ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกเหลือง
ชื่อสามัญ เห็ดไข่
ชื่อวิทยาศาสตร์Amanita hemibapha (Berk. Et Broome) Sacc subsp javanica Corneret Bas
ชื่อวงศ์ AMANITACEAE
ลักษณะทางกายภาพ
พบในบริเวณที่คอนข้างชื้น อุณหภูมิ 30ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 94% pH 7 ความเข้มแสง 142 Lux หลังฝนตก 2-3 วัน มีแดดออกอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ลักษณะการเกิด
ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 4-5 ดอก กระจายอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
ลักษณะสัณฐานวิทยา
ดอกเห็ดอ่อนมีเยื่อหุ้มหนา รูปกลมหรือรูปไข่ ขนาด 3-4×3-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูปถ้วย หมวกเห็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอมส้มหรือน้ำตาลอมเหลือง เมื่อกางออกจะเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมันและหนืดมือเมื่ออากาศชื้น ขอบเป็นริ้วยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยรวมเห็นชัดเจนตั้งแต่โผล่ออกจากเยื่อหุ้ม ครีบสีขาวนวล ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาวนวล ยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร ภายในสีขาวมีรูกลวง แอนนูลัส เป็นแผ่นบางสีขาวห้อยติดอยู่บนก้าน
ลักษณะสปอร์
รูปวงรี ผิวเรียบ ผนังบาง
ลักษณะทั่วไป
รับประทานได้
งานวิจัย
ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 42)
อนงค์ จันทร์ศรีกุล (2542 : 29)