ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
Longitude : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
No. : 194417
วัดสุวรรณวิชัย
Proposed by. พัทลุง Date 9 September 2021
Approved by. พัทลุง Date 25 September 2021
Province : Phatthalung
0 680
Description

วัดสุวรรณวิชัย เป็นศูนย์กลางการศึกษาของอำเภอควนขนุน เป็นที่พำนักของเจ้าคณะอำเภอสืบเนื่องกันมานับร้อยปีเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของพ่อท่านนะ อันเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป เป็นวัดแม่แบบในการพัฒนา มีโบสถ์วิหารมั่นคงเป็นหลักฐาน

วัดสุวรรณวิชัย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๔ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ อีกส่วนหนึ่งจัดตั้งตลาดนัด และให้เช่าปลูกร้านค้ามีพื้นที่ ๑๒ ไร่เศษ ตลาดนัดควนขนุนเป็นศูนย์กลางของชุมชน ถนนมาบรรจบกันหลายสาย แต่ละวันมีผู้คนนับพันนำสรรพสินค้าจากทั่วสารทิศมาขายเป็นย่านการค้าอันดับ ๒ รองจากตลาดนัดในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ทำรายได้ให้กับวัดปีหนึ่ง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕ แสนบาท

เดิมวัดสุวรรณวิชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากที่ตั้งวัดในปัจจุบันประมาณ ๔๐๐ เมตร เนื้อที่ ๓๐ ไร่เศษ ตรงที่ตั้งโรงพยาบาลควนขนุน สมัยนั้นเรียกชื่อว่า "วัดใน" ไม่มีใครบอกได้ว่าตั้งขึ้นเมื่อใด ท่านพระครูกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอองค์ปัจจุบัน ท่านคาดคะเนว่า น่าจะเป็นต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสองค์แรกชื่อเถรแก้วมาจากอยุธยาคงลี้ภัยเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าปี พ.ศ.๒๓๑๐ เถรแก้วเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ เล่ากันว่าหายตัวได้ คุณหญิงของพระยาพัทลุงให้ทำเสน่ห์ให้ ภายหลังสืบทราบว่าหมอทำเสน่ห์คือเถรแก้ว จึงให้บ่าวไพร่มาจับตัวหลายครั้ง แต่ไม่พบเถรแก้ว และแล้วหายตัวสามสูญไปโดยไม่มีใครรู้ว่าไปอยู่ที่ไหน

วัดในตั้งอยู่บนเนินสูง ถึงฤดูแล้งกันดารน้ำ ต้องเจาะบ่อลึกถึง ๒๐ เมตร นับเป็นความสามารถของคนสมัยนั้น สุดเขตวัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีบ่อน้ำอีกบ่อหนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่าบ่อโตร้ะ (โตร้ะ หมายถึง การใส่สิ่งต่าง ๆ ลงไป) ที่ท้องบ่อมีกระดานไม้หนามากปูปิดไว้ สงสัยกันว่าเงินทองน่าจะบรรจุอยู่ใต้แผ่นกระดานนี้ มีผู้นำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำตลอดวันตลอดคืนติดต่อกันหลายครั้ง น้ำไม่แห้งพอมองเห็นพื้นกระดานเท่านั้น บ่อโตร้ะคงมีอยู่จนบัดนี้

มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อทองเป็นโรคแผลพุพองประจำตัวต้องใช้น้ำล้างแผลอยู่บ่อยๆ บ่อน้ำที่มีในวัดลึกมาก ตักน้ำไม่สะดวก อีกบ่อหนึ่งคือบ่อโตร้ะ อยู่ไกลไปหลายเส้น ท่านจึงไปตั้งกุฏิเล็กๆ ขึ้นในวัดสุวรรณวิชัยปัจจุบัน ซึ่งอยู่ชิดกับคลองควนขนุน มีน้ำไหลผ่านตลอดปี สะดวกในการใช้น้ำ ขณะนั้นที่ตั้งวัดสุวรรณวิชัยเป็นปารกร้างมีต้นหมาก ตันมะพร้าว เหลืออยู่บ้าง แสดงว่าเคยมีผู้มาตั้งบ้านเรือนอาศัยมาก่อนแล้ว ท่านทองเป็นพระภิกษุรูปแรกที่เข้ามาพำนักในวัดนี้ ประกอบกับช่วงระยะเวลานั้น คนบ้าชื่อนายเถื่อน เผากุฏิ หอฉัน โรงครัวเสียหายมาก พระรูปอื่นๆ จึงย้ายตามกันมาสร้างกุฏิเล็กๆ เป็นเป็นที่พำนักเพิ่มขึ้นหลายหลัง ตั้งเรียงรายกันไป ชาวบ้านเรียกว่า "วัดกุฏิ" อันสืบเนื่องมาจากกุฏิวัดในนั่นเอง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๓ เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมในท้องที่อำเภอควนขนุน ขณะนั้นที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ควนพนางตุงยากที่เจ้าหน้าที่จะทำการปราบปรามได้ โจรรวมพวกกันดั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า หัวหน้าโจรสำคัญๆ ได้แก่ รุ่ง ดอนทราย คลิ้ง หนักขัน เงิน หนวดแดง คล้าย แพรกหา สี ห้วยท่อม นำหนองฟ้าฝ่า ช่วย หนักกุน หัวหน้าโจรที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือ ดำหัวแพร โจรแค่ละก๊กต่างประชันความโหดร้ายของตน ออกปล้นสะดมทรัพย์สินของชาวบ้านทั้งกลางวันกลางคืน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาก กลางคืนต้องนอนชุกซ่อนในป่าไม่เป็นอันทำมาหากิน ทิ้งบ้านช่องหนีไปก็มีเป็นจำนวนมาก นายกลับ เรืองมา ชาวบ้านวัดป่าตอ ไม่สามารถอดทนต่อไปได้นำฎีกาถวายพ่อกรมหลวงลพบุรีเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ซึ่งประทับอยู่ที่จังหวัดสงขลา รับสั่งให้พันตำรวจโทพระวิชัยประชาบาล นำกองปราบพิเศษมาทำการปราบปรามและมอบอาญาสิทธิ์มาให้โดยเด็ดขาด

