ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 9' 35.3945"
17.1598318
Longitude : E 104° 9' 45.6718"
104.1626866
No. : 173387
ตำนานหลวงพ่อพระองค์แสน
Proposed by. ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร Date 16 December 2012
Approved by. สกลนคร Date 16 December 2012
Province : Sakon Nakhon
0 1055
Description

หลวงพ่อพระองค์แสน

ประดิษฐานภายในพระวิหารวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี ๓.๒๐ เมตรประทับนั่งบนแท่นสูง ๑.๓๕ เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศ ตะวันออก หันพระปฤศฎางค์เข้าหาองค์ หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครคู่มากับพระ ธาตุเชิงชุม ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศ

จากตำนาน หลวงพ่อพระองค์แสนสร้างขึ้นราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ เพื่อแทนหลวงพ่อสุวรรณแสนองค์จริงที่เป็นทองคำทั้งองค์มีน้ำหนังหนึ่งแสนตำลึงทอง (สร้างโดยพระเจ้า ชัยวรมันที่ ๓) คือในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เมืองหนองหารหลวงเกิดแห้งแล้วต่อกัน 7 ปี และเกิดศึกสงครามหลายครั้ง จึงย้ายเมืองไปอยู่ที่นครธม ก่อนย้ายได้นำพระสุวรรณแสน ทองคำไปซ่อนไว้ในน้ำ ไม่สามารถนำไปได้ด้วยเหตุว่ากลัวข้าศึกจะมาแย่งชิงในระหว่างทาง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงได้สร้างหลวงพ่อ พระองค์แสน(องค์ปัจจุบัน)แทนไว้ให้ ทำด้วยหินเหล็กเส้นชนิดสี่เหลี่ยมเป็นโครง(ผูกลวด) แล้วฉาบด้วยทรายผสมปูนขาวแช่น้ำเปลือก ไม้(ยางบง) น้ำแช่หนัง - มะขาม - น้ำอ้อย และเถา ฝักกรูด ลงรักปิดทอง มีพุทธลักษณะเท่าเดิม ภายในก็บรรจุเครื่องราง ของขลังสมัยก่อนไว้มาก ให้นามว่า "หลวงพ่อพระองค์แสน" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาก ซึ่งต่อมามีการบูรณะซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง (ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554 โดยกรมศิลปากร)

ในอดีตเมื่อราวปี 2499 องค์หลวงพ่อเดิมนั้นเกิดชำรุดหนักเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐถือปูน พอโดนน้ำหรือความชื้นมากๆเข้า ก็ทำให้องค์พระชำรุดไปตามกาลเวลา เมื่อมีการเฉลิมฉลองสมโพธิ์ราชธานีครบ ๒๐๐ ปีตามประกาศรัฐบาล จะมีการบูรณะปฎิสังขรณ์ขยายโบสถ์ และองค์หลวงพ่อเกิดการชำรุด ก็เลยมีการจะสร้างหลวงพ่อองค์ใหม่มาแทนที่ เมื่อการบูรณะเริ่มขึ้นช่างชาวญวนพยามทุบองค์พระ และพยามลอกทองที่หุ้มออกแต่พอทุบไปครั้งใด ก็ได้ยินแต่เสียงหัวเราะดังกังวานออกมา จนภายหลังถึงกลับต้องล้มป่วยไป (ผู้รับเหมาคนที่จะรื้อพระคือ นายชุน ศรีดามา นักธุระกิจชาวเวียดนามรุ่นบุกเบิกสกลนคร หลังจากคนงานชาวญวนทุบพระจนแขนขวาร้าวหลวงพ่อยิ้มให้คนงานโดดหนีร้องตระโกนตลอดทางว่า ฝะหยิ้ม (ออกสำเนียงแบบไม่ชัด) ต่อมาองค์ ชุน ก็รถคว่ำแขนหัก คนสกลรุ่นเก่าๆจึงเรียกองค์ชุนว่า องค์ชุนฝะหยิ้ม) ด้วยเหตุนี้จึงต้องล้มเลิกการบูรณะเอาหลวงพ่อออก จากเหตุดังกล่าวเมื่อท่านมาสักการะหลวงพ่อพระองค์แสน จะเห็นมีหลวงพ่อซ้อนกันอยู่ ๒ องค์ องค์หน้าคือหลวงพ่อองค์เดิม ส่วนองค์หลังเป็นองค์ใหม่ที่จะสร้างขึ้นมาแทนนั่นเอง

