ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 32' 50.1504"
6.5472640
Longitude : E 101° 12' 3.964"
101.2011011
No. : 16378
กรงนกกรงหัวจุก
Proposed by. กนกวรรณ พรหมทัศน์ Date 20 January 2011
Approved by. ยะลา Date 15 December 2021
Province : Yala
0 2026
Description

ใช้ในการกักขังนกนกกรงหัวจุก มีชื่อเรียก เป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนก ที่เพาะพันธุ์ได้ นกวงศ์นี้มีถิ่นอาศัย อยู่แถบเอเชีย ในกลุ่มประเทศ ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง นกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) เป็นนกอยู่ในวงศ์นกปรอดใน Family Pycnonotidae หรือวงศ์นกปรอด มีชื่อเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี ๒๕๓๕ จัดเป็นนกคุ้มครองประเภทที่ ๓ แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ นกในวงศ์นกปรอดนี้ ส่วนใหญ่พบในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาก มีชื่อเรียกกันดังนี้ ๑. ชื่อเรียกเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" ๒. ชื่อเรียกในทางภาคเหนือว่า "นกพิชหลิว" ๓. ชื่อเรียกในทางภาคกลางว่า "นกปรอดหัวโขน" หรือ "นกปรอดหัวจุก" ๔. ชื่อเรียกในทางภาคใต้ว่า "นกกรงหัวจุก" ๕. ชื่อเรียกเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นว่า "บุรงวอเบาะยาโม" ของชาวมุสลิม ๖. ชื่อเรียกที่เป็นทีรู้จักกันทุกภาคว่า "นกกรงหัวจุก" ถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ในประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน มีอยู่ด้วยกัน ๓๖ ชนิด แต่ทั่วโลกมีประมาณ ๑๐๙ ชนิด โดยนกปรอดหัวโขนจัดยู่ในสกุลของนกปรอดสวยเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิดมักพบอาศัยใกล้ชุมชน นกกรงหัวจุกที่นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยง คือ ชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๑๐ คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิน มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตำใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยจะมีการนำนกกรงหัวจุกมาแข่งขันประชันเสียงเพลงซึ่งดูที่ลีลาการร้องของสำนวนเสียงในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้ว ปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว การทำกรงนกกรงหัวจุก ๗ การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๕ เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือ เชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการ ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๒๐ ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย สิ่งหนึ่งที่ตามมาพร้อมกับการแข่งขันนกกรงหัวจุกก็คือ กรงที่ใช้ขังนกซึ่งในปัจจุบันมีกรงอยู่หลายทรงหลายรูปแบบ โดยแบ่งเป็นทรงหลักๆ ได้ ๕ แบบคือกรงทรงตรัง กรงทรงสงขลา (กรงผ่าวาร) กรงทรงปัตตานี กรงทรงยะลา กรงทรงนราธิวาส ซึ่งแบ่งตามแหล่งกำเนิดและมีทรง ลวดลายเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันอย่างชัดเจน กรงนกหัวจุกแบบปัตตานีจะเป็นกรงนกที่มีความละเอียดอ่อนประณีต มีลาดลายสวยงาม เป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างกรงจะใหญ่ ด้านบนกรงเล็ก มีขนาดของกรงดังนี้ ๑. ความสูงของกรงจากคานล่าง ถึงคานบนสูงประมาณ ๑๘.