องค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑.สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย แบ่งเป็น
๑.๑ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย เป็นตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเต่างอย ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออก ทางหลวงถนนสายศรีวิชา- กวนบุ่น ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
๑.๒เนื้อที่มีเนื้อที่ ๔๐,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๖๔ ตารางกิโลเมตร
๑.๓สภาพภูมิศาสตร์พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตรและการเพาะปลูก มีเพียง หมู่ที่ ๔,๕ มีพื้นที่ติดภูเขา มีการจัดการในด้านชลประทาน มีอ่างเก็บน้ำในเขตตำบล ๒ แห่ง คือ
อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อ่างเก็บน้ำเครือเขาปอก และมีลำน้ำพุงไหลผ่าน ซึ่งมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดกับ ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับ ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย
ทิศตะวันออกมีพื้นที่ติดกับ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดกับ ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย
๑.๔จำนวนครัวเรือน และ ประชากรตำบลเต่างอย
- จำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ตามทะเบียนราษฎร์อำเภอเต่างอย ๑,๙๑๓ ครัวเรือนประชากรทั้งสิ้น๕,๖๗๖ คน แยกเป็น ชาย ๒,๘๙๗ คน หญิง ๒,๗๗๙ คนมีความหนาแน่นเฉลี่ย ๘๘.๖๘ คน/ตารางกิโลเมตร
รายชื่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ๗ คน
หมู่ที่
บ้าน
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านเต่างอย
นายช่วง งอยจันทร์ศรี
บ้านเต่างอยเหนือ
นายเกษม เคะนะอ่อน (กำนัน)
บ้านโคกงอย
นางธุรัตน์ อุระแสง
บ้านนางอย
นางยวนใจ ยาสาไชย
บ้านโพนปลาโหล
นายสมเสียน งอยภูธร
บ้านน้ำพุงสามัคคี
นายธำรงศักดิ์ งอยภูธร
บ้านเต่างอยใต้
นายคมศิลป์ แก้ววิหาร
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน และอาชีพเสริม เช่น การประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน (ถักไม้กวาด)
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
-ปั๊มน้ำมัน/ก๊าซ ๓ แห่ง
-โรงงานอุตสาหกรรม (โรงงานหลวง) ๑ แห่ง
-โรงสี ๑๒ แห่ง
-ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ๔๓ แห่ง
-ธนาคาร ๑ แห่ง
-โรงแรม/รีสร์อท ๑ แห่ง
-ร้านตัดผมชาย ๕ แห่ง
-ร้านเสริมสวย ๖ แห่ง
-ร้านคลึงเครื่องจักรกล ๒ แห่ง
-ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ๑๐ แห่ง
-ตลาดนัด ๑ แห่ง
-อู่ซ่อมรถยนต์ ๔ แห่ง
-ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ๔ แห่ง
สภาพทางสังคม
การศึกษา
-โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง
-โรงเรียนมัธยมศึกษา ๑ แห่ง
-ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๑ แห่ง
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓ แห่ง
-ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๗ แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
-วัด/ สำนักสงฆ์ ๗ แห่ง
สาธารณสุข
-โรงพยาบาลประจำอำเภอเต่างอย ๑ แห่ง
-สถานีอนามัยประจำตำบล/ หมู่บ้าน ๑ แห่ง
-ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน ๗ แห่ง
-ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ๑ แห่ง
๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-จุดลงเวลาสายตรวจตำรวจ ๗ จุด
๔. การบริการโครงสร้างพื้นฐาน
๔.๑ การคมนาคมองค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย มีถนนผ่านหลายสาย เป็นถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนลูกรัง และถนนดินเพื่อการเกษตร ถนนสายหลักดังนี้
- ถนนสายศรีวิชา-กวนบุ่น ๑ สาย ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร
- ถนนสายนายอ-เต่างอย ๑ สาย ระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร
- ถนนสายโนนหอม-เต่างอย ๑ สาย ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร
- ถนนสายโคกศรีสุพรรณ-เต่างอย ๑ สาย ระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร
๔.๒ การโทรคมนาคม
-ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ๑ แห่ง
-สถานีโทรคมนาคม/เสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๓ แห่ง
-ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ๒๐ แห่ง
๔.๓ การไฟฟ้า
-ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าเข้าถึง คิดเป็นร้อยละ ๙๙
๔.๔ แหล่งน้ำธรรมชาติ
-ลำน้ำ, ลำห้วย ๕ สาย
-บึง, หนองและอื่น ๆ ๑๕ แห่ง
๔.๕ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-ประปาหมู่บ้าน ๘ แห่ง
-ฝายทดน้ำ/ทำนบ ๑๖ แห่ง
-บ่อน้ำตื้น/สระน้ำ ๑๒๕ แห่ง
-บ่อบาดาล ๒๔ แห่ง
-อ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง
๑. อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ
๒. อ่างเก็บน้ำเครือเขาปอก
