วัดแม่พระแจกจ่ายพระหรรษทาน ดอนม่วย ตั้งอยู่ที่บ้านดอนม่วย ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บ้านดอนม่วย ตั้งอยู่ในเขตตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 117-118 ของถนนนิตโย สาย 22 สกลนคร-อุดรธานี ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 85 ครอบครัวหรือประมาณ 890 คน นับถือสาสนาคริสต์เกือบทั้งหมด 1.ประวัติความเป็นมา แต่ก่อนบริเวณที่ตั้งบ้านดอนม่วยเป็นป่ารกชัฏและมีเถาวัลย์ชนิดพิเศษชื่อ“เครือม่วย”หรือ“เครือเม่ย”มากมายเป็นพิเศษ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า“ดอนม่วย” หรือ“ดอนเม่ย”ตามภาษาพื้นบ้าน ดินแดนแถบนี้มีความอุดมสมบูรณ์ชุ่มเย็นอยู่เสมอ มีหนองน้ำ 2 แห่งทางตอนเหนือของหมู่บ้านชื่อ หนองแวงใหญ่ หนองแวงน้อย ก่อนที่จะมีการตั้งหมู่บ้านที่มีอยู่จนถึงปัจจุบันนั้น มีผู้คนอาศัยบริเวณโดยรอบใกล้หนองน้ำทั้งสองนี้ โดยบริเวณที่ใกล้หนองแวงใหญ่นั้นชื่อ “บ้านห้างฮังแห้ง”และที่ใกล้ๆ บริเวณหนองแวงน้อยก็มีหมู่บ้านชื่อ“วังม่วง”หรือ “ดอนม่วย” แต่อาศัยอยู่ได้ไม่นานชาวบ้านก็ต้องอพยพหนีไปที่อื่นเนื่องจากมีโรคภัยไข้เจ็บอย่างร้ายแรง เพราะเชื่อว่ามีผีดุ ที่ตรงนั้นจึงกลายเป็นบ้านร้างไป ครั้นต่อมาประมาณ ปี ค.ศ.1917 นายช่วย ศรีวงษา (พ่อเฒ่าก่อย) ซึ่งรับราชการเป็นตำรวจเป็นชาวกาฬสินธุ์ และนายสอน จันทรักษ์ (เชียงสอน) เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมครอบครัวจากบ้านหนองเดิ่น ได้พากันออกมาทำไร่ทำนาบริเวณทิศตะวันออกของหมู่บ้านดอนม่วย เมื่อไถดำเสร็จแล้วได้หาที่ทางสำหรับตั้งบ้านเรือนอาศัยต่อไป ครั้นเก็บเกี่ยวเสร็จได้อาศัยตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงที่จับจองไว้ ไม่ได้กลับบ้านหนองเดิ่นอีก ต้นปี ค.ศ.1918 มี 2-3 ครอบครัวย้ายมาจากบ้านหนองเดิ่นออกมาอาศัยอยู่ด้วย ปีต่อมาเมื่อมีชาวบ้านมาก พอสมควรทางราชการจึงได้แต่งตั้งให้นายช่วย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ในปีต่อมามีครอบครัวญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดอพยพมาอยู่ด้วยเพิ่มขึ้นอีก ปี ค.ศ.1924 มีหลายครอบครัวจากบ้านช้างมิ่งโดยการนำของนายล้วน-นางบัว ได้มาตั้งหลักแหล่งอยู่ด้วย เนื่องจากผู้ที่อพยพมาอยู่ใหม่นี้เป็นคริสตชนทั้งหมดจึงยึดมั่นในศาสนาเดิม แต่ด้วยเป็นหมู่บ้านตั้งใหม่ยังไม่มีวัด จึงต้องไปร่วมพิธีมิสซาที่บ้านหนองเดิ่น ตลอดจนการเรียนคำสอนของเด็กๆ ก็ต้องไปเรียนที่บ้านหนองเดิ่นเช่นกัน การปฏิบัติศาสนกิจและการถือกฎพระศาสนจักรเป็นไปอย่างเคร่งครัด เช่น อดเนื้อในวันศุกร์ ไม่ทำงานในวันอาทิตย์ เป็นต้น ในช่วงที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน บ้านดอนม่วยได้ถูกเบียดเบียนเหมือนหมู่บ้านคริสตชนอื่นๆ ในละแวกนี้ การปฏิบัติศาสนกิจถูกห้าม เมื่อกรณีพิพาทอินโดจีนสงบการเบียดเบียนทางราชการได้รื้อวัดที่บ้านหนองเดิ่นเอามาสร้างเป็นโรงเรียนบ้านดอนม่วยบริเวณที่เป็นกองซ่อมแซมสร้างกรมชลประทานที่ 4 ในปัจจุบันโดยมีนายมหาอุปราช เป็นครูใหญ่คนแรก หลังกรณีพิพาทอินโดจีนไม่นาน มีครอบครัวชาวเวียดนามอพยพมาอาศัยเพิ่มขึ้นหลาย 10 ครอบครัวที่ริมถนนบ้านดอนม่วย แต่ต่อมาได้อพยพกลับถิ่นฐานเดิมหมด ในปี ค.