ตั้งอยู่ที่ วัดสันโป่ง ม.5 ต.ทานตะวัน อ.พาน จ.เชียงราย แบบจัดเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ชื่อแหล่งเรียนรู้ สะดือเมืองพาน ที่ตั้ง วัดสันป่ง หมู่ที่ ๕ ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีพระดนัย ฉายา โพธิญาโณ อายุ 25 พรรษา 3 นักธรรมตรี เป็นเจ้าอาวาส ผู้รับผิดชอบ / ผู้จัดการ / ผู้ประสานงาน องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน ประเภทของแหล่งเรียนรู้ โบราณสถาน (ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน) ประวัติความเป็นมา/แนวความคิด สะดือเมืองพาน คือวัดสันป่ง หมู่ที่ ๕ ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ห่างจากที่ว่าการอำเภอพาน ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ต่อเขตบ้านท่าหล่ม ห่างจากถนนพหลโยธิน ประมาณ ๓ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมา เป็นวัดร้างมานานโดยไม่ทราบสาเหตุ มีพระพุทธรูปโบราณเป็นพระปูนปั้น ชาวบ้านเรียกว่า “พระสะทาย” จากการพิจารณาพิเคราะห์รูปแบบและหลักฐานว่ามีอายุมากกว่า ๕๐๐ ปี น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่มีอายุพอ ๆ กับพระศิลาวัดอรัญวิเวก (ห้วยบง) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ครูบากัณฑ์ ศิษย์ท่านหนึ่งของ ครูบาศีลธรรม (ครูบาศรีวิชัย) เป็นประธานนำศรัทธาสาธุชนในท้องถิ่นบูรณะ ปฎิสังขรณ์ โดยรื้อซากพระเจดีย์องค์เดิมที่ชำรุดเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่มานานแล้ว ก่อเสริมให้แข็งแรงแน่นหนา จนเสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ จุดเด่น/เนื้อหาสาระสำคัญในแหล่งเรียนรู้ โบราณวัตถุ ในบรรดาของมีค่าขนาดใหญ่เท่าที่ราบ คือ ๑. แผ่นจารึก ๑ แผ่น ๒. พระพุทธรูปศิลาหลายองค์ ๓. ไหบรรจุของมีค่าขนาดใหญ่ ๑ ไห บรรจุเก็บไว้ใต้ฐานเจดีย์ งานประเพณี กำหนดเอาเดือนสี่เพ็ง (เหนือ ประมาณปลายมกราคม ต้นกุมภาพันธ์) จะมีพิธีสรงน้ำพระ ธาตุและเฉลิมฉลองเป็นประจำนานมาแล้ว ความสำคัญ เป็นหลักเมืองพานโดยถือเอาพระธาตุ (เจดีย์) สะดือเมืองเป็นศูนย์กลาง ทำให้เมืองพาน เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีศิลปวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นหนึ่งในล้านนาโบราณ คือมีสะดือเมืองหรือหลักเมือง เช่นเดียวกับเมืองสำคัญ ๆ ทั้งหลาย ความรู้ที่สามารถเรียนได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ - ลักษณะทางกายภาพของเมือง - ประวัติศาสตร์ - โบราณคดี - ภูมิศาสตร์ แหล่งเรียนรู้นี้ได้รับรางวัลการยกย่องจาก - สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย - สภาวัฒนธรรมอำเภอพาน