ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
Longitude : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
No. : 194408
วัดบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว
Proposed by. พัทลุง Date 9 September 2021
Approved by. พัทลุง Date 26 June 2022
Province : Phatthalung
0 301
Description

วัดบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว เดิมชื่อวัดเขียนบางแก้ว ได้มีการขอเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ เนื่องจากวัดมีพระธาตุเจดีย์เก่าแก่โบราณเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งอัญเชิญมาจากเกาะลังกา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลจองถนนอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเขาชัยสน ไปทางทิศตะวันออก ๔ กิโลเมตร อยู่ห่างจากทะเลสาบสงขลาประมาณ ๑ กิโลเมตร

ความเป็นมาของชื่อวัด วัดที่มีชื่อเรียกหลายชื่อ ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยดังนี้ ๑. สมัยเมื่อมีการบูรณะวัดขึ้นใหม่ในสมัยปลายรัชกาล ที่ ๕ เรียกชื่อวัดนี้ว่า"วัดตะเขียนบางแก้ว" คำว่า "ตะเขียน"อาจเพี้ยนมาจากคำว่า "ตะเคียน" ก็ได้ โดยมีบางท่านว่าอาจมาจากชื่อค้นไม้ชนิดหนึ่งที่งอกงามอยู่บริเวณนี้คือ "ต้นตะเขียน"มีผู้รู้ภาษาไทยท่านหนึ่งให้ความหมายคำว่าตะเขียนไว้ว่า แยกออกไป คือไม่รวมกับส่วนอื่น ๆ หรืออยู่ห่างไกล ๒. ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า"วัดบางแก้ว" หรือ "วัดพระธาตุบางแก้ว" คำว่า "บางแก้ว" นี้อาจมีที่มา ๒ นัย ด้วยกัน คือ ก. อาจเรียกชื่อตามชื่อคลองบางแก้วที่ไหลผ่านวัดไปทางทิศใต้ ข. อาจเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "คณะป่าแก้ว" เพราะพบในหนังสือเพลาวัดเขียนรุ่นเก่าๆ บางฉบับเรียกชื่อวัตนี้ว่า"วัดคณะบางแก้ว" หรือ "วัดคณะป่าแก้ว" ซึ่งในสมัยอยุธยาวัดนี้เป็นสำนักของคณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ขึ้นกับวัดพระยาไท(วัดใหญ่ชัยมงคล) ในกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากภาษาถิ่นได้นิยมตัดพยางค์จึงเรียกชื่อสั้น ๆ จึงตัดคำพยางค์หน้าออกเสียเหลือเป็น "วัดป่าแก้ว" ต่อมาก็เพี้ยนเป็น "วัดบางแก้ว" ๓. ตามหนังสือพระกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุงในสมัยอยุธยาเรียกชื่อวัดนี้ว่า"วัดเขียน" และมักเรียกรวมกันว่า"วัดเขียนคณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง" จึงยิ่งน่าเชื่อถือได้ว่าคำว่าบางแก้วควรจะมาจากคำว่าป่าแก้ว แต่อย่างไรก็ตามในหนังสือ "เพลานางเลือดขาว" ใช้ชื่อว่า "วัดเขียนบางแก้ว"ซึ่งต่อมาคำว่า "บางแก้ว" เป็นชื่อพ้องกับชื่อบ้านบางแก้ว ตำบลท่ามะเดื่อ ฉะนั้นเพื่อไม่ให้มีการหลงผิดกัน จึงมีผู้เพิ่มชื่อวัดเป็น "วัดเขียนบางแก้วใต้" เพื่อให้แตกต่างจากชื่อบ้านแค่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อวัดให้ถูกต้องตามหลักฐานในเพลานางเลือดขาวว่า "วัดเขียนบางแก้ว"

ประวัติความเป็นมา๑. ตามคำนานพื้นเมืองกล่าวว่า เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมีกุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญพระพุทธรูป พระมหาธาตุเจดีย์ เสร็จแล้วให้จารึกเรื่องราวของการสร้างลงบนแผ่นทองคำ เรียกว่า"เพลาวัด" สร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๑๔๙๒ ต่อมา พ.ศ.๑๔๙๒ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเกาะลังกามาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์ ๒. ตามประวัติวัดเขียนบางแก้ว ของพระครูสังฆรักษ์ (เพิ่ม) กล่าวว่าเจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองพัทลุงเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีกุน เอกศก พ.ศ.๑๙๘๒ จ.ส.๓๐๑ พร้อมทั้งสร้างพระบรมธาตุและก่อพระเชตุพนวิหาร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๑๘๘๖ ๓. ตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร (เอียด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพัทลุงกล่าวว่าวัดเขียนบางแก้วสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๔๘๒ ๔. ตามเพลานางเลือดขาว หรือบางท่านเรียกว่า"เพลาเมืองสทิงพระ" กล่าวว่าเจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสีได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นที่วัดสทัง วัดเขียนและวัดสทิงพระ เมื่อราว พ.ศ ๑๕๔๒ จึงเข้าใจว่าวัดเขียนบางแก้วน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระมหาธาตุอย่างแน่นอน