จากประวัติหลวงพ่อหลายอย่าง ในสมัยก่อนเคยมีพระมอญ ที่เคยมาบำเพ็ญศีลภาวนาที่วัด แล้วพอจะกลับก็บอกพระที่วัดไว้ว่า หลวงพ่อองค์นี้เป็นองค์ปลอม แต่เป็นองค์ปลอมที่ศักดิ์ศิทธิ์มาก ปู่ย่าตายายชาวสกลนครและหลายๆคน คงเคยได้ยินตำนานเล่าต่อกันมาว่า บริเวณกลางหนองหารนั้น จะมีจุดที่ลึกมากกว่าปกติ อยู่หลายแห่ง ซึ่งชาวประมงหนองหารจะเรียกว่า ขุม หรือหลุมนั้นเอง และจะมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ขุมใหญ่ ขุมเต่าฮาง ขุมก้านเหลือง ซึ่งขุมนี้จะลึกประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรทีเดียวเชื่อกันว่าในสมัยก่อนเมื่อพระยาขอม(พระเจ้าชัยวรมันที่ 7) จะย้ายเมืองอพยพผู้คนไปอยู่เขมรนั้น พระองค์ได้เอา หลวงพ่อพระสุวรรณแสน องค์เดิมมาซ่อนไว้ที่ขุมลึกกลางหนองหารชาวประมงจะเรียกจุดนี้ว่า ขุมใหญ่ ซึ่งเป็นขุมที่ลึกที่สุด

ชาวบ้านที่อยู่โดยรอบหนองหาร ส่วนใหญ่เป็นชาวนาและมีอาชีพเสริมคือชาวประมง บ่อยครั้งที่ชาวบ้าน(เชื่อว่าต้องเป็นผู้มีบุญ)บังเอิญไปหาปลาแถวนั้น และแหหรืออวนไปติดกับอะไรบางอย่างใต้น้ำ เมื่อดำลงไปก็เห็นองค์พระสีทององค์ใหญ่จมอยู่บริเวณนั้น แต่เมื่อทางราชการมาสำรวจนำนักประดาน้ำมาค้นหา ก็ไม่พบแต่อย่างใด ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าเป็นปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อที่จะอยู่ ณ ตรงนั้น เพื่อรอวันที่ผู้มีบุญวาสนามากพอมาเชิญหลวงพ่อขึ้นมา หรือจนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ห้า หรือพระศรีอาริยะเมตไตรมาประทับรอยพระพุทธบาทที่พระธาตุเชิงชุมนั้นเอง

ในปัจจุบันเวลาผ่านมาหลายปี อาจจะเป็นเพราะ สาหร่าย วัชพืชน้ำ ตะกอนต่างๆทับถมกันสูงขึ้นทุกวัน จึงไม่มีคนพบเห็นอีก ด้วยเหตุนี้ชาวสกลนครจึงถือว่าหนองหาร เป็นหนองน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดด้วย

ภาพ ข่าว โดย สกลนคร ซิตี้
Location
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร
Tambon ธาตุเชิงชุม Amphoe Mueang Sakon Nakhon Province Sakon Nakhon
Details of access
สกลนคร ซิตี้
Reference ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทย สกลนคร Email sathap_ws@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
Road ศูนย์ราชการ
Tambon ธาตุเชิงชุม Amphoe Mueang Sakon Nakhon Province Sakon Nakhon ZIP code 47000
Tel. 042-716247
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่