๕ นิ้ว ๒. คานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีคานล่างกว้างประมาณ ๑๔.๕ นิ้ว ๓. คานบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า แต่เล็กกว่า คานล่างกว้างประมาณ ๑๑.๕ นิ้ว กรงนกกรงหัวจุกแบบนราธิวาสเป็นกรงนกที่มีความละเอียดอ่อนประณีต มีลาดลายสวยงามเช่นกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างของกรงจะใหญ่ด้านบนของกรงจะเล็กกว่า โดยมีความสูง ความกว้างของคานบนและคานล่างจะเท่า ๆ กับกรงแบบปัตตานี กรงนกกรงหัวจุกแบบนครศรีธรรมราชเป็นกรงที่มีความละเอียดประณีตและสวยงามเช่นกัน บางกรงจะใช้มุกฝังในเนื้อไม้แต่กรงนกแบบของนครศรีธรรมราช จะใช้น้ำมันทากรงเป็นสีดำเป็นมันแวววาว ขนาดความสูงความกว้างของคานบนและคานล่าง ใกล้เคียงกับแบบกรงปัตตานี แบบอื่นๆ ที่ไม่แพร่หลายในบ้านเรา ก็จะเป็น กรงนกกรงหัวจุกแบบสิงค์โปร์มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ด้านบนของกรงจะแหลม ลักษณะเป็นทรงโปร่งๆ โดยฐานของกรงจะใหญ่ด้านบนจะเล็กเรียว กรงนกกรงหัวจุกทรงกลมแบบถังเบียร์ มีลักษณะด้านบนของกรงและด้านล่างของกรงตัดเรียบตรง ตรงกลางป่องเหมือนถังเบียร์ไม่มีลาดลาย วัสดุจะใช้หวายเป็นโครง ขนาดของกรงมีความสูงประมาณ ๑๘ นิ้ว มีเส้นผ่าศูนย์กลางด้านบนและด้านล่างประมาณ ๑๒ นิ้ว มีเส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางกรงในส่วนที่ป่องออกมา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๖ นิ้ว การทำกรงนกกรงหัวจุก ๘ กรงนกหัวจุกทรงแบบสุ่มไก่ มีลักษณะคล้ายสุ่มไก่แบบย่อส่วนลง โดยด้านบนกรงจะโค้งลงมา ด้านล่างกรงตัดเรียบไม่มีลาดลายอะไรมีหวายเป็นโครง กรงแบบสุ่มไก่นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑. ชนิดที่ใช้หวายเป็นหลัก จะมีขนาดของกรงโดยมีความสูงประมาณ ๑๗ นิ้ว และความกว้างของกรมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๔.๕ นิ้ว ๒. ชนิดที่ใช้ลวดตาข่ายเป็นหลัก จะมีขนาดของกรงโดยมีความสูงประมาณ ๒๐ นิ้ว ความกว้างของกรง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๓.๕ นิ้ว อาจจะมีกรงที่มีความสูงน้อยกว่านี้ก็ได้ กรงนกหัวจุกแบบทรงหกเหลี่ยม ลักษณะของกรงจะมีเสา ๖ เสา เป็นกรงที่มีความละเอียดและประณีต มีลวดลายต่างๆ เช่น ลายมังกรและลายอื่นๆ ประกอบ ลักษณะความกว้างเท่าๆ กับกรงแบบสุ่มไก่ ด้านบนจะโค้ง ความสูงประมาณ ๒๐ นิ้ว กรงนกหัวจุกแบบสี่เหลี่ยม รูปทรงเหมือนทรงสี่เหลี่ยมแบบปัตตานี คือด้านล่างกรงจะใหญ่กว่าด้านบน แต่ความละเอียดอ่อนและความประณีตบางแบบจะน้อยกว่า มีดังนี้ กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา ด้านคานล่างและด้านคานบนของกรงจะตัดตรง แต่คานด้านล่างกว้างกว่าคานด้านบน กรงแบบนี้มีหลายขนาด ความสูงของกรงจากคานล่างถึงคานบนมีความสูงตั้งแต่ ๑๘ – ๒๐ นิ้ว คานด้านล่างเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่ามีความกว้างตั้งแต่ ๑๐.