เดิมประชาชนพลเมืองมีภูมิลำเนาอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงแถบเมืองอ่างคำ เมื่อปีขาล พ.ศ. 2385 สมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ราชวงศ์อินทร์ เมืองสกลนครขึ้นไปเกลี้ยกล่อมท่าวโรงกลาง ต้นสกุลแก้วก่าในปัจจุบัน บุตรเจ้าเมืองวังเท้านวลมาตั้งบ้านเมืองอยู่ที่บ้านพังพร้าวในแขวงเมืองสกลนคร ถึงปีมะโรง พ.ศ. 2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกเมืองพังพร้าวขึ้เป็นเมืองชื่อว่า “เมืองพรรณานิคม” จนถึงปีขาล พ.ศ. 2455 ได้เปลี่ยนจากเมืองพรรณนานิคมเป็นอำเภอพรรณานิคม
คนกลุ่มแรกที่มาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชน
1.ท้าวโรงกลาง (พระยาเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคม) องค์แรก
2. ท้าวราชวัง (อุปฮาด เป็น ปลัดอำเภอในปัจจุบัน)
3. ท้าวนวน (ราชวงศ์ เป็น สมุห์บัญชี)
4. ท้าวคำขันธ์ (พระยาเสนาณรงค์) องค์ที่สอง
5. ท้าวสุวรรณ (พระยาเสนาณรงค์) องค์ที่สาม
เนื่องจากคนกลุ่มแรกที่มาตั้งหมู่บ้านพรรณนานี้อพยพมาจากบ้านเซโปน เมืองวังอ่างคำ ซึ่งอยู่ในประเทศลาวเข้ามาในประเทศไทยทางเมืองท่าแขก เมืองเว (เรณูนคร) เมืองสะหวันนะเขต (สุวรรณเขต) โดยแยกออกเป็น 2 พวก
1. แยกไปทางเมืองเว (เรณูนคร) คำชะอี เขาวง วาริชภูมิ
2. แยกไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองพังพร้าว (บ้านพรรณา)
เหตุที่แต่ละกลุ่มนี้อพยพมาจากบ้านเดิมเพราะเกิดสงครามจึงอพยพตั้งรกรากอย่ฝั่งไทยติดกับลำห้วอูน สภาพทางภูมิศาสตร์ของพรรณนาก่อนที่จะมาตั้งหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ลาดเทไปทางลำห้วย ซึ่งมีลำห้วยไหลผ่าน 3 ห้วยคือ ห้วยอูน ห้วยข้อเอน ห้วยอูนเฒ่า อาชีพครั้งแรกของชาวบ้านที่อพยพมาคือ ทำนา, ทำสวน
ด้านการงานแต่ก่อนคนสมัยโบราณ พ่อ-แม่ จะฝึกงานอาชีพใก้ลูกคนตที่เป็นคนหนุ่มสามาถรทำการทำงานเหล่านี้ได้ คือ ชายจะสานกระบุง ตะกร้า ติบข้าว หวด กระด้ง แห เลื่อยไม้ ถากไม้ ไสกบ คราดนา ไถนา และ ฟั้นเชือก