ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 48' 31.3387"
14.8087052
Longitude : E 100° 34' 52.9187"
100.5813663
No. : 197400
นายหวน สังข์พราหมณ์
Proposed by. ลพบุรี Date 15 September 2022
Approved by. ลพบุรี Date 15 September 2022
Province : Lop Buri
0 1383
Description

ชื่อ นายหวน สังข์พราหมณ์

ประเภทและลักษณะ
ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการแพทย์แผนไทย

ประวัติความเป็นมา
นายหวน สังข์พราหมณ์ เกิดวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ บ้านเลขที่ ๗ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นบุตรของนายขอม (เสียชีวิต) นางอู๊ต สังข์พราหมณ์ มีพี่น้องทั้งหมด ๑๑ คน สมรสกับนางพะยอม ชุมสน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์ระหัต ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
เนื่องจากที่บ้านมีอาชีพทำนาทำให้ต้องช่วยครอบครัวทำนาตั้งแต่เด็กๆ สิ่งที่จุดประกายการนวด คือมารดาที่เป็นหมอตำแย เมื่อไปทำคลอดที่แห่งใดมักพาไปด้วยเสมอ ขณะที่ทำคลอดอยู่มักจะใช้ให้ช่วยเตรียมยาและคอยส่งอุปกรณ์ในการทำคลอด เลยกลายเป็นผู้ช่วยหมอตำแยตั้งแต่เด็กๆ (อายุ ๑๐ ขวบ โดยประมาณ) บางที่มีคนท้องและคนทั่วไปปวดเมื่อยตามร่างกายหรือปวดตามเส้น จะมาหามารดาที่บ้าน ทำให้ได้เห็นวิธีการนวด อีกทั้งเป็นผู้ช่วยบีบนวดด้วยเป็นประจำ และยังได้เรียนรู้จากครูบาอาจารย์ที่เป็นหมอนวดหรือหมอตำแยอีกหลายคน เช่น ปู่ใหญ่ (เก่งทางสมุนไพร) คุณแม่เขียว (หมอตอแยที่ทำคลอดอาจารย์หวน)ยายโต (หมอตำแย) ลุงจง วิชาพยากรณ์ ลุงวงศ์ วิชาพยากรณ์ ยายต่วน (การนวดจับกระษัย) ตาโท้ง (การนวดจับเส้น) ป้าโน (การนวดจับเส้น) ป้าแอะ (หมอตำแย) ยายโม้ (การนวดจับเส้นและการรักษาทางคาถาอาคม) ลุงอั่งโล่ (การนวดจับเส้น) ป้าเกลี้ยง (การนวดจับเส้นและหมอตำแย) และลุงจ๊อก (การนวดจับเส้น)
การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการนวดจับเส้นได้มาจากการช่างสังเกต และความจำ โดยพิจารณาดูว่าการนวดแบบไหนได้ผลต่อการบำบัดที่ดี จึงคัดเอาส่วนที่ดีของครูบาอาจารย์มาใช้เป็นวิชาประจำตัว เมื่อมีคนในหมู่บ้านมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเล็กๆ น้อยๆ มักเรียกใช้ให้นวด หรือบางครั้งพระที่วัดใกล้บ้านใช้ให้นวด เมื่อหายก็พูดปากต่อปากทำให้ได้ใช้นวดประกอบอาชีพ มีประสบการณ์นวดจนถึงปัจจุบันมากกว่า ๖๕ ปี

บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน
เมื่ออายุ ๓๐ ปี ได้เปลี่ยนอาชีพจากทำนามาเป็นหมอนวดอยู่ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงอายุ ๔๖–๔๗ ปี ก็เข้ากรุงเทพฯ โดยการแนะนำจากคุณวัชรี เทียนสุวรรณ ได้ทำงานนวดอยู่ที่สามเสน ทำงานนวดอยู่ประมาณ ๔ ปี ก็ย้ายไปสายใต้ นวดอยู่ที่วัดนครป่าหมาก ชัยพฤกษ์–ตลิ่งชัน โดยนวดอยู่กับหลวงพ่อที่วัด หลวงพ่อพาไปนวดต่างประเทศ (สิงคโปร์และมาเลเซีย) เดินทางไปนวดแต่ละครั้ง ๑๕ วัน ไปอยู่ประมาณ ๔–๕ ครั้ง ก็ย้ายไปอยู่กับการกีฬาแห่งชาติ โดยการแนะนำของอาจารย์สกล ซึ่งได้มาเรียนนวดจับเส้น ได้แนะนำให้รู้จักกับอาจารย์กระแส แสนวิเศษ และได้ชักชวนไปนวดช่วยชาติ นวดครั้งแรกที่สนามศุภัชลาศัย และได้ย้ายไปศูนย์กีฬาใหม่ที่มีนบุรี รวมเวลาโดยประมาณ ๑๐ ปี โดยเดินทางไปนวดต่างประเทศพร้อมนักกีฬา ๒๐ กว่าครั้ง (ประเทศแอฟริกา เกาหลี ไต้หวัน อังกฤษ) โดยเดินทางไปอยู่แต่ละครั้ง ๑๐ กว่าวัน โดยประมาณ การนวดนักกีฬา ใช้วิธีการนวดแบบเจ็บตรงไหนแก้อาการรักษาตรงจุดนั้น โดยนวดนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายๆ คน ได้ติดตามนักกีฬาไปต่างประเทศจนโค้ชชาวต่างชาติประทับใจ ในวิธีการนวดติดต่อให้สอนนวด แต่ได้ปฏิเสธเพราะต้องการอนุรักษ์เก็บไว้ให้เป็นมรดกคนไทย
ต่อมาได้ออกจากการกีฬาและได้จัดการเรียนการสอนต่อผู้ที่สนใจทั่วไป เช่น ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ประมาณ ๒๐๐ คน จัดสอน ๘ ครั้ง และประจำอยู่ที่ศูนย์พัฒนาแพทย์แผนไทยวัดทุ่งลานนา เขตประเวศ กรุงเทพฯ เป็นวิทยากรพิเศษหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการนวดแผนไทย จนถึงปัจจุบัน