๕ – ๑๕ นิ้ว คานด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่ามีความกว้างตั้งแต่ ๙ – ๑๓ นิ้ว กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมดัดแปลง ลักษณะคานด้านล่างจะเล็กกว่าและคานกลางกรงเสมอกัน จากคานกลางกรงจะเริ่มเล็กไปถึงคานด้านบนของกรง ด้านบนสุดของกรงจะทำเป็นรูปโค้ง ซึ่งขนาดของกรง ความสูง ความกว้างของคานด้านล่างและความกว้างของคานด้านบนกรง จะมีขนาดเท่าๆ กับกรงแบบปัตตานี กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่ที่ด้านบนของกรงจะเป็นรูปโค้งด้านล่างกรงที่เป็นคานล่างจะตัดตรง แต่ด้านบนกรงจะทำรูปได้ มีความสูงของกรงประมาณ ๒๐ นิ้ว คานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ ๑๕ นิ้ว คานด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว กรงแบบสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่ด้านบนของกรงทำเป็นหลังคาทรงไทย โดยมีความสูง ความกว้างของคานด้านบนและคานด้านล่างเท่าๆ กับแบบสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่ที่หัวกรงเป็นรูปโค้งเหมือนหลังคาทรงไทย กรงแบบโดมมัสยิด ด้านบนของกรงจะเป็นยอดแหลม ด้านตัวกรงรูปเหมือนโดมดูแล้วเหมือนมัสยิดของศาสนาอิสลาม กรงที่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุก การเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีกรงที่ใช้เลี้ยงอยู่หลายประเภท ซึ่งก็แบ่งได้ดังนี้ ๑. กรงที่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุกทั่วๆไป จะเป็นกรงแบบสี่เหลี่ยมแบบธรรมดาแบบหลังคาโค้ง ๒. กรงสำหรับใส่นกเพื่อนำไปประกวดแข่งขัน อาจเป็นกรงที่เลี้ยงอยู่ทุกวันก็ได้ หรือเป็นกรงที่ผู้เลี้ยงทำไว้ เฉพาะเวลานำนกกรงหัวจุกไปประกวดแข่งขัน จะเป็นกรงที่มีความละเอียด มีความประณีต และลาดลายแกะสลักสวยงามเป็นพิเศษ การทำกรงนกกรงหัวจุก ๙ ๓. กรงสำหรับใส่นกกรงหัวจุกเวลานกผลัดขน ส่วนมากจะนิยมทรงสี่เหลี่ยมแบบธรรมดา แต่กรงจะมีความกว้างและใหญ่กว่ากรงธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งกรงจะมีความสูงประมาณ ๓๐ นิ้ว คานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ ๒๕ นิ้ว คานบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ ๒๐ นิ้ว ที่ทำกรงให้ใหญ่กว่าการเลี้ยงธรรมดา ก็เพราะต้องการให้นกกรงหัวจุกอยู่สบาย กระโดดไปมาได้ไกล เป็นการให้นกได้ออกกำลัง ผลัดขนได้เร็ว ๔. กรงพักนก เป็นกรงที่ทำให้มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้น กรงมีความกว้างประมาณ ๑ เมตรขึ้นไป มีความยาวประมาณ ๒ เมตรขึ้นไป ความสูงประมาณ ๑.๕ – ๒.๑ เมตร โดยมีขากรงสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร - ๑ เมตร ใช้ตาข่ายสีฟ้าหรือลวดตาข่ายปิดล้อมกรงทั้ง ๖ ด้าน มีประตูปิดเปิด ๑ ด้าน ในกรงมีที่ให้นกเกาะ มีน้ำและอาหารเตรียมไว้ให้ การทำกรงพักใหญ่ เพื่อให้นกได้บินออกกำลังนกก็จะแข็งแรงขึ้น นกเคยอยู่ในกรงเล็ก เมื่อมาอยู่ในกรงใหญ่จะสะดวกสบาย สามารถบิน กระโดดออกกำลังได้เต็มที่ ไม้ที่ทำกรงนกกรงหัวจุก ถ้าเป็นกรงของนกกรงหัวจุกที่มีราคาแพง จะใช้ไม้ที่มีเนื้อแข็งมาทำเสา ทำคาน ทำลาดลาย ถ้าเป็นกรงนก กรงหัวจุกแบบธรรมดา ก็จะใช้ไม้เนื้ออ่อนทั่วๆไป ดังนี้ ๑. ไม้ที่นำมาทำกรงนกที่มีราคาแพง ไม้บางชนิดก็หายาก ได้แก่ ๑.๑ ไม้มะม่วง ๑.๒ ไม้สาวดำ ๑.๓ ไม้ประดู่ ๑.๔ ไม้ประดู่ชิงชัน ๑.๕ ไม้มะเกลือ ๑.๖ ไม้หลุ่มพลอ ๑.๗ ไม้ตะเคียน ๑.๘ ไม้สัก ๒. ไม้ที่นำมาทำกรงนกกรงหัวจุกที่มีราคาถูก ได้แก่ ๒.๑ ไม้ยางพารา ๒.๒ ไม้สะเดา ๒.๓ ไม้ขนุน ๒.