พอรุ่งเช้าเดินทางกลับเปลี่ยนเส้นทางใหม่อีก ทำอย่างต่อเนื่องให้เห็นว่าทางสงขลาส่งกำลังมาเพิ่ม วิธีหนึ่งใช้สงครามจิตวิทยา ผู้ร้ายที่ถูกยิงตาย นำมาประจานไว้ในย่านชุมชนให้ชาวบ้านเห็นว่าเจ้าหน้าที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ กลางคืนให้มีหนังโขนของกองปราบแสดงประจำ ชาวบ้านมาชมกันอย่างสนุกสนานไม่หวาดกลัวผู้ร้ายอีกต่อไป บรรดาพวกหนุ่มฉกรรจ์ ผู้ชำนาญท้องที่ ท่านเรียกตัวมารวมกันในวัดฝึกยุทธวิธีให้ มีตะบองยาวเป็นอาวุธ ใครจับผู้ร้ายได้ก็บำเหน็จความชอบให้ ตั้งเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจแบ่งชายฉกรรจ์ออกเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า พรานดง ช่วยในการปราบปรามผู้ร้ายได้ดีเยี่ยม

พระวิชัยสำนึกในพระคุณของพ่อท่านนะและชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนสำเร็จ ปี พ.ศ.๒๔๖๒ ให้สร้างบ่อน้ำตำรวจภูธรไว้เป็นอนุสรณ์ และท่านมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างอุโบสถและพระประธาน จนเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ท่านตั้งชื่อวัดใหม่ให้ชาวบ้านเลือกหลายชื่อ ชาวบ้านเลือกชื่อ"สุวรรณวิชัย" เพราะมีความหมายดี "สุวรรณ" มาจากชื่อทอง เป็นชื่อพระภิกษุรูปแรกที่มาพำนักอยู่ในวัดสุวรรณนี้ "วิชัย" เป็นราชทินนามของท่านผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างอุโบสถ และให้ความสงบสุขแก่ชาวควนขนุนวัดกุฏิจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัด “สุวรรณวิชัย” แต่นั้นมา

พ่อท่านนะมีหูตากว้างไกลมุ่งมั่นที่จะให้เกิดความเจริญแก่ชุมชน จึงแบ่งที่ดินวัดส่วนหนึ่งเป็นตลาดนัดและร้านค้า ติดต่อคนจีนให้มาตั้งร้านค้าขาย เป็นเหตุให้บ้านควนขนุนกลายเป็นชุมชนที่หนาแน่น ยึดการค้าเป็นอาชีพ มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้

พ่อท่านนะถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ขุนเทพภักดีอดีตนายอำเภอควนขนุน ว่าจ้างช่างจากกรุงเทพฯ ให้ปั้นรูปเท่าคนจริงและหล่อด้วยสำริด ประดิษฐานไว้ในวัด เป็นที่สักการบูชาของคนทั่วไป มีผู้คนไปปิดทอง กราบไหว้บูชามิได้ขาด

ปี พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านเจ้าคุณพุทธิธรรมธาดาเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอ สนใจต่อการศึกษามากได้เปิดโรงเรียนปริยัติธรรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี แผนกธรรมเปิดสอนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ส่วนแผนกบาลีทำการสอนมาได้ ๗ ปี ต้องปิดลงโดยปริยาย ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้จัดตั้งโรงเรียนช่วยมิตรขึ้น ลักษณะโรงเรียนวัด เปิดสอนระดับมัธยมปีที่ ๑-๖ มีนักเรียนจบจากโรงเรียนนี้ล้วนมีหน้าที่การงานทำเป็นหลัก

ท่านเจ้าคุณพุทธิธรรมธาดาได้สร้างสิ่งถาวรไว้มากมายโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ ล้วนแต่ใหญ่โตโอ่อ่าสมกับเป็นวัดแม่แบบ ใช้งบประมาณนับร้อยล้าน ท่านเจ้าคุณมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ท่านพระครูกรุณานุรักษ์เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะอำเภอสืบมา ได้เจริญรอยดามท่านเจ้าคุณพุทธิธรรมธาดาอย่างเคร่งครัด ทางวัดไม่มีการปลุกเสกแจกเครื่องรางของขลังใด ๆ เป็นอันขาด ด้านการศึกษาให้ใช้อาคาร"โรงเรียนช่วยมิตร" เปิดสอนเด็กระดับอนุบาล และปี พ.ศ.๒๕๒๓ เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น มีกุลบุตรกุลธิดาเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก

เจ้าอาวาสปัจจุบัน ชื่อ พระครูสุวรรณวิชชาธร

Category
Religious place
Location
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung
Details of access
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 3.(843).กรุงเทพ.โรงพิมพ์การศาสนา.
Reference นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ Email easting17@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung ZIP code 93000
Tel. ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ Fax. ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
Website https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่