ในราวสมัยสุโขทัยตอนปลายหรือสมัยอยุธยาตอนต้นวัดเขียนบางแก้วเป็นวัดที่มีความเจริญมาก และยังเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในบริเวณนี้ด้วย เป็นที่ตั้งของคณะป่าแก้ว ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางเมืองพัทลุงเกิดศึกสงครามกับพวกสลัดมลายูอยู่เสมอ ๆ จนบางครั้งพวกโจรสลัดได้ทำลายเผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอารามเสียหายเป็นจำนวนมากด้วยเหตุนี้วัดเขียนบางแก้วจึงชำรุดทรุดโทรม ขาดการบำรุงรักษากลายเป็นวัดร้างไปชั่วคราว จนเมื่อชาวเมืองพัทลุงสามารถรวมตัวตั้งมั่นให้อีกก็ทำการบูรณะวัดให้มีความเจริญขึ้นอีกเป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้งหลายคราว ปรากฏหลักฐานจากหนังสือพระกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุงในสมัยอยุธยา กล่าวถึงการบูรณะจัดเขียนบางแก้วครั้งใหญ่ ๆ จำนวน ๒ ครั้ง คือครั้งที่ ๑ราวสมัยอยุธยาตอนกลางมีบางท่านว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๑๐๙ – ๒๑๑๑ ตรงกับสมัยแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิผู้นำในทางบูรณะปฏิสังขรณ์ เจ้าอินทร์ได้บุตรปะขาวสมรสกับนางเป้า ชาวบ้านสทัง ตำบลหานโพธิ์ หลักฐานจากหนังสือพระกัลปนาวัดกล่าวว่า เจ้าอินทร์ได้บวชเรียนเป็นปะขาวมีวิชาความรู้เจนจบทางไสยศาสตร์และอรรถธรรมได้นำคณะทำการบูรณะวัดเขียน วัดสทัง ต่อมาปะขาวอินทร์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้วเข้าไปกรุงศรีอยุธยากราบบังคมทูลเรื่องการบูรณะวัดเขียนบางแก้วและวัดสทัง คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุงได้ขอพระราชทานเบิกญาติโยมและสมัครพรรคพวกให้มาขึ้นมาแก่วัดทั้ง ๒ ตามเดิม พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์อินทร์เป็น "พระครูอินทโมฬีศรีนันทราชฉัททันต์ จุฬามุนีศรีราชปัญญาปรมาจาริยานุชิตพิพิธรัตนราชวรวงศ์พงศ์ภักดีศรีศากยบุตรอุปดิษเถร" คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุงและดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้พระยาศรีภูริปรีชามหาเสนาบดีศรีอาลักษ์กรมพระกลาโหมเบิกจากพระคลังหลวงเป็นลำเภา ๓ ลำบรรทุกอิฐปูนรักทอง มอบถวายแก่พระครูอินทโมฬี ฯเพื่อไปบูรณะวัดวาอาราม ซึ่งมีวัดในแขวงเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุงขึ้นกับคณะป่าแก้ววัดเขียน วัดสง จำนวน ๒๙๘ วัดครั้งที่ ๒พ.ศ.๒๒๔๒ ตรงกับสมัยพระเพทราชา ผู้นำในการบูรณปฏิสิงขรณ์ คือ พระครูอินทเมาลีศรีญาณสาครบวรนนทราชจุฬามุนีศรีอุปดิษเถร คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุงเมื่อได้ทำการบูรณะวัดเขียนบางแก้วแล้ว จึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ขอให้สมเด็จพระวันรัตน์นำถวายพระพรขอพระบรมราชานุญาตให้ญาติโยมที่รวมกันปฏิสังขรณ์วัดเป็นข้าพระโยมสงฆ์เว้นเสียส่วยอากรให้ทางราชการ ก็ทรงพระกรูโปรดกล้าฯ พระราชทานให้ตามที่ทูลขอทุกประการ

ลำดับเจ้าอาวาสวัดเขียนบางแก้ว๑. พระอธิการพุ่ม (พ.ศ.๒๔๕๒-๒๔๕๕) เดิมจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าลาด ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน ต่อมาย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขียนบางแก้ว ถึงแก่มรณภาพเมื่อปีใดไม่ปรากฎหลักฐาน แต่เข้าใจว่าเป็นปี พ.ศ.๒๔๕๕ ๒. พระอุปัชฌาย์จันทร์ ฆงุคสโร (ราว พ.ศ.๒๔๕๕-๖๔๖๓) เดิมอยู่วัดสังเขย่า ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้วมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๓ ๓. พระปาน ธมุมทินโน (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๐๓) ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูกาเดิมและยังได้เป็นเจ้าคณะตำบลเขาชัยสน ตำบลทำมะเดื่อ จังหวัดพัทลุง และตำบลตะโหมด ๔. พระมหาประพันธ์ ธมฺมนาโก (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๑๕) ลาสิกขาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ๕. พระครูกาเดิม (เพิ่ม ฐานภทฺโท) และมรณภาพเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ ๖.เจ้าอาวาสปัจจุบัน ชื่อ พระสมุห์สดใส อินฺทรวํโส

Category
Religious place
Location
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung
Details of access
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๓.(๘๕๙).กรุงเทพ.โรงพิมพ์การศาสนา.
Reference นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ Email easting17@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung ZIP code 93000
Tel. ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ Fax. ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
Website https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่