๔ ไม้อื่น ๆ ๓. ไม้ที่นำมาทำซี่ลูกกรง ได้แก่ ไม้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ลำละลอก ไม่ไผ่ตง และไม้ไผ่อื่น ๆ แต่ไม้ไผ่ที่ดีที่สุดคือ ไม้ไผ่สีสุก และไม้ไผ่ลำละลอก ซึ่งแพงและหายาก สำหรับไม้ไผ่ที่จะนำมาทำซี่กรงนั้น ถ้าจะให้ทนทาน แข็งแรงและอยู่ได้นาน วิธีการทำให้นำไม้ไผ่ที่แก่จัดจริงๆ ถ้าเอาไม้ไผ่อ่อน เนื้อจะไม่เหนียว เมื่อนำมาดัดจะหักได้ง่าย โดยนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำทะเลนานประมาณ ๒ - ๓ เดือน ก่อนจะผ่ามาเหลา จากนั้นก็ขั้นมาจากน้ำทะเล มาไว้ในที่ร่ม เพื่อให้น้ำทะเลที่อยู่ในเนื้อไม้ไผ่ระเหยออกไปประมาณ ๒-๓ เดือนก่อน จะทำให้เนื้อไม้ไผ่เหนียว มอดไม่กิน เวลาเหลาไม้ไผ่เนื้อจะสวยสดคงที่ การทำกรงนกกรงหัวจุก ๑๐ โครงสร้างของกรงนกกรงหัวจุก โครงสร้างหลักๆ ของกรงนกกรงหัวจุก หลักๆ ก็มีดังนี้ ๑. ขากรง ใช้เสากรงเป็นขาเลยก็ได้ หรือจะมีหัวขากรงเป็นเหล็ก เป็นพลาสติก หรือเป็นไม้ ๒. คานล่าง เป็นแผ่นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นไม้เรียบๆ หรือจะแกะเป็นลวดลาย ๓. คานกลาง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ จะเป็นไม้เรียบๆ หรือแกะสลักให้ดูสวยงามก็ได้ ๔. คานบนเป็นแผ่นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นไม้เรียบๆ หรือแกะสลักก็ได้ ๕. ซี่กรง จะเป็นไม้ไผ่มาเหลา ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๓ – ๐.๔ มิลลิเมตร ๖. เสากรง จะเป็นแผ่นไม้แบบเรียบๆ หรือแกะสลักก็ได้ ๗. หัวกรง จะเป็นหัวที่ยึดกับตัวกรง เป็นหัวกลึง เป็นไม้ เป็นพลาสติก หรือเป็นงาช้าง ถ้าเป็นงาช้างราคาจะ แพง ๘. ตะขอแขวนกรง ใช้เป็นเหล็ก หรือทองเหลือง มีทั้งแบบทำสำเร็จรูปขาย หรือแบบสั่งทำจากช่างทำทอง กรงนกกรงหัวจุก นิยมทรงสี่เหลี่ยมคางหมู สูงประมาณ ๓๐ นิ้ว ด้านล่างกว้างประมาณ 14 นิ้ว มีส่วนประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน เช่นกัน ได้แก่ โครงกรง ซี่กรง และหัวกรง ในด้านซี่กรงและหัวกรง นิยมใช้วัสดุแบบเดียวกับกรงนกเขาชวา แต่โครงกรงมจะมีการเน้นพิเศษไปกว่า กล่าวคือ โครงกรงนกกรงหัวจุก เน้นที่พยายามใช้ไม้เนื้อแข็งนำมาเลื่อยซอนเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ถึง ๑๘ ชิ้น ได้แก่ ๑. ไม้เสา สูงประมาณ ๓๒ นิ้ว จำนวน ๔ อัน (หลังการเลื่อยซอยนำมากลึงกลมเรียบ) ๒. ไม้คานบน ยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว จำนวน ๕ อัน ๓. ไม้คานล่าง ยาวประมาณ ๑๔ นิ้ว จำนวน ๕ อัน ๔. ไม้คั่นกรง ยาวประมาณ ๑๒.๕ นิ้ว จำนวน ๔ อัน ไม้อันดับที่ ๒,๓,๔ จะต้องวัดขนาด เจาะรูด้วยสว่านตาเล็ก เจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรมีการถือเคล็ดเกี่ยวกับจำนวนรูที่เจาะ ให้เจาะเป็นจำนวนคี่ เช่น ๑๓, ๑๕, ๑๗, ๑๙ หรือ ๒๑ รู ตามความเล็กใหญ่ของกรง หากเจาะเป็นคู่เชื่อกันว่าจะทำให้นกเจ็บป่วย ขันไม่ดี หลังจากนั้นช่างจะเน้นการลักลายบนไม้โครงทุกชิ้น ซึ่งเป็นส่วนที่จะแสดงความงาม ความประณีตของฝีมือช่างและบ่งบอกถึงราคาของกรง

Location
No. 130 Moo 4
Tambon ลิดล Amphoe Mueang Yala Province Yala
Details of access
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา Email yala@m-culture.go.th
No. 37 Road สุขยางค์
Tambon สะเตง Amphoe Mueang Yala Province Yala ZIP code 95000
Tel. 073203511,073213916 Fax. 073203511
Website ้http://povince.m-culture.go.th/yala
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
a 8 Febuary 2011 at 13:38
แก้ไขแล้วค่ะ



virach 22 January 2011 at 09:37
?????
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่