ข้อมูลอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ป่าสาธารณะเนื้อที่โดยประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่
เขตอุทยานแห่งชาติภูผายล
มวลชนจัดตั้ง
ลูกเสือชาวบ้าน ๒ รุ่น ๒๕๐ คน
สมัชชาต่อต้านยาเสพติด ๑ รุ่น ๑๐๐ คน
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ๒ รุ่น ๗๑ คน
อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย ๒๐ คน
๖.๓ อุปกรณ์ต่างๆ ในสำนักงานสำหรับใช้ปฏิบัติงานและบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกและ
รวดเร็ว เช่น
คอมพิวเตอร์ จำนวน ๗ เครื่อง
เครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน ๒ เครื่อง
โปรเจคเตอร์ จำนวน ๑ ชุด
โทรศัพท์สาขาสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก จำนวน ๕ คู่สาย
เครื่องปรับอากาศในห้องสำนักงานและห้อง ประชุมอบรม สัมมนา จำนวน ๙ เครื่อง
โทรทัศน์รับรู้ข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จำนวน ๒ เครื่อง
ห้องประชุมเพียงพอที่จะรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ประมาณ ๕๐ คน จำนวน ๒ ห้อง
รถจักรยานยนต์ ในการลงพื้นที่ตรวจงานและรับส่งเอกสารภายในอำเภอ จำนวน ๑ คัน
รถยนต์ ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย ในการไปติดต่อราชการในจังหวัดและไปราชการอำนาจหน้าที่ จำนวน ๑ คัน
รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน ๑ คัน
รถยนต์บรรทุกขยะ จำนวน ๑ คัน
รถยนต์บรรเทาสาธารณภัย จำนวน ๑ คัน
รถยนต์ส่วนกลาง จำนวน ๑ คัน
ผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา
๓.๑ สรุปสถานการณ์การพัฒนา
ผลการวิเคราะห์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย
โดยใช้เทคนิคSWOT analysis
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบล
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง(strength : S)
๑.เป็นองค์กรที่สามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น นโยบาย การบริหารจัดการ
การบริหารงานบุคคล และการเงินการคลังอย่างมีเอกภาพ และสอดคล้องกับปัญหา
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่
๒.มีบุคลากรเพียงพอ และมีความรู้ ความสามารถ รวมถึงมีเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงาน
อย่างครบถ้วนและทันสมัย
๓.เป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด สามารถแก้ปัญหาและตอบสนอง
ความต้องการของประชาชนได้มากที่สุด
๔.มีเอกลักษณ์เฉพาะด้าน ประเพณีวัฒนธรรมศาสนสถาน แหล่งประวัติศาสตร์และแหล่ง
ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย และสามารถพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว
๕. มีปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีสภาวัฒนธรรมที่
ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีบุญประจำปี (ประเพณีไหลเรือไฟ)
๖. มีสถานศึกษาเปิดทำการสอนระดับประถมศึกษา ๒ แห่ง และโรงเรียนมัธยม จำนวน ๑ แห่ง
๗. มีโรงพยาบาล และสถานีอนามัยที่ให้บริการด้านสาธารณสุข
๘. มีความสามัคคีและการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มอาชีพของประชาชนในพื้นที่ คือ
- กลุ่มอาชีพถักไม้กวาด หมู่ที่ ๑-๗
- กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ หมู่ที่ ๒
- กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง หมู่ที่ ๔
- กลุ่มผลิตกระเช้าเถาวัลย์ หมู่ที่ ๒
- กลุ่มผลิตกล้วยฉาบ หมู่ที่ ๒,๔,๕
- กลุ่มผลิตข้าวกล้องงอก หมู่ที่ ๔,๕
๙. อินเตอร์เน็ตประจำตำบล เพื่อบริการประชาชนในการสืบค้นข้อมูล
๑๐. มีสมาชิก อปพร. จำนวน ๗๑ คน และสมาชิกกู้ชีพกู้ภัย จำนวน ๒๐ คน พร้อม
ปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและ การรักษาความสงบเรียบร้อย
จุดอ่อน(Weak : W)
๑. งบประมาณมีจำนวนจำกัด มีรายได้ที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอต่อการพัฒนา
๒. เยาวชนขาดความตระหนักในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาในหมู่บ้าน
๓. กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
๔. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหา มลภาวะ
ทำลายสุขภาพของประชาชน
๕ . องค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย ยังไม่มีการจัดวางผังเมืองเฉพาะ ขาดการวางแผน
และการจัดโซนเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด
๖. มีพื้นที่ในเขตรับผิดชอบจำนวนมาก ไม่สามารถบริหาร พัฒนา ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุม
๗. ขาดแคลนน้ำ/น้ำไม่มีคุณภาพ /น้ำเพื่ออุปโภค–บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ
๘. เส้นทางการสัญจร ไป-มา ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร
๙. ไฟฟ้าภายในหมู่บ้าน /ที่สาธารณะ / ไฟฟ้าการเกษตรยังไม่ทั่วถึง
๑๐. ทุนการศึกษาและอุปกรณ์ทางการศึกษา สำหรับเด็ก,นักเรียนมีไม่เพียงพอ
๑๑. น้ำท่วมขังบริเวณชุมชน และพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝน
๑๒. ปัญหาการว่างงาน รายได้น้อย