ผลงานที่สำคัญ

๑. ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการแพทย์แผนไทย ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

๒. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการอุดมศึกษา การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำมาตรฐานวิชาการวิชาชีพการนวดไทย ระดับกลาง ครั้งที่ ๖ ๗ และ ๘

๓. วิทยากรพิเศษการกีฬาแห่งประเทศไทย

๔. วิทยากรพิเศษสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก

๕. วิทยากรพิเศษศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตจังหวัดเชียงใหม่

๖. วิทยากรพิเศษเรื่องศาสตร์แพทย์พื้นบ้าน สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข

๗. วิทยากรอบรมหลักสูตรเทคนิคการรักษาศาสตร์ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยของสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข

๘. วิทยากรพิเศษอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ๓๓๐ ชั่วโมง รุ่น ๔ ของสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข

๙. วิทยากรพิเศษอบรมหลักสูตรวิทยากรและครูนวดไทย รุ่นที่ ๑๙ และ รุ่นที่ ๒๐ ของสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข

๑๐. วิทยากรพิเศษเรื่องศาสตร์แพทย์พื้นบ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี (วัดสิงห์ทอง) องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาล สต.หนองไผ่ จังหวัดมหาสารคาม โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ สถาบันศึกษาการกีฬา วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดอุดรธานี ชมรมการแพทย์แผนไทย จังหวัดราชบุรี ร้านรักษ์สุขภาพกรุงเทพฯ บริษัท พอสช์สปา จำกัด กรุงเทพฯ ร้านอิสกรการนวดแผนไทย กรุงเทพฯ

๑๑. วิทยากรครูนวดไทย อบรมหลักสูตรนวดจับเส้นศาสตร์อาจารย์หวน ศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทยเรือนสบายอำเภอบางโรง จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทยวัดทุ่งลานนา เขตประเวศ กรุงเทพฯ

๑๒. เป็นหมอนวด นวดพระสงฆ์ประจำที่วัดทุ่งลานนา กรุงเทพฯ และวัดทั่วประเทศไทย และได้นวดพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชา เช่น หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อทูล วัดป่าบ้านคร้อ จังหวัดหนองคายหลวงพ่อฟัก จังหวัดจันทบุรี หลวงพ่อจอย วัดโนนไทย จังหวัดนคราชสีมา หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม วังน้ำเขียว หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม จังหวัดชัยภูมิ หลวงพ่อสำรวม วัดไกลกังวล(วัดเขาสารพัดดี) จังหวัดชัยนาท เป็นต้น

เจตนารมณ์

เจตนารมณ์สำคัญ คือ ช่วยรักษามรดกภูมิปัญญาไทยไว้ให้ลูกหลานคนไทยสืบไปถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่บุคคลที่สนใจในการดูแลสุขภาพ และสืบทอดองค์ความรู้ศาสตร์แพทย์แผนไทยอย่างถูกต้องและเป็นระบบ อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยมิให้สูญหาย

Category
Local Scholar
Location
No. 7 Moo 7
Tambon บางขันหมาก Amphoe Mueang Lop Buri Province Lop Buri
Details of access
Reference นางพรทิภา สุวรรณเลิศ
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี Email lopburiculture@gmail.com
Road พระปิยะ
Tambon ป่าตาล Amphoe Mueang Lop Buri Province Lop Buri ZIP code 15000
Tel. 036 414258 Fax. 036 414257
Website https://www.m-culture.go.th/lopburi
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่