ศ.1957 บาทหลวงปีโอไอศวรรย์ จันทร์ลือชัย ได้ตั้งโรงเรียนเซนต์แมรี่พิทยาขึ้นที่บ้านดอนม่วย เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีภคิณีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่มาช่วยสอน จึงจำเป็นต้องมีวัดเพื่อภคิณีได้ภาวนาตามวินัยของคณะ บาทหลวงได้แบ่งห้องหนึ่งเป็นวัดน้อยสำหรับภคิณีและสันตบุรุษ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านไม่ได้ร่วมมิสซาที่บ้านหนองเดิ่นอีก ในปี ค.ศ.1964 โรงเรียนเซนต์แมรี่ได้ย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่อำเภอพังโคน วัดน้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนจึงไม่มีอีก ทางสังฆมลฑลได้สร้างวัดหลังหนึ่งขึ้นทำด้วยไม้ทั้งหลัง แต่พื้นเป็นซีเมนต์เหมาะสำหรับสันตบุรุษ โดยตั้งชื่อวัดนี้ว่า“วัดพระแม่แจกจ่ายพระหรรษทาน ดอนม่วย-โนนค้อ” ในการสร้างวัดหลังนั้น บาทหลวงเอดมองต์เปอเซต์ สงฆ์คณะช่วยมิสซัง ชาวฝรั่งเศสซึ่งอยู่ประจำที่บ้านดอนดู่ มีส่วนเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก ต่อมาบาทหลวงไอศวรรย์ ได้ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนเซนต์แมรี่พิทยา พังโคน แต่ยังมาดูแลวัดหลังนี้อยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1958 จนกระทั่งย้ายไปประจำอยู่ที่บ้านน้ำบุ้น ประมาณปี ค.ศ.1969 โดยมอบหมายให้บาทหลวงมีคาแอลเสนีย์ สกนธวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดหนองเดิ่นในช่วงนั้นเป็นผู้ดูแล ในปี ค.ศ.1972-1974 มีบาทหลวงหลายองค์จากวัดช้างมิ่งและหนองเดิ่นมาดูแล ในปี ค.ศ.1974 บาทหลวงเสนีย์ กลับมาดูแลวัดดอนม่วย-โนนค้ออีก ในปี ค.ศ.1977 บาทหลวงหลุยส์จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองเดิ่นและดูแลวัดดอนม่วย-โนนค้อ แต่อยู่ในระยะสั้นเท่านั้น ในปี ค.ศ.1978 บาทหลวงยอแซฟวรวิทย์ เวียรชัย ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิการโบสถ์วัดหนองเดิ่น และดูแลวัดดอนม่วย-โนนค้อด้วย ในปี ค.ศ.1980 บาทหลวงไอศวรรย์ กลับมาดูแลวัดดอนม่วย-โนนค้ออีก แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน บาทหลวงชาร์ล โบโรเมโอนิยุต ศรีอ่อน จากวัดช้างมิ่งมาดูแลแทน ปี ค.ศ.1980 บาทหลวงยอแซฟสมยศ พาพรหมฤทธิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการโบสถ์วัดหนองเดิ่นและวัดดอนม่วย-โนนค้อ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ.1981 จนกระทั่งย้ายไปในเดือนเมษายน ปี1985 บาทหลวงดอมินิกสุริยงค์ พรหมงอย ย้ายมาดูแลวัดดอนม่วย-โนนค้อแทน ในช่วงนี้เองทางอัครสังฆมณฑลร่วมกับคณะกรรมการวัดในสมัยนั้นโดยการนำของนายเถียร นิลเขต ได้สร้างวัดหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมและไม่เพียงพอกับจำนวนสันตบุรุษที่เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มลงรากวัดใหม่เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1985 