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ด้านปลายของไม้ไผ่ทำเป็นกากบาทไว้สำหรับร้อยไม้กวาดทางมะพร้าว

๓. เชือกพลาสติกที่มีความเหนียวมาตัดเป็นเส้น ๆ ความยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร

๔. ลวด

๕. มีด

๖. แปรงทาสี

๗. เชลแล็คทาไม้

๘. ตะปู ขนาด ๑ นิ้ว

วิธีการทำ

๑. นำก้านมะพร้าวที่เหลาแล้วมาเขย่าเพื่อแยกความสั้น ยาว ออกจากกัน จะแยกเป็นยาวมาก ยาวปานกลางและสั้นหรือมินิ

๒. นำก้านมะพร้าวที่แยกแล้วซึ่งมีความยาวมาก และความยาวปานกลางมาประกับกัน แต่วางเยื้องกันเพื่อให้ปลายก้านมะพร้าวยาวเท่ากัน เป็นการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำลวดมามัดไว้เป็นกำ ๆ ละ ๔ ขีด ซึ่งเป็นขนาดกลาง สำหรับขนาดใหญ่ กำละ ๗ ขีด

๓. นำค้อนมาทุบบริเวณตรงลวดที่มัดก้านมะพร้าวไว้ให้แบนก่อน ก่อนนำก้านมะพร้าวที่มัดลวดไว้มาใช้ หลังจากนั้น นำเชือกพลาสติกที่เตรียมไว้มาถักและร้อยก้านมะพร้าวโดยประกบกับปลายของไม้ไผ่ที่ทำเป็นกากบาทไว้ทั้ง ๒ ด้าน ระยะห่างจากลวดไปถึงเชือกที่ร้อยประมาณ ๒ นิ้ว

๔. ตอกตะปูยึดกับไม้ไผ่ที่ร้อยก้านมะพร้าวไว้แล้ว ประมาณ ๒ ตัว เพื่อความแน่นหนา แล้วรวบมัดก้านมะพร้าวที่ร้อยกับไม้ไผ่ไว้ด้วยลวดอีกครั้งหนึ่ง เก็บงานโดยใช้เลื่อยตัดก้านมะพร้าวบริเวณด้านหัวให้เรียบเสมอกัน

๕. นำไม้ไผ่ที่มัดด้วยก้านมะพร้าวเรียบร้อยแล้วมาทาเชลแล็คทาไม้ เพื่อเพิ่มสีสันระหว่างเชือกที่ร้อยและลวด ตากไว้ให้แห้ง แล้วจึงนำมามัดรวมกัน มัดละ ๑๐ อัน ตัดปลายก้านมะพร้าวให้เท่ากัน นำไปเก็บรวมไว้จำหน่ายต่อไป

ราคาจำหน่ายราคาขายส่ง ขนาดกลาง อันละ ๓๕ บาท/อัน

Location
บ้านหนองกระทุ่ม
No. 11 Moo 9 บ้านหนองกระทุ่ม
Tambon เขาฉกรรจ์ Amphoe Khao Chakan Province Sa Kaeo
Details of access
บ้านหนองกระทุ่ม
Reference นางทองหล่อ อรัญญิก
No. 11 Moo 9 บ้านหนองกระทุ่ม
Tambon เขาฉกรรจ์ Amphoe Khao Chakan Province Sa Kaeo ZIP code 27000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่