การแสดงศิลปะพื้นบ้านรำมะนาฮูลู
ประวัติความเป็นมา
รำมะนาฮูลูเป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวมุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการตีกลองรำมะนากับการใช้ท่าทางของดีเกย์ฮูลูเข้าด้วยกันซึ่ง กลองรำมะนาเป็นกลองหน้าตัดโบราณที่ใช้ในการตีประกอบจังหวะในการขับลำนำหรือการขับร้องเพลงลำตัด มักนิยมแสดงในภาคกลางส่วนท่าทางประกอบดีเกย์ฮูลูนั้นมาจากภาคใต้ รำมะนาฮูลูจึงเป็นการประยุกต์และผสมผสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคกลางและภาคใต้เข้าด้วยกัน
วิธีการแสดง
เป็นการแสดงสดทั้งหมด โดยมีนักร้องชายหญิงร้องเดี่ยวหรืออาจะร้องสลับกันเป็นเพลงคู่ก็ได้
ใช้ดนตรีเป็นเครื่องประกอบจังหวะโดยเน้นเสียงกลองรำมะนาเป็นหลัก ผู้ร้องจะยืนขึ้นส่วนผู้ที่ให้จังหวะดนตรีจะนั่งกับพื้น ขณะที่ร้องจะมีการทำท่าทางดีเกย์โดยนั่งกับพื้นอยู่ด้านหน้าสุดของวงส่วนมากจะเป็นเยาวชนชายหญิงทำท่าทางและร้องเป็นลูกคู่ประกอบด้วย บทเพลงจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสั่งสอนชักนำให้ทำความดี ทำนองเพลงอาหรับ มาเลย์
เครื่องดนตรี
กลองรำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ ทรัมริน
โอกาสในการแสดง
งานมงคลหรืองานรื่นเริงต่างๆเช่นงานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ งานน้ำชาการกุศล เป็นต้น
จังหวะการตีกลองรำมะนา
จังหวะการขึ้นกลองก่อนการแสดงและการลงกลองหลังการแสดง
พจ – พจ – พจ พจ – พจ – พจ
จพ – พ – พ, พ พ พ จ, พจ พ พ จ , จจพพ
(ซ้ำ)
ทำนองแขก
จจจพพ จพพ
จจจ พพ จพพ
จจจ พพ จพพ
ทำนองพม่า
พจ จพพ , พจ จพพ
พจ จพพ , พจ จพพ
พจ จพพ , พจ จพพ
ทำนองมอญ
จจ – พพพ , จจ , พพพ
จจ – พพพ , จจ , พพพ
จจ – พพพ , จจ , พพพ
ทำนองลาว
จจ – พพ , จจพพ , จจพพ
จจ – พพ , จจพพ , จจพพ
ทำนองสากล
จพ , จพ , จพ , จพ ,จพ
หมายเหตุ. จ หมายถึง เสียง โจ๊ะ
พ หมายถึง เสียง พรึม
ผู้ถ่ายทอด ฝึกสอนนายวันชัย ศรียุคุณธร