การก่อสร้างได้ดำเนินเรื่อยมาด้วยความร่วมมือของหลายฝ่าย โดยมีบาทหลวงสุริยงค์ เป็นหัวเรือใหญ่ในการก่อสร้าง ด้วยความช่วยเหลือของบาทหลวงสมยศ ที่คอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างจนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ.1987 บาทหลวงเปโตรสุดสาคร ศรีวรกุล ได้มาทำหน้าที่เจ้าอาวาส ในช่วงนี้เองได้มีพิธีเสกและเปิดวัดหลังใหม่ที่สวยงามอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1988 เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1990 บาทหลวงยอห์นบอสโกสมบัติ มังทะ ขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองเดิ่นได้เข้ามาดูแลวัดดอนม่วย-โนนค้อ จนถึงเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.1992 บาทหลวงอัลฟองโซสุรวุฒิ (สุขสังวร) สมงาม จึงได้มาพักประจำที่วัดอย่างเต็มภาคภูมิ แต่อยู่ที่นี่เพียง 8-9 เดือนเท่านั้น ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1993 บาทหลวงเปาโลพิชิต ศรีอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นอธิการโบสถ์ในปีแรก บาทหลวงได้สร้างรั้วถาวรรอบป่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อป้องกันไม่วัวควายเข้าไปทำลายและทำสกปรกแก่หลุมศพปี ค.ศ.1996 บาทหลวงได้สร้างกำแพงวัด โดยชาวบ้านช่วยกันบริจาคตามแรงศรัทธา ใช้เวลาก่อสร้างเพียงปีเดียวก็เดียวแล้วเสร็จและได้ย้ายประตูทางเข้าวัดมาไว้ตรงกลางสนามข้างวัดทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ปี ค.ศ.1998 บาทหลวงฟรังซิส เซเวียร์คัมภ์ศรณ์ กาแก้ว ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการโบสถ์ ก่อนจะย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระคริสตราชาช้างมิ่ง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2000 โดยมีบาทหลวงเปาโลศุภวัฒน์ ดอกเกตุ มารับตำแหน่งแทน 2.ลำดับบาทหลวงดูแลและอธิการโบสถ์ 1.บาทหลวงปีโอไอศวรรย์ จันทร์ลือชัย ค.ศ.1957-1969 2.บาทหลวงมีคาแอลเสนีย์ สกนธวัฒน์ค.ศ.1969-1972 3.บาทหลวงมอริสซี C.Ss.R ค.ศ.1972-1974 4.บาทหลวงมีคาแอลเสนีย์ สกนธวัฒน์ ค.ศ.1974-1977 5.บาทหลวงหลุยส์จำเนียร สันติสุขนิรันทร์ ค.ศ.1977-1978 6.บาทหลวงยอแซฟวรวิทย์ เวียรชัยค.ศ.1978-1980 7.บาทหลวงปีโอไอศวรรย์ จันทร์ลือชัยค.ศ.1980-1980 8.บาทหลวงชาร์ล โบโรเมโอนิยุต ศรีอ่อน ค.ศ.1980-1980 9.บาทหลวงยอแซฟสมยศ พาพรหมฤทธิ์ ค.ศ.1980-1985 10.บาทหลวงดอมินิกสุริยงค์ พรหมงอย ค.ศ.1985-1987 11.บาทหลวงเปโตรสุดสาคร ศรีวรกุล ค.ศ.1987-1990 12.บาทหลวงยอห์นบอสโกสมบัติ มังทะ ค.ศ.1990-1992 13.บาทหลวงอัลฟองโซสุรวุฒิ (สุขสังวร)สมงามค.ศ.1992-1993 14.บาทหลวงเปาโลพิชิต ศรีอ่อน ค.ศ.1993-1998 15.บาทหลวงฟรังซิส เซเวียร์คัมภ์ศรณ์ กาแก้ว ค.ศ.1998-พ.ค.2000 16.บาทหลวงเปาโลศุภวัฒน์ ดอกเกตุ 1 มิ.ย. 2000 -ปัจจุบัน 4.ข้อมูลปัจจุบัน วัดหลังปัจจุบัน เป็นวัดหลังที่ 2 สร้างในสมัยคุณพ่อดอมินิกสุริยงค์ พรหมงอย ปี ค.ศ.1988 เนื้อที่ 5 ไร่จำนวนสัตุบุรุษ 115 ครอบครัว ประมาณ 920 คน กิจการคาทอลิกพลมารี เยาวชน และเด็กคำสอน