ข้าวแห่งการบวงสรวงบูชา
สังคมไทยเป็นสังคมชาวนา ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการยังชีพ ข้าวจึงถูกใช้เป็นสื่อในพิธีกรรมอันเกี่ยวข้องกับความเจริญงอกงามเพื่อบวงสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจเหนือธรรมชาติเพื่อดลบันดาลให้ได้รับผลอันอุดมสมดังปรารถนา ข้าวตอก มาจากข้าวคั่วให้ลุกแตกเป็นดอก มีสีขาว ข้าวตอก เป็นของโบราณ กินกันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทางภาคเหนือใช้ข้าวตอกบูชาพระ เรียกกันสืบมาว่าบูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ การแห่ศพสมัยโบราณมีการโปรยข้าวตอก ทางภาพอีกสานเมื่อนำศพไปฝังหรือเผาก็มีคนเอาข้าวตอกเดินโปรยนำหน้า อาจตีความได้ว่าคนที่ตายไปเปรียบประดุจข้าวตอก เพราะไม่มีทางจะกลับงอดขึ้นมาใหม่ได้ ขนมต้ม ทั้งขมมต้มขาวและขนมต้มแดง เรียกได้ว่าเป็นขนมพิธีกรรม ใช้ในการบวงสรวงสังเวยหรือบายศรีไหว้ครู เซ่นผีเทวดา เซ่นในพิธีสู่ขวัญ รวมทั้งพิธีเสียกบาล มีมาตั้งแต่สุโขทัย เดิมใช้บูชาเหล่าทวยเทพตามความเชื่อทางพราหมณ์ ฮินดู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ยังเป็นองค์ประกอบหลักของพิธีกรรม เซ่นสรวงบูชาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของข้าว หรือเพื่อการขอขมาที่ได้กระทำล่วงเกินแม่โพสพ เช่นในพิธีสู่ขวัญข้าว พิธีรับขวัญแม่โพสพ ของขาวนาที่อำเภอสาคลี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากบุญออกพรรษา ในพิธีกดข้าวหรือพิธีทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มตั้งท้องของขาวนาภาคใต้
เมื่อข้าวตกรวงใกล้จะเก็บเกี่ยว ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเซ่นสรวงบูชาใน พิธีรวบข้าว เช่นเดียวกับในพิธีเชิญขวัญข้าวเข้าสู่ลาน หรือที่เรียกว่า พิธีเชิญขวัญแม่โพสพ หรือพิธีทำขวัญข้าวทำขวัญลาน หรือพิธีปลงลอมข้าว ในภาคอีสาน เมื่อนาดข้าวเสร็จและเก็บเข้ายุ้งฉางเรียบร้อยแล้ว ชาวนาในจังหวัดอยุธยาจะเหลือข้าวเปลือกไว้ที่ลานนวดราว ๑ ขัน เพื่อทำพิธีปิดยุ้ง มีเครื่องสังเวยเป็นขนมต้มขาว ข้าวปากหม้อและไข่ เพื่อขอให้แม่โพสพช่วยบันดาลให้มีข้าวมากมายตักตวงเท่าไหร